30 มิ.ย. 2567 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “หัวอกของคนเสพข่าวความขัดแย้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,040 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-28 มิถุนายน 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างสนใจติดตามข่าวความขัดแย้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร้อยละ 77.60 โดย ต้องการทราบความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก ร้อยละ 71.62 ทั้งนี้คิดว่าเรื่องนี้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังแน่นอน ร้อยละ 81.66 โดยรวมรู้สึกเบื่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ร้อยละ 70.68 อยากให้สื่อมวลชนรายงานข่าวอย่างรอบคอบและเป็นกลาง ร้อยละ 61.25 สุดท้ายสิ่งที่อยากบอกคือ เรื่องนี้เป็นเรื่องผลประโยชน์ ขัดแย้ง แย่งเก้าอี้กัน ร้อยละ 47.15
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัยสวนดุสิตโพล ระบุว่า กรณีข่าวความขัดแย้งในวงการตำรวจชิงพื้นที่สื่อมายาวนาน ทำให้ประชาชนสนใจอยากรู้ข้อเท็จจริงและมั่นใจว่ามีเบื้องหลังแน่นอน การที่กลุ่มตัวอย่างมองว่าเรื่องความขัดแย้งนี้เป็นเรื่องผลประโยชน์ แย่งเก้าอี้กัน จึงสะท้อนถึงปัญหาเชิงโครงสร้างและความโปร่งใสในองค์กรตำรวจ ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นในสายตาของประชาชน และรู้สึกเบื่อหน่ายกับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ต้องการให้สื่อมวลชนรายงานข่าวอย่างรอบคอบและเป็นกลาง ด้านองค์กรตำรวจเองก็ควรเร่งปฏิรูปปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์และเน้นทำงานเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนมากกว่า
ดร.มุทิตา มากวิจิตร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายปกครองและการบริหารงานภาครัฐโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า จากสถานการณ์ความขัดแย้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เกิดขึ้น ทำให้สื่อมวลชนและประชาชนให้ความสนใจและติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด ดังจะเห็นได้จากผลสำรวจของสวนดุสิตโพล ที่พบว่ามีประชาชนให้ความสนใจติดตามข่าวความขัดแย้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติมากถึง ร้อยละ 77.60 ตลอดจนต้องการทราบความจริงในประเด็น ดังกล่าวถึง ร้อยละ 71.62 ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่วิเคราะห์ว่าสาเหตุที่ประชาชนให้ความสนใจประเด็นดังกล่าว เนื่องจากองค์กรตำรวจเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรม และเป็นกลุ่มผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อันเป็นที่พึ่งของประชาชน ดังนั้น เมื่อเกิดความขัดแย้งกันในมิติต่างๆ ภายในองค์กรตำรวจ จึงทำให้ประชาชนตั้งข้อสังเกตในมิติการปฏิบัติหน้าที่ และการแต่งตั้งโยกย้ายภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติมากยิ่งขึ้น ประกอบกับความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มตัวอย่างที่ส่วนใหญ่มีความคิดว่าประเด็นความขัดแย้งดังกล่าวมีเบื้องหน้าเบื้องหลังสูงมากถึง ร้อยละ 81.66 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของภาคประชาชนว่าความขัดแย้งดังกล่าวมีความซับซ้อนมากพอสมควร ดังนั้น เพื่อลดระดับความขัดแย้งดังกล่าวประชาชนจึงมีความเห็นว่าสื่อมวลชนควรรายงานข่าวอย่างรอบคอบและเป็นกลาง เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จับตา! 14 ม.ค. ศาลนราธิวาสพิพากษาชั้นอุทธรณ์ 'คดีเขาตะเว'
ศาลนราธิวาสนัดฟังคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์ 'คดีเขาตะเว' 14 ม.ค.นี้ 6 ปีกับความยุติธรรมที่คนชายแดนใต้รอคอย
'รมว.ยธ.' แนะ 'รพ.ตำรวจ' โชว์โปร่งใส ส่งเวชระเบียน 'ทักษิณ' ให้ ป.ป.ช.
'รมว.ยธ.' แนะ รพ.ตำรวจ ส่งเวชระเบียนรักษา 'ทักษิณ' ให้ ป.ป.ช. สร้างความโปร่งใสมีธรรมาภิบาล อ้างกรมราชทัณฑ์ให้ความร่วมมือตลอด
รัฐบาลโชว์ปี 67 ปราบปรามอาชญากรรมทุบสถิติ
รัฐบาล เผยผลการป้องกันปราบปราม จับกุม อาชญากรรมทุกประเภทปี 67 สถิติดีขึ้น ย้ำทุก บชก.เดินหน้าปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภท
‘หมูเด้ง’เหตุการณ์ที่สุดปี67
สวนดุสิตโพลจัดอันดับ "หมูเด้ง" เหตุการณ์แห่งปี "อิ๊งค์" ที่สุดนักการเมืองหญิง
สวนดุสิตโพล จัดอันดับ 'หมูเด้ง' เหตุการณ์แห่งปี 'อิ๊งค์' ที่สุดนักการเมืองหญิง
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ที่สุดแห่งปี 2567” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 14,246
ดุสิตโพลเผยคะแนนนิยมฯ นายกอิ๊งค์ ลดลง
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนธันวาคม 2567”