ผู้เชี่ยวชาญ เตือนสถานการณ์เลวร้ายที่สุด อาจเกิดขึ้นเสมอจากสภาพอากาศรุนแรง

30 มิ.ย.2567-ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประธานกรรมการบริหาร Futuretales LAB, MQDC โพสตฺเฟซบุ๊ก หัวข้อ “สถานการณ์เลวร้ายที่สุดอาจเกิดขึ้นเสมอจากสภาพอากาศรุนแรง” ระบุว่า เมื่อเช้าวันที่ 30 มิถุนายน 2567 เกิดฝนตกหนักที่ จ.ภูเก็ต วัดปริมาณฝนสะสม 6 ชม. 333 มม. ที่สถานอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ ทำให้เกิดน้ำไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน การจราจรทางบก และทางอากาศเป็นอัมพาต นี่คือเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในรอบกว่า 1,000 ปี (ข้อมูลกรมชลประทานที่สถานีท่าอากาศยานภูเก็ต) ผมได้โพสเตือนไปเรื่องภาคใต้ให้คอยเฝ้าระวังเหตุการณ์ฝนตกหนักในเวลาจำกัดแบบนี้ตังแต่ต้นปี และจะเกิดขึ้นอีกน่ะครับ เหตุการณ์ลักษณะนี้สะท้อนอะไรให้เราเห็นบ้าง

ประเด็นแรก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้สภาพอากาศแปรปรวนมากขึ้น โดยที่องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีขีดจำกัดในการคาดการณ์ พฤติกรรมฝนที่ตกจากปริมาณฝนสูงสุดรายวันในอดีตรวมทั้งอนาคตจากแบบจำลอง CMIP6 โดยคณะทำงาน IPCC มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (แต่ปริมาณฝนรายปีกลับมีแนวโน้มลดลง) และมีความแปรปรวนมากขึ้น และไม่สามารถบ่งชี้สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด (ดูรูปแนบ) ประกอบกับข้อมูลในอดีตปริมาณฝนสูงสุดควรเกิดช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม นั่นหมายถึงว่าภูเก็ตจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์น้ำไหลหลาก ท่วมฉับพลันจากปริมาณฝนตกหนักระยะสั้น (รายวัน) เมื่อไรก็ได้ ในขณะเดียวกันภัยแล้งก็จะเกิดขึ้นจากปริมาณฝนรายปีที่มีแนวโน้มลดลง

ประเด็นที่ 2 การพัฒนา และขยายตัวของเมืองทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่สีเขียว พื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่บริเวณริมคลองระบายน้ำ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ และการใช้ประโยชน์อย่างมาก คลองระบายน้ำตื้นเขิน คับแคบจากการตกตะกอนจากการพัฒนาสิ่งก่อสร้างต่างๆ เราอาจจะมีความสุขกับการพัฒนาสิ่งก่อสร้างต่างๆเพียงชั่วครู่ เราอาจจะนึกถีงความเจริญในระยะเวลาสั้นๆ  แต่เราลืมไปว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมต้องมาก่อน ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ระบบน้ำกิน น้ำใช้ สภาพอากาศเหมาะสม หากเราละเลยสิ่งเหล่านี้ เราจะมีความสุขอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ? โปรดติดตามองค์ความรู้ และนวัตกรรมในการลดผลกระทบ และการปรับตัวได้ที่ www.futuretaleslab.com

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฝนตกหนัก ภูเก็ตน้ำท่วม เครื่องบินลงไม่ได้ 14 เที่ยวบิน

นายมนต์ชัย ตะโหนด ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต กล่าวว่า "จากการเกิดฝนตกหนัก ตั้งแต่ช่วงเช้า เป็นต้นมา ท่าอากาศยานภูเก็ต ไม่เกิดน้ำท่วม แต่ปัญหา

ไทยเจอฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง กรุงเทพฯร้อยละ 60 ของพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอน

อุตุฯ เตือนมรสุมปกคลุมอันดามัน-อ่าวไทย ฝนฟ้าคะนอง 40 จังหวัด

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุม

อุตุฯ พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ฝนเพิ่มขึ้นทุกภาค ตกหนักเย็นถึงค่ำ

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 24 มิ.ย. - 3 ก.ค. 67