5 ก.ค.2567 - ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีต สส.บัญชีรายชื่อและอดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย เดินทางยื่นเอกสารต่อ ร.ต.อ.วิษณุ ฉิมตระกูล รองอธิบดีดีเอสไอ และ พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ เพื่อให้ตรวจสอบบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ (NT) เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 ในโครงการจัดซื้อระบบคลาวน์ของกระทรวงสาธารณสุข งบประมาณเกือบ 1,000 ล้านบาท
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า เมื่อเดือน ม.ค.67 ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนและผู้หวังดีในหน่วยงานขอช่วยตรวจสอบการประมูลของโครงการจัดซื้อดังกล่าว ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายให้บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติฯ เป็นผู้ดำเนินการจัดหา โดยขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างได้เลือกวิธีการเชิญชวนเฉพาะแทนการประกวด (E-Bidding) ถือว่าเรื่องที่แปลก และเชิญบริษัทเข้ามาเสนอราคาเพียง 7 บริษัทมาประมูลในช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งปรากฎว่าใน 7 บริษัท มีรายชื่อบุคคลเดียวกันเป็นกรรมการอยู่ 3 บริษัท และอีกรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้น 2 บริษัท
"ในวันเสนอราคา มี 5 บริษัท ได้ถอนตัวออกไป ทำให้เหลือเพียง 2 บริษัท โดยบริษัทที่ชนะการประกวดเสนอราคา 991 ล้านบาท ส่วนบริษัทที่แพ้การประมูลเสนอราคา 992 ล้านบาท ซึ่งราคาต่างกันเพียง 0.16% เท่านั้น เข้าข่ายพฤติการณ์น่าสงสัยว่ามีการฉ้อโกงและทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง นอกจากนี้ ที่สำคัญทั้ง 2 บริษัท มีหนึ่งในผู้ถือหุ้นบริษัทที่ชนะการประกวดเป็นผู้ถือหุ้นอีกบริษัทที่เคยค้านร่วมกับบริษัทที่แพ้การประมูล จึงไม่ใช่ คู่แข่งทางการค้า เชื่อว่าการจัดซื้อจัดจ้างในครั้งนี้เข้าข่ายการสมยอมราคากัน"
เมื่อถามถึงรายละเอียดของ 7 บริษัทว่าจดทะเบียนบริษัทเมื่อไหร่ หรือประกอบกิจการเกี่ยวกับระบบคลาวด์มาอย่างไร เคยประกวดราคาทำงานร่วมกับรัฐมาแล้วหรือไม่ นายพร้อมพงศ์ เผยว่า สำหรับรายละเอียดอยู่ในเอกสารที่ยื่นให้กับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษตรวจสอบไปแล้ว ส่วนก่อนหน้านี้ทั้ง 7 บริษัทเคยแข่งขันโครงการของรัฐด้วยกันหรือไม่ ตรงนี้ไม่มีรายละเอียด
นายพร้อมพงศ์ กล่าวเสริมว่า ตนอยากให้ตรวจสอบการขโมยสายเคเบิ้ลทองแดงของบริษัท NT ซึ่งไม่ได้ใช้งานแล้วเปลี่ยนมาเป็นสายไฟเบอร์แต่ถูกฝังไว้ใต้ดิน กลับมีขบวนการลักลอบตัดสายเคเบิ้ลในหลายพื้นที่สร้างความเสียหายหลายพันล้านบาท ซึ่งมองว่าอาจจะมีคนในรู้เห็นเพราะต้องมีแผนผังการขุดจากดินขึ้นมา รวมทั้ง บางพื้นที่มีการขโมยช่วงเวลากลางวันและแอบใส่ชุดเจ้าหน้าที่เพื่อไม่ให้สงสัย ทั้งที่บริษัท NT ควรนำมาประมูลขายเองมากกว่า เพื่อเงินที่ได้จะได้นำเข้ารัฐ โดยมีสื่อหลายช่องนำเสนอประเด็นดังกล่าวแต่ทางผู้บริหารของ NT ไม่มีการแก้ไขปัญหาถือมีความผิดตาม ม.157 และในสัปดาห์หน้าตนจะนำ 2 เรื่องนี้ไปยื่นให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ถ้าเชื่อมโยงไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐจะมีการไปต้องยื่นหนังสือกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อไป
ด้าน ร.ต.อ.วิษณุ ระบุว่า เบื้องต้นทางดีเอสไอได้รับเรื่องไว้ดําเนินการตรวจสอบ โดยจะมอบหมายกองคดีฮั้วประมูลเร่งสืบสวนหาข้อเท็จจริง ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ยืนยันจะต้องเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องและทั้ง 7 บริษัทเข้ามาสอบปากคำ ก่อนพิจารณารับเป็นคดีพิเศษต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดีเอสไอ' ส่งสำนวนคดีกำนันนก 'ฮั้วประมูล' เสนออัยการสั่งฟ้อง 41 ราย
ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดย กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวน กรณีบริษัท ป.พัฒนารุ่งโรจน์ก่อสร้าง
DSI แจงไม่ได้เปิดรับอาสาสมัคร จำลองเหตุการณ์การเสียชีวิต 'แตงโม'
กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกเอกสารชี้แจง ตามที่ปรากฏการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อสังคมออนไลน์
DSI เผยนายกฯกำชับดูแลคดีด้านเศรษฐกิจ-หมูเถื่อน
พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวภายหลังนายกรัฐมนตรีเรียกหารือบนตึกไทยคู่ฟ้า ว่า นายก
'ทวี' สั่ง 'DSI' ตรวจสอบข้อเท็จจริง รื้อคดี 'แตงโม' ก่อนยื่นอัยการสูงสุดหรือไม่
ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงกรณีนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ขอให้กระทรวงยุติธรรม ทำหนังสือถึงอัยการ
DSI หอบสำนวน 161 ลัง ส่งอัยการฟ้อง 'ดิไอคอน-18 บอส' 5 ข้อหาหนัก
พันตำรวจตรียุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ร้อยตำรวจเอกวิษณุ ฉิมตระกูล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
'ดีเอสไอ' ประชุมใหญ่ สรุปสำนวนดิไอคอน ก่อนส่งอัยการ 23 ธ.ค.นี้
จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ภายใต้การอำนวยการของ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มอบหมายให้กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ และคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ