รมช.เกษตรฯ ตอบกระทู้ 'ปลาหมอคางดำ' รับหลักฐานสาวไม่ถึงต้นตอใครนำเข้า

11 ก.ค.2567 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาฯ มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม มีการตั้งกระทู้ถามด้วยวาจาเรื่องปัญหาปลาหมอคางดำ โดยนายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.กทม.พรรคก้าวไกล โดยระบุว่า ขณะนี้ปลาหมอคางดำแพร่ระบาด 13 จังหวัด ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่กำลังประกาศขายที่นา ดังนั้นขอถามรัฐบาลถึงต้นตอของการนำปลาสายพันธุ์ชนิดนี้เข้ามาด้วยวิธีการใดบ้าง และผู้นำเข้ามีส่วนรับผิดชอบอย่างไร การแก้ปัญหาของกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมง ได้แก้ปัญหานี้อย่างไร ใช้งบประมาณไปเท่าไรและกับค่าอะไรบ้าง นอกจากนี้อยากให้ประกาศให้ชัดว่าจะเอาอย่างไรกับปลาสายพันธุ์นี้ จะกำจัดอย่างเดียวโดยประเทศไทยจะไม่รับรองปลาสายพันธุ์นี้เข้ามาอยู่ใช่หรือไม่ และมีมาตรการเยียวยาเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแล้วถูกปลาหมอคางดำเข้าไปกัดกินอย่างไร

ด้านนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรฯ ชี้แจงว่า ยืนยันว่ากระทรวงเกษตรฯ จะไม่สนับสนุนให้พี่น้องมีการเลี้ยงเพิ่ม กำจัดอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ จากการตรวจสอบการระบาดของปลาสายพันธุ์นี้ในช่วงปี 60 และลามจนถึงตอนนี้ ตนให้กรมประมงตรวจสอบและยืนยันว่าไม่พบหลักฐานของการนำส่งตัวอย่างของปลาสายพันธุ์นี้เข้ามาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เอกสารของกรมประมงมีจำกัด ตนไม่สามารถระบุได้ว่าในปี 60 นั้นมีการส่งมอบตัวอย่างขึ้นจริงหรือไม่ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจริงแต่ไม่มีหลักฐาน หรืออาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงก็ได้ ซึ่งตนอยู่ตรงนี้ก็ต้องเชื่อว่ากรมประมงค้นแล้วและไม่มีหลักฐานว่ารับตัวอย่างมาจริงๆ

นายอรรถกร ชี้แจงต่อว่า ด้วยเทคโนโยลีทุกวันนี้หากเรามีตัวอย่าง เราสามารถนำดีเอ็นเอไปตรวจสอบย้อนกลับได้ เราก็จะสามารถหาผู้ที่ต้นตอและนำมารับผิดชอบต่อไป ดังนั้นถ้าใครมีหลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่าใครหรือบริษัทใดเป็นคนทำ เรายินดีทำงานร่วมกับท่านเพื่อแก้ปัญหาต่อไป การตรวจสอบหาต้นทาง เราขาดแค่หลักฐานที่เป็นปลาตายหรือป่วยที่เข้าเงื่อนไขการนำเข้า ณ เวลานั้น แต่เราหาต้นตอไม่เจอ ซึ่งเราพยายามหาต้นตอ หากพิสูจน์ได้จริงๆ ว่าใครทำผิดก็ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายระดับประเทศ ทั้งนี้ เรามีร่างแผนการปฏิบัติการแก้ไขการระบาดของปลาหมอคางดำ โดยเราจะไปประชุมคณะกรรมการฯ ในสัปดาห์หน้า ซึ่งมีเรามี 5 มาตรการ 13 กิจกรรมย่อย ซึ่งหนึ่งในมาตรการที่กรมประมงเร่งรัด คือการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซมปลาจากสองเอ็นเป็นสี่เอ็น ทำให้โครโมโซมปลาชนิดนี้เปลี่ยน แล้วปล่อยลงทะเลไป เมื่อผสมพันธุ์กันแล้วก็จะทำให้ปลาเป็นหมัน ซึ่งปลาที่จะปรับเปลี่ยนโครโมโซมจะกระโดดลงน้ำภายในสิ้นปีนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมุทรสาครเปิดแพ 5 จุด รับซื้อปลาหมอคางดำ กก.ละ 8 บาท ส่งขายโรงงานปลาป่น

นายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร เผยว่าสำนักงานประมงจังหวัดได้รับการรายงานจากนายนิรันดร์ พรหมครวญ หัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง ถึงความก้าวหน้าในการเจรจาให้แพในพื้นที่เป็นจุดรวบรวมรับซื้อปลาหมอคางดำเพื่อกำจัดออกจากแหล่งน้ำ

'ปลาหมอคางดำ' บุกคลองด่านแล้ว สัตว์น้ำพื้นถิ่นหายเกลี้ยง

ปลาหมอคางดำ ถึงคลองด่านแล้ว เริ่มสร้างปัญหากัดกินทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนเครื่องจักรสังหารมีชีวิต ชาวบ้านหวั่น หากปล่อยไว้อาจทำลายระบบนิเวศ สัตว์น้ำพื้นถิ่นสูญพันธุ์ วอนหน่วยงานตื่นตัวเร่งแก้ไข

เปิดข้อมูลตอกหน้าแก๊งล้มเจ้า กุเรื่องนำเข้า 'ปลาหมอคางดำ' เพื่อพัฒนาพันธุ์ปลานิล

นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา นักธุรกิจ ฟาร์มปลาสวยงาม โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Nitipat Bhandhumachinda ระบุว่า เมื่อเช้าอ่านเจอโพสต์หนึ่งที่กล่าวในทำนองว่า ปลาหมอคางดำเป็นปลาที่นำเข้ามาเพื่อพัฒนาปลานิลจิตรลดา

'ดร.ธรณ์' หวั่น ผลกระทบ 'ปลาหมอคางดำ' ไม่เกิดเฉพาะพื้นที่ แต่จะส่งผลถึงทะเลข้างนอก

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ในกรณีที่ปลาหมอคางดำลงทะเล ระบบนิเวศที่จะได้รับผลกระทบคือหาดทราย หาดเลน ป่าชายเลน และแหล่งหญ้าทะเล

ไม่ต้องตกใจ! BOTHAI มี 4 หลักฐานเด็ด มัดผู้ต้องสงสัยทำ 'ปลาหมอคางดำ' ระบาด

เพจ BIOTHAI มูลนิธิชีววิถี โพสต์ข้อความว่า ไม่ต้องตกใจ ! เรามีอีก 4 หลักฐานเด็ด มัดตัวผู้ต้องสงสัย ก่ออาชญากรรมสิ่งแวดล้อม #ปลาหมอคางดำ

พระเอกมา 'ปลอดประสพ' ชงวิธีปราบ 'ปลาหมอคางดำ' แบบจระเข้เมื่อ 40 ปีที่แล้ว

นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตปลัดกระทรวงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊กถึงปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ ว่า