พร้อมรับมือหน้าฝน กทม. เปิดแผนปฎิบัตารป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในทุกมิติ พร้อมนำ AI เจาะจุดเสี่ยง เลี่ยงน้ำท่วม ขุดลอกคลองเปิดทางน้ำไหล
5 ส.ค.2567 – เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร ระบุข้อความ การทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบครบทุกมิติ โดยระบุใจความว่า
กทม. ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน จึงได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนา AI เจาะจุดเสี่ยง เลี่ยงน้ำท่วม
กทม.ใช้ระบบ AI ในการพยากรณ์ทิศทาง การก่อตัวและการเคลื่อนที่ของเมฆฝน โดยใช้ข้อมูลภาพเรดาร์จากอดีตจนถึงปัจจุบันของสถานีเรดาร์หนองแขม และ สถานีเรดาห์หนองจอก ในการเทรน AI
ประสานงานระบบเรดาห์พยากรณ์ปริมาณฝน
กทม. ใช้ระบบเรดาร์ที่มีระบบ C Band (เดิม) ใช้ตรวจฝนกำลังปานกลางถึงกำลังแรง และระบบ X Band (ใหม่) ใช้ตรวจฝนกำลังอ่อนถึงปานกลาง ประสานการทำงานเข้าด้วยกัน
ล้างท่อให้สะอาดเพิ่มประสิทธิภาพ เส้นเลือดฝอยการระบายน้ำได้ดี
การล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ เพื่อให้ระบบระบายน้ำที่เป็นเหมือนกับ ‘เส้นเลือดฝอย’ ของกรุงเทพฯ ที่มี ประสิทธิภาพในการระบายน้ำมากที่สุด โดย กทม. ตั้งเป้าล้างท่อระบายน้ำปีละ ประมาณ 3,000 กม. จากท่อทั้งหมด 6,800 กม.
ขุดลอกคลอง เปิดทางน้ำไหล
‘ระบบคลอง’เป็นอีกระบบที่สำคัญในการระบายน้ำออกจากพื้นที่กรุงเทพฯ เพราะเป็นหนึ่งในตัวเชื่อมระหว่างท่อระบายน้ำ และแม่น้ำเจ้าพระยาโดยกกทม.จะขุดลอกคลองให้ได้ปีละ 150 กม. และเปิดทางน้ำไหล ให้ได้ปีละ 1,500 กม. จากความยาว คลองทั้งหมด 2,700 กม.
เตรียมเครื่องมือให้พร้อม อุปกรณ์ให้ครบ
ล้างทำความสะอาดอุโมงค์ระบายน้ำ 3 แห่ง
ล้างทำความสะอาดประตูระบายน้ำ 242 แห่ง
ล้างทำความสะอาดสถานีสูบน้ำ 188 แห่ง
เตรียมเครื่องสูบน้ำ รับมือน้ำท่วม
เตรียมความพร้อมและซ่อมบำรุง เครื่องสูบน้ำในสถานีสูบน้ำต่าง ๆ (ตามคลองสายหลัก) 934 เครื่อง ให้พร้อมใช้งานทันฤดูฝน
รางระบายน้ำรูปตัวโอ O-Gutter
ออกแบบรางระบายน้ำรูปแบบใหม่ แบบ O-Gutter เพื่อให้น้ำสามารถระบายได้เร็วขึ้น ลดการอุดตัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
PM2.5 มาแล้ว พบ ‘กทม.’ ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่
ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ พบเกินค่ามาตรฐานในกรุงเทพฯ
อากาศเปลี่ยนแปลง ‘กทม.’ อุณหภูมิลดลง ‘เหนือ-อีสาน’ หนาวเย็น ‘ภาคใต้’ ฝนตก
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67