นักวิชาการ มธ. แนะมาตรการรับมือสาธารณภัยในชุมชนเมืองเก่า

นักวิชาการธรรมศาสตร์ แนะท้องถิ่น-สำนักงานเขต สำรวจข้อมูลใหม่ทุก 5 ปี “สร้างคลังข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน” เพื่อเตรียมทรัพยากร วางแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน-ภัยพิบัติ หากไม่สามารถแก้ผังเมือง-โครงสร้าง-กรรมสิทธิ์ที่ดิน

10 ก.ค.2567 - รศ.ดร.สุวดี ทองสุกปลั่ง หรรษาสุขสิน อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวถึงมาตรการรับมือสาธารณภัยในชุมชนเมืองเก่า ภายหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ในชุมชนตรอกโพธิ์ ย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร (กทม.) ตอนหนึ่งว่า ด้วยลักษณะทางกายภาพของชุมชนที่เปลี่ยนไปตามบริบทเมือง ทำให้ย่านชุมชนเมืองเก่าหรือชุมชนดั้งเดิมในปัจจุบันมีความคึกคัก จำนวนมากกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม ด้วยระยะเวลาผ่านไป ทำให้เมืองมีการพัฒนาไปมาก ประชากรมีความหนาแน่น การสัญจรเข้าออกพื้นที่มีความยากลำบากกว่าในอดีต ตลอดจนวัสดุโครงสร้างอาคารในพื้นที่มีความเก่า บางส่วนอาจชำรุด โดยเฉพาะระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบไฟฟ้า ที่อาจมีความเสี่ยง ดังนั้น กทม. รวมถึงรัฐบาล จำเป็นต้องให้น้ำหนักความสำคัญอย่างยิ่งกับชุมชนเมืองเก่า

“สิ่งสำคัญที่ทำได้ทันทีคือการเตรียมทรัพยากรเพื่อใช้ในการบรรเทาภัยที่ไม่ใช่แค่อัคคีภัย ให้เพียงพอตามมาตรฐานที่กฎหมายควบคุมอาคารกำหนด” รศ.ดร.สุวดี กล่าว

รศ.ดร.สุวดี กล่าวต่อไปว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนตัวมองว่าการเก็บข้อมูลในพื้นที่ อาทิ ข้อมูลประชากร หน่วยครัวเรือน การดำเนินธุรกิจ จุดเปราะบาง จุดปลอดภัย ฯลฯ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมาก โดยสำนักงานเขต หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ควรสร้างคลังข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน เพื่อนำไปสู่การจัดเตรียมทรัพยากรการป้องกันหรือบรรเทาภัยต่างๆ ให้สอดคล้องกับค่ามาตรฐานที่ได้มีการกำหนดเอาไว้ โดยการเก็บข้อมูลอาจเก็บทุกๆ 5 ปี ซึ่งมองว่าน่าจะเพียงพอ

ทั้งนี้ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสวัสดิภาพการอยู่อาศัยอยู่ 2 ฉบับ คือ กฎกระทรวงผังเมืองรวมประจำแต่ละท้องที่ และกฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งต่างก็ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัยในอาคาร และสาธารณสุข นอกเหนือไปจากความสวยงามทางสถาปัตยกรรม และความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยกฎหมายจะมีการกำหนดค่ามาตรฐานทั้งเรื่องระบบไฟ และความพร้อมของหัวจ่ายน้ำเอาไว้ ซึ่งจะต้องสอดรับกับจำนวนประชากรและขนาดของชุมชน ว่าจะต้องมีทรัพยากรมารองรับมากน้อยเพียงใด

“จำนวนคนและความหนาแน่นของอาคารสิ่งปลูกสร้างจะสัมพันธ์กับโครงสร้างพื้นฐานของเมือง เช่น ระยะเว้นจากถนน ความกว้างของตรอกซอกซอยต่างๆ จุดรวมพลเพื่อรับมือกับการเกิดภัยพิบัติ รวมทั้งหัวจ่ายน้ำดับเพลิง ซึ่งโดยปกติแล้วกรมโยธาธิการและผังเมืองจะมีการจัดทำคู่มือค่ามาตรฐานสำหรับการพัฒนาชุมชนเมืองขนาดต่างๆ โดยระบุไว้ว่าจะต้องมีบริการสาธารณะอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งแน่นอนว่า ทุกชุมชนมีการพัฒนา จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจ อัพเดทสถานการณ์ให้ทันปัจจุบัน และจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอด้วย” รศ.ดร.สุวดี กล่าว

รศ.ดร.สุวดี กล่าวอีกว่า ข้อเสนอข้างต้นนี้ เพื่อใช้สำหรับชุมชนที่มีข้อจำกัดเรื่องผังทางกายภาพ โครงสร้างอาคาร หรือการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินที่อาจทำให้ไม่สามารถแก้ไข หรือพัฒนาใหม่ได้ ฉะนั้นการเก็บข้อมูล หรือการเตรียมทรัพยากรให้พร้อมจึงมีความสำคัญ แต่ก็ควรต้องศึกษาค่ามาตรฐานให้ชัดเจนด้วยเช่นกัน

“ข้อจำกัดที่ล้อมไปด้วยความเจริญที่เพิ่มมากขึ้น อาจไม่สามารถปรับแก้โครงสร้างได้ เพราะการแก้ต้องกลับไปดูกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งพื้นที่ย่านเก่าในเมืองส่วนมากเป็นที่เช่า ถ้าเจ้าของที่ดินไม่มีดำริว่าจะทำผู้เช่าก็ทำไม่ได้ ทางออกที่ดีที่สุดหากไม่ปรับโครงสร้างก็คือการเตรียมพร้อมทรัพยากรบรรเทาภัยให้เพียงพอ ฉะนั้นจึงย้อนกลับไปเรื่องของการเก็บข้อมูล เพื่อดูจุดเปราะบาง หรือจุดปลอดภัย ที่ส่วนตัวมองว่าเป็นจุดเริ่มที่ทุกคนจะต้องรู้ร่วมกัน” รศ.ดร.สุวดี กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

90 ปี สถาปนาธรรมศาสตร์ ก้าวสู่ 'มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำเพื่อสังคมแห่งอนาคต'

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบปีที่ 90 พร้อมมอบรางวัลเข็มเกียรติยศ ให้แก่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” อดีต รมว.คลัง และ อดีต รมว.คมนาคม ในฐานะผู้ประกอบคุณงามความดีต่อสังคมและประเทศชาติ ขณะที่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ คือผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองไทยไปอีก 5 ปี

อาจารรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ ยังมีอำนาจมากเกินไป และจะเป็นผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า

มธ. จัดเสวนารุมสับระบบเลือก สว.ชุดใหม่ เป็นปัญหามากที่สุด ซับซ้อน ทำให้งงอย่างจงใจ

ศูนย์นิติศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการ “การเลือก สว. และประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กับอนาคตประชาธิปไตยไทย” เนื่องในงานรำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม 2535

'ธรรมศาสตร์' เตือน! อย่าตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) แจ้งเตือนบุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่า ประชาคมธรรมศาสตร์ และประชาชน ระวังตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ขณะนี้พบพฤติกรรมของมิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็น “เจ้าหน้าที่กอง

ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ผงาดนั่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 4/2567 ซึ่งเริ่มการประชุมตั้งแต่ในเวลา 09.00 น. ของวันนี้ ได้มีวาระการประชุมเพื่อเลือกอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนใหม่เป็นรอบสุดท้าย