กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 3 อัปเดตพื้นที่ฝนตกหนัก 14-18 ก.ค. จับตาหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง

13 ก.ค.2567 - เวลา 17.30 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 14–18 กรกฎาคม 2567)

ในช่วงวันที่ 14–18 ก.ค. 67 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังค่อนข้างแรง

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 14 กรกฎาคม 2567

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี

ภาคตะวันออก:  จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต

ในช่วงวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2567

ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ในช่วงวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2567

ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดอุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา

ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วง วันที่ 14-18 ก.ค. 67 จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 05.00 น. 

เพจเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า จับตาหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ ส่งผลประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น จะพัฒนาเป็นพายุหรือไม่ต้องติดตามต่อไป

วิเคราะห์แผนที่อากาศผิวพื้น เวลา 07.00 น.(13/7/67) ลทมีระดับ 925 hPa (สูงประมาณ 750 ม.) ภาพถ่ายดาวเทียมเวลา 11.45 น. และ พยากรณ์คลื่นลม จาก CMWF init.2024071212 : ยังต้องติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ วิเคราะห์ลม เริ่มระบบลมไหลเวียนเข้าหากัน (Cyclonic)

คาดว่าจะเริ่มแรงขึ้น แต่ก่อตัวใกล้ชายฝั่งไปหน่อย คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกของเวียดนาม และจะช่วยดึงมรสุมให้มรสุมมีกำลังแรงขึ้น และร่องมรสุมจะเลื่อนพาดลงมาผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคอีสาน
จะส่งผลให้ฝนบริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักถึงหนักมาก ใกล้แนวร่องมรสุม และด้านรับมรสุม

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุตุฯ เตือนอากาศเย็นถึงหนาว ยอดดอยมีน้ำค้างแข็ง ใต้ฝนฟ้าคะนอง 20-30%

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้

กรมอุตุฯพยากรณ์อากาศ 24 ชม. ทั่วประเทศอากาศเย็นลง ‘กทม.’ ต่ำสุด 18 องศาฯ  

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน

เหนือ อีสาน กลาง อุณหภูมิลดลง ภาคใต้ตอนล่างรับมือฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้

กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศ ลมหนาวกำลังแรงแผ่ลงมาแล้ว เช็กเลยภาคไหนอุณหภูมิลดลง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน

ต้นปี 68 ยังหนาวเย็นต่อเนื่อง ไทยตอนบนอุณหภูมิลดลง 1-2 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมถึงประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว