โล่ง! ระยะนี้ไม่พบสัญญาณก่อตัว 'พายุหมุนเขตร้อน' ใกล้ไทย

29 ก.ค. 2567 – กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 29 ก.ค. – 7 ส.ค.67 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) (วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ) เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก สีเขียวหมายถึงฝนเล็กน้อย :

ช่วง 29 ก.ค. – 7 ส.ค. 67 ทั่วไทยยังมีฝนตกต่อเนื่องโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม.ปริมณฑลและภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง ด้านรับมรสุม และใกล้ร่องมรสุม สาเหตุที่ทำให้ฝนเพิ่มขึ้นมาจาก ร่องมรสุม (ร่องความกดอากาศต่ำ) พาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมฝน) จะมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง

ในช่วงนี้ ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน จะมีฝนเยอะหน่อย ต้องเฝ้าระวังฝนตกหนัก ฝนตกสะสม อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนภาคอีสานตอนล่าง กระแสลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ ในระดับกลางจากมหาสมุทรแปซิฟิก พัดเข้ามาปกคลุม ฝนยังมีบางแห่ง

ส่วนภาคใต้ฝนจะเริ่มเพิ่มขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง คลื่นลมมีกำลังค่อนข้างแรง

ระยะนี้ยังไม่พบสัญญาณการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนใกล้บริเวณประเทศไทย (ข้อมูลนี้ใช้เป็นแนวทางในการติดตามสภาพอากาศ ยังต้องติดตามด้วยข้อมูลจากผลการตรวจอากาศอื่นๆ ร่วมด้วย ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง ตามข้อมูลนำเข้าใหม่).

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้

ลมหนาวมาต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อุณหภูมิลดฮวบ 2-4 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้