5 ก.ค. 2567 – นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ติดตามและรายงานความคืบหน้าการเกิดสถานการณ์สาธารณภัยที่เกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่ ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้มีข้อสั่งการ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 โดยเพื่อให้การเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยตลอดช่วงฤดูฝน ปี 2567 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและแผนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้สอดคล้องกับมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ของสำนักงานทรัพยกรน้ำแห่งชาติ
โดยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดดำเนินการ ดังนี้ 1.การเตรียมความพร้อม ทั้งการติดตามสภาพอากาศ การจัดทำแผนเผชิญเหตุอุทกภัย การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงสถานที่ใช้กักเก็บ/กั้นน้ำ การระบายน้ำและการเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำ และการแจ้งเตือนภัย 2.การเผชิญเหตุ เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ให้ดำเนินการตามแนวทาง คือจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับจังหวัด อำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเมื่อเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ให้มอบหมายฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัคร และประชาชนจิตอาสา เฝ้าระวังพื้นที่ชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สถานที่สำคัญต่างๆ
รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า การจัดชุดปฏิบัติการเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย โดยเฉพาะด้านการดำรงชีพตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง ให้รายงานสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางตามช่องทางที่กำหนด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินสถานการณ์ และเสนอความเห็นต่อผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติในการตัดสินใจ สั่งการในเชิงนโยบายต่อไป
ส่วนกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานครดำเนินการ ดังนี้ 1.การเตรียมความพร้อม โดยเฝ้าระวังติดตามข้อมูลสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำท่วมที่อาจส่งผลให้เกิดอุทกภัยในช่วงฤดูฝน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนเผชิญเหตุ ตลอดจนการประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการสื่อสารแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น การตรวจสอบพื้นที่เขตชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ และเส้นทางคมนาคมที่มักเกิดปัญหาน้ำท่วมขังเมื่อฝนตกหนัก พร้อมทั้งเร่งเปิดทางน้ำโดยการดูดเลน ขุดลอกท่อระบายน้ำ ทำความสะอาดร่องน้ำเพื่อเตรียมรองรับน้ำฝน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ
ขณะที่พื้นที่คู คลอง แหล่งน้ำต่างๆ ที่เป็นพื้นที่รองรับน้ำและเส้นทางระบายน้ำลงสู่แม่น้ำสายต่างๆ ให้เร่งกำจัดวัชพืช ขยะ สิ่งกีดขวางทางน้ำอื่นๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำให้สามารถรองรับน้ำฝน และน้ำจากท่อระบายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เตรียมความพร้อมบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย เพื่อใช้ในการเผชิญเหตุให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เสี่ยงในแต่ละเขตพื้นที่ พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องจักรกลสาธารณภัยไว้ในพื้นที่เสี่ยงเป็นการล่วงหน้า โดยให้ประสานการปฏิบัติการร่วมกับจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบ และเตรียมแผนสำรองในการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉินอื่นๆ
นางรัดเกล้า กล่าวว่า 2.การเผชิญเหตุ เมื่อเกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้จุดชุดปฏิบัติการเร่งเข้าตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงที่มักเกิดปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณผิวการจราจร หรือตามเขตชุมชน พร้อมทั้งทำการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลต่อการกีดขวางการระบายน้ำทันที หากเกิดกรณีน้ำท่วมขังบนผิวการจราจร ให้บูรณาการการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกการจราจรโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน ตลอดจนให้ความช่วยเหลือผู้ขับขี่ที่อาจประสบปัญหาเครื่องยนต์ดับบนผิวจราจรที่มีน้ำท่วมขัง ส่วนในช่วงของการเกิดฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักให้กำกับเจ้าหน้าที่ประจำจุดสูบน้ำดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่อง หากเกิดปัญหาระหว่างการปฏิบัติงานให้เร่งทำการแก้ไขตามแผนสำรอง และประสานการปฏิบัติร่วมกับชุดปฏิบัติการของการไฟฟ้านครหลวงอย่างใกล้ชิดและให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้กับประชาชน
“โดย มท. ได้เสนอเรื่องดังกล่าวเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบ ซึ่งเรื่องนี้เข้าข่ายที่ต้องนำเสนอ ครม. ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 มาตรา 4(1) เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี หรือให้ต้องเสนอ ครม. และ เรื่องที่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินนอกเหนือจากที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม” นางรัดเกล้า ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
109 นักวิชาการ กลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม ออกแถลงการณ์คัดค้าน รัฐบาลครอบงำแบงก์ชาติ
109 นักวิชาการ และกลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม ออกแถลงการณ์ห่วงใยธนาคารแห่งประเทศไทย ถูกแทรกแซงจากกลุ่มการเ
'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ฟันธงตัวแปรรัฐบาลชิงยุบสภา ยังไม่เกิด
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกระแสข่าวฐบาลมีโอกาสชิงยุบสภา จะเกิดขึ้นก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ศปช. เตือนชุมชนริมน้ำ 7 จังหวัดระวังน้ำท่วม หลังน้ำทะเลหนุนต่อเนื่อง 10 วัน
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) และ ศปช. ส่วนหน้า เปิดเผยว่า ภายหลังนายกรัฐมนตรีเปิดงาน โครงการไทยแลนด์วินเทอร์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในทุกมิติที่ผ่านมานั้น
มท.1 สั่งปลัดมท. ตั้งกก.สอบ 'ปลัดอำเภอท่าอุเทน' จำเลยคดีตากใบ โผล่ทำงานหลังคดีหมดอายุความ
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีนายวิษณุ เลิศสงคราม ปลัดอำเภอ
'อนุทิน' เผย 'เอกภพ สายไหมต้องรอด' ไม่ได้เป็นที่ปรึกษามท.1แล้ว หลังพ้นรัฐบาลเศรษฐา
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึง กรณีที่กองบัญชาตำรวจสอบสวนกลางเตรี
นักเขียนซีไรต์ ตอกเจ็บ! รัฐบาลอ้างมาจากประชาชน พอประชาชนค้านเรื่องเกาะกูดด่าว่าคลั่งชาติ
วิมล ไทรนิ่มนวล นักเขียนรางวัลซีไรต์ โพสต์ข้อความถึงรัฐบาลว่า ได้เป็นใหญ่เป็นโตมีอำนาจคับประเทศ บอกว่ามาจากป