ป.ป.ช. แจงอุทธรณ์ คดีศาลยกฟ้อง 'อดีตผู้บริหารวิทยาลัยพลศึกษาชลบุรี'

‘เลขาฯ ป.ป.ช.’ แจงคดีศาลยกฟ้อง ‘อดีตผู้บริหารวิทยาลัยพลศึกษาชลบุรี’ ได้ชี้มูลผิดอาญาโดยอิสระ ยึดพยานหลักฐานตามกฎหมายปราศจากอคติ

28 มิ.ย. 2567 – นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้แจงกรณีมีการนำเสนอข่าว การร้องเรียนการทำหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าขาดความยุติธรรม ไม่สุจริต ไม่เที่ยงธรรม ไม่ปราศจาก อคติ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในประเด็นที่ศาลอาญาคดีทุจริตฯ ภาค 2 พิพากษายกฟ้อง นายณรงค์ คำหงส์ อดีตผู้บริหารวิทยาลัยพลศึกษาชลบุรี กับพวก 15 คน คดีกล่าวหาทุจริต เบียดบังเงินยืมทดรองราชการ ป.ป.ช. ได้รับเรื่องไต่สวนชี้มูลความผิดกว่า 13 ปี ปล่อยปละละเว้น ทำให้ประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) มาตรา 162, ป.อาญา มาตรา 157 ขาดอายุความไปแล้ว แต่กลับไปดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาชี้มูล ป.อาญา มาตรา 147 เพื่อให้มีโทษสูงกว่าทำให้คดีไม่ขาดอายุความนั้น

กรณีดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 65 ป.ป.ช. มีมติชี้มูลกรณีเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยพลศึกษาชลบุรี ทุจริตในการยืมเงินทดรองราชการ ประจำปีงบประมาณ 2544 – 2548 โดยพิจารณาเห็นว่าเงินยืมทดรองราชการ เป็นเงินที่หน่วยงานราชการจ่ายให้แก่ผู้ยืม เพื่อใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ หรือดำเนินโครงการตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา อันเป็นการยืมไปเพื่อใช้จ่ายตามวัตุประสงค์ และกิจการของราชการ ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามตำแหน่งหน้าที่ของผู้ยืม การยืมเงินทดรองราชการจึงเป็นการยืมไปใช้เพื่อประโยชน์ในกิจการของราชการทั้งสิ้น ซึ่งผู้ยืมต้องปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. 2520 ดังนั้นเงินที่วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดชลบุรี จ่ายให้ผู้ถูกกล่าวหา ยังคงเป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน เป็นเงินของทางราชการ การที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ส่งใช้เงินยืมภายในระยะเวลาที่กำหนด ปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยนานถึง 5 ปี อันเป็นการเบียดบังเงินยืมไปเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริต การกระทำจึงครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 147 แล้ว ป.ป.ช. พิจารณาแล้วคดีนี้มีพยานหลักฐานเพียงพอ จึงฟ้องคดีเองต่อศาล ภายในอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ประกอบมาตรา 95 (1) โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการป้องกันและปราบปราบการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 77 ประกอบมาตรา 93

ดังนั้นการแจ้งข้อกล่าวหา การไต่สวน และการฟ้องคดีของ ป.ป.ช. จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย ในรูปแบบขององค์คณะบุคคลมีความเห็นเป็นอิสระ โดยรับฟังพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนและพยานบุคคลประกอบการกระทำ อันเป็นการใช้ดุลพินิจที่มีเหตุผลประกอบเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม และปราศจากอคติชอบด้วย พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 25 แล้ว

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโจทก์ ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2 คดีหมายเลขดำที่ อท.37/2566 คดีหมายเลขแดงที่ อท.68/2566 เมื่อวันที่ 13 พ.ย.66 และปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป.ป.ช.สะดุ้ง! ยก 6 เหตุผลปราบคอร์รัปชันไร้ประสิทธิภาพ คนโกงจึงเหิมลำพอง

สาเหตุที่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตไม่ได้ผลไร้ประสิทธิภาพและพวก คนโกงคนชั่วหรือเหิมลำพอง อยู่ได้ก็เพราะ

เปิดหนังสือ ‘หมอวรงค์’ ร้อง กกต. สอบ 4 ประเด็นใหญ่ ฟัน ‘ทักษิณ’ ปราศรัยอุดรฯเข้าข่ายผิดกม.

ในการปราศรัยที่อุดรที่ผ่านมา จริงอยู่คุณมีสิทธิ์เสรีภาพที่จะพูด อยากจะปราศรัย เป็นเรื่องของคุณ แต่คุณต้องรับรู้นะครับว่า บ้านเมืองมีขื่อมีแป ถ้าคุณทำให้สงสัยได้ว่า มีความเสี่ยงที่ทำผิดกฏหมาย

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???