23 ก.ค.2567 - นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ดังนี้ 1.ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงแรงงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงแรงงานแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ด้านการส่งแรงงานไทยไปสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (Employment Permit System : EPS (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศ 2.ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
นายคารม กล่าวว่า กระทรวงแรงงานและกระทรวงแรงงานและการจ้างงานฯ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดส่งแรงงานไทยไปสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ระบบ EPS มาแล้ว จำนวน 6 ฉบับ โดยบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีกรอบความร่วมมือที่ชัดเจนในการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลีภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติให้มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการสรรหาแรงงาน การทำสอบภาษาและการทดสอบฝีมือแรงงาน การกำหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน การตรวจลงตราและการเข้าเมือง การทำงานและการพำนักในสาธารณรัฐเกาหลี ตลอดจนการเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดเพื่อเป็นการป้องกันการอยู่ในสาธารณัฐเกาหลีอย่างผิดกฎหมาย
โดยบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับล่าสุด ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562 ได้สิ้นสุดการบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564 แต่ยังคงมีผลบังคับใช้ระหว่างที่มีการดำเนินการเพื่อต่ออายุ เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องขอให้มีการสิ้นสุดการมีผลบังคับใช้
ทั้งนี้ ตั้งแต่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับแรกในปี 2547 จนถึงวันที่ 22 มกราคม 2567 พบว่า มีการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลี รวมทั้งสิ้น 94,764 คน โดยทำงานในภาคอุตสาหกรรม 68,357 คน (ร้อยละ 72.13) ภาคเกษตรและปศุสัตว์ 10,450 คน (ร้อยละ 11.03) ภาคก่อสร้าง 9,326 คน (ร้อยละ 9.84) ภาคประมง 23 คน (ร้อยละ 0.02) และได้รับการคัดเลือกให้ไปทำงานซ้ำ (Re-Entry) จำนวน 6,608 คน (ร้อยละ 6.97)
“กระทรวงแรงงานและกระทรวงแรงงานและการจ้างงานฯ ได้เจรจาเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ (ฉบับที่ 7) มาอย่างต่อเนื่อง โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับทั้ง 6 ฉบับที่ผ่านมา แต่มีการเพิ่มรายละเอียดบางประการ เช่น เพิ่มเติมให้กระทรวงแรงงานและการจ้างงานแห่งสาธารณรัฐเกาหลีสามารถร้องขอให้กระทรวงแรงงานสนับสนุนสิ่งที่จำเป็นจากต่างประเทศให้แก่แรงงานเมื่อเดินทางถึงสาธารณรัฐเกาหลีภายใต้สถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น โรคระบาด เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความต่อเนื่องของกระบวนการ EPS และเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อภายใต้สถานการณ์นั้น
ทั้งนี้ คณะทำงานพิจารณาและจัดทำร่างข้อตกลงที่เกี่ยวกับบันทึกความเข้าใจการจัดส่งแรงงานไทยไปสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ระบบ EPS ได้พิจารณาบันทึกความเข้าใจฯ ที่สาธารณรัฐเกาหลีเสนอขอปรับแก้จนได้ข้อยุติแล้ว รวมทั้งได้แจ้งให้ฝ่ายสาธารณรัฐเกาหลีทราบด้วยแล้ว” นายคารม ระบุ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย
รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย
"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน
เคาะ 'รองปลัดคลัง-อธิบดี กสร.' นั่งบอร์ดไตรภาคี ลุยขึ้นค่าแรง 400 ของขวัญปีใหม่
'กระทรวงแรงงาน' เตรียมเสนอชื่อ 'ตัวแทน กสร.-รองปลัดคลัง' นั่งบอร์ดไตรภาคี ขง ครม. 19 พ.ย. เดินหน้าขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่