รัฐบาลร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 ประกาศขึ้นทะเบียน GI 'กระท้อนทองใบใหญ่บางเจ้าฉ่า'
31 ก.ค.2567 - นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มุ่งมั่นยกระดับมูลค่าสินค้าเกษตรไทย ด้วยการใช้เครื่องมือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI เพิ่มการรับรองคุณภาพสินค้าชุมชน บ่งบอกถึงแหล่งที่มา คุณภาพ คุณลักษณะเฉพาะของสินค้า และ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 เป็นโอกาสในการร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการประกาศขึ้นทะเบียนGI กระท้อนทองใบใหญ่บางเจ้าฉ่า ซึ่งเป็นกระท้อนทรงปลูก ดำรงไว้ซึ่งพันธุ์ผลไม้ท้องถิ่นไทยที่มีเอกลักษณ์ในแต่ละท้องถิ่น เพื่อสร้างอาชีพ สร้างมูลค่าให้กับสินค้า ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย พร้อมผลักดัน Soft Power ตามวิสัยทัศน์ของรัฐบาล
โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า การผลักดัน Soft Power ตามนโยบายของรัฐบาล ผ่านการขับเคลื่อนการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) สำหรับสินค้าจำพวก สินค้าเกษตร สินค้าหัตถกรรม และ สินค้าอุตสาหกรรม (เกษตรแปรรูป) เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน คุ้มครองเอกลักษณ์ของสินค้าในพื้นที่แหล่งผลิตสินค้าในแต่ละท้องถิ่น โดยปัจจุบันมีสินค้าที่ขึ้นทะเบียน GI ทั่วประเทศแล้ว 206 สินค้า สร้างมูลค่าการค้ากว่า 71,000 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ดำเนินการขึ้นทะเบียนกระท้อนทองใบใหญ่บางเจ้าฉ่า โดยเป็นกระท้อนที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปลูก ต้นกระท้อนพันธุ์ทองใบใหญ่ ณ วัดยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2550 และได้พระราชทานพันธุ์กระท้อนให้แก่ราษฎรจังหวัดอ่างทอง สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรในชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
โดยกระท้อนพันธุ์ทองใบใหญ่บางเจ้าฉ่าได้รับรางวัลชนะเลิศด้านรสชาติอันดับ 1 ของจังหวัดอ่างทอง และมีงานมหกรรมกระท้อนทองใบใหญ่ทรงปลูก เพื่อเผยแพร่ผลผลิตกระท้อนให้เป็นที่นิยมของตลาด สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในชุมชนกว่า 6 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ สำหรับเกษตรกรหรือชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดที่สนใจนำสินค้าชุมชนในประเภท สินค้าเกษตร สินค้าหัตถกรรม และ สินค้าอุตสาหกรรม (เกษตรแปรรูป) ที่มีอัตลักษณ์และเชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์ สามารถปรึกษาเพื่อขอรับการขึ้นทะเบียน GI ได้ที่ ศูนย์บริการประชาชน กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร.1368
“รัฐบาลร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กระท้อนทรงปลูกพันธุ์ “ทองใบใหญ่บางเจ้าฉ่า” เชื่อมั่นว่าการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะมีส่วนสนับสนุนสินค้าและผลิตภัณฑ์จากภาคการเกษตรไทย ยกระดับผลผลิตการเกษตรท้องถิ่น สะท้อนวิถีชีวิตชาวไทยผ่านการเพาะปลูก เพิ่มคุณภาพ รักษามาตรฐานด้วยการสนับสนุนของรัฐบาล เพื่อความยั่งยืนของชุมชน ต่อยอดให้เกษตรกรไทยมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต” นายชัย กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
1พ.ย.นายกฯอิ๊งค์ลงร้อยเอ็ดตามติดนโยบายปราบยาเสพติด
โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯเร่งแก้ปัญหายาเสพติด เตรียมบินร้อยเอ็ด 1 พ.ย. ตรวจการป้องกันและปราบปรามตามนโยบายรัฐบาล
นายกฯ ปลื้มยอดผู้โดยสารใช้บริการสนามบินเกือบ 120 ล้านคน
นายกฯ ปลื้มยอดผู้โดยสารใช้บริการท่าอากาศยาน 6 แห่ง เกือบ 120 ล้านคนในปีงบประมาณ 2567 พร้อมเปิดใช้งานเช็กอินระบบ Biometric นำร่องผู้โดยสารในประเทศก่อนเริ่ม 1 พ.ย.นี้
โฆษกรบ. โชว์สินค้าเกษตรของไทยขึ้นแท่นเบอร์ 1 อาเซียน
โฆษกรบ. เผย สินค้าเกษตรขึ้นแท่นที่ 1 อาเซียน ติดอันดับ 8 ของโลก หลัง 8 เดือน ส่งออกพุ่ง4.3แสนล้านบาท นายกฯสั่ง เร่งลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรค ดันติด Top5 โลกให้ได้ต้นปีหน้า
นายกฯอิ๊งค์ทัวร์ 'อุดรธานี-หนองคาย' 17 ต.ค.
นายกฯ บินหนองคาย 17 ต.ค. ตรวจฟื้นฟูเยียวยาหลังน้ำท่วมอีสาน พร้อมเปิดงานบั้งไฟพญานาค ชู 'ซอฟต์พาวเวอร์'
นายกฯ อิ๊งค์สั่งแรงงงานเยียวยา 'ผู้ประกอบการ-ผู้ประกันตน' ที่เจอน้ำท่วมใน 41 จังหวัด
นายกฯ กำชับแรงงานดูแลผู้ประกอบการ-ผู้ประกันตน ม. 33 ,39,40 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมใน 41 จังหวัด มั่นใจเป็นส่วนหนึ่งเยียวยาผู้ประสบภัยได้อย่างตรงจุด
ผู้แทนการค้าไทยหารือแก้ปัญหาส่งออกเนื้อ
'ชัย วัชรงค์' หารือนายกสมาคมผู้ส่งออกและนำเข้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ไทย ร่วมหาแนวทางส่งออกโคเนื้อสู่ตลาดเพื่อนบ้าน ช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย แก้ปัญหาราคาตกต่ำและสารเร่งเนื้อแดง