‘ผบ.ทร.’ สั่งกองทัพเรือเตรียมโรงพยาบาลสนาม รับมือสายพันธุ์โอมิครอนระบาด

โฆษกกองทัพเรือ เผย ผบ.ทร. สั่งเตรียมความพร้อมโรงพยาบาลสนามรับมือการแพร่ระบาดโควิดสายพันธุ์ โอมิครอน

9 ม.ค.2565- พล.ร.ท.ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนว่า พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ(ผบ.ทร.) ได้สั่งให้หน่วยต่างๆของกองทัพเรือที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล สถานพยาบาล โรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับการแพร่ระบาด โดย1.ให้โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า และ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ เป็นโรงพยาบาลหลัก สามารถให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีหอผู้ป่วยวิกฤต ห้องแรงดันลบ หอผู้ป่วยรวม และห้องแยก มีขีดความสามารถในการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษา ตั้งแต่อาการเล็กน้อย จนถึงขั้นวิกฤติ

2. จัดตั้งโรงพยาบาลสนามของกองทัพเรือ ใน 3 แห่งซึ่งสามารถรองรับผู้ป่วยได้รวม 1,109 เตียง ประกอบด้วย1). โรงพยาบาลสนาม ศูนย์การฝึกหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (เกล็ดแก้ว) อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน 544 เตียง

2). โรงพยาบาลสนาม ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน 180 เตียง

3). โรงพยาบาลสนาม สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข 16 บ้านจันทเขลม จังหวัดจันทบุรี จำนวน 385 เตียง

ทั้งนี้ โรงพยาบาลสนามของกองทัพเรือทั้ง 3 พื้นที่ อยู่ภายใต้การบริหารจัดการและกำกับดูแลของหน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดในแต่ละพื้นที่ โดยที่ผ่านมา ได้ปิดการใช้งานชั่วคราวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ลดลงในช่วงปลายปี 2564 อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบกับ โรงพยาบาลสนามทั้ง 3 พื้นที่ ทราบว่าจะพร้อมให้การสนับสนุนสาธารณสุขจังหวัด ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 10 ม.ค.2565 เวลา 0800 เป็นต้นไป

นอกจากนั้นในส่วนของ ศูนย์พักคอย (Community Isolation: CI) ทางศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโควิด-19 กองทัพเรือได้สั่งการให้หน่วยต่าง ๆ จัดตั้งศูนย์ CI ประจำหน่วย เพื่อรองรับกำลังพลในสังกัดที่ติดเชื้อฯ กลุ่มสีเขียว(อาการไม่รุนแรง) โดยมี หน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ และหน่วยเฉพาะกิจกองทัพเรือ ที่สามารถจัดตั้ง ศูนย์ CI ประจำหน่วย หน่วยได้จำนวน 15 หน่วย โดยหากตรวจพบกำลังพลติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง กรมแพทย์ทหารเรือจะพิจารณาให้ผู้ป่วยดูแลรักษาตัวที่บ้าน หรือศูนย์พักคอย (CI) เป็นหลัก

ปัจจุบัน หน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือและหน่วยเฉพาะกิจกองทัพเรือมีการจัดตั้ง ศูนย์พักคอย (CI) จำนวน 15 หน่วย พร้อมใช้งาน 32 แห่ง อยู่ระหว่างปรับปรุง 2 แห่ง มีจำนวนเตียง รวม 2,335 เตียง เนื่องจากปัจจุบันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีแนวโน้มการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โดยปรากฎกลุ่ม Cluster ในหลายพื้นที่ ดังนั้นกำลังพลของกองทัพเรือได้เพิ่มความระมัดระวังและปฏิบัติตามมาตราการรวมถึงมาตราการ DMHTT และมาตราการเกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศคบ.) และ สาธารณสุข (สธ.) กำหนดอย่างเคร่งครัด และทางกองทัพเรือได้พร้อมให้การสนับสนุนสาธารณสุขเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างสุดกำลังความสามารถ

“ผบ.ทร.เน้นย้ำให้ข้าราชการกองทัพเรือ เพิ่มความระมัดระวังทั้งแก่ตนเองและสมาชิกในครอบครัวในช่วงสถานการณ์ COVID-19 โดยการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคระบาดตามที่รัฐบาลกำหนด และมาตรการตามที่ กองทัพเรือได้สั่งการ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ระลอกใหม่”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซีพี-ซีพีเอฟ สนับสนุนโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อสวัสดิการกำลังพลกองทัพเรือและครอบครัว

พลเรือเอกจิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ รับมอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อสวัสดิการกำลังพลกองทัพเรือและครอบครัว ของกรมสวัสดิการทหารเรือ อ.บางพระ จ.ชลบุรี จากมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ และ บริษัท

โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

เปิดข้อเสนอ 'ครูทหารเรือ' เจรจาเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชาให้จบก่อน หากถึงทางตันต้องไปที่ศาลโลก

เปิดข้อเสนอ “ครูทหารเรือ” ให้เจรจาเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชาให้จบก่อน มองสูตรของกัมพูชาเจรจาขุมทรัพย์ก่อนทำได้ยาก ชี้2เรื่องละเอียดอ่อน-ซับซ้อน ปลายทางอาจจบที่ศาลโลก

จับล็อตใหญ่ริมน้ำโขง! ยาบ้าสูตรฟรุ้งฟริ้ง-ไอซ์ มูลค่ารวม 700 ล้านบาท

พล.ร.ต.ณรงค์ เอมดี ผบ.นรข. พ.อ.ปราโมทย์ เนียมสำเภา รองผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี (รอง ผบ.กกล.ฯ) นายวรวิทย์ พิมพนิตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม น.อ.แมนรัตน์ บุญสวัสดิ์ ผู้บังคับการ นรข.เขตนครพนม (ผบ.นรข.เขตฯ)

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน