เหล่าทัพขานรับนโยบาย 'บิ๊กทิน' ซื้ออาวุธแบบแพ็กเกจ

24 มิ.ย. 2567 – ที่กองบัญชาการกองทัพอากาศ (บก.ทอ.) พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพว่า มีการหารือกันเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่จะนำมาใช้ในการพัฒนากองทัพทั้งหมด รวมถึงระบบ AI และ ไซเบอร์

ส่วนที่ฝ่ายค้านได้อภิปรายในระหว่างประชุมงบประมาณปี 2568 วิจารณ์กองทัพมีการจัดหาเทคโนโลยีที่ล้าสมัยนั้น พล.อ.ทรงวิทย์ กล่าวว่า เราก็ต้องรับฟัง และต้องจัดทำข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อนำไปใช้ ในการพัฒนากองทัพ ซึ่งเป็นหน้าที่ของทหารอยู่แล้ว ซึ่งจากการรับฟังในที่ประชุม จากผู้บัญชาการเหล่าทัพเกี่ยวกับด้านการพัฒนาเทคโนโลยีแล้วรู้สึกสบายใจ ว่ามีการพัฒนาและมีแผนที่ชัดเจน ซึ่งระบบ AI ไม่ได้จบแค่ AI แต่สามารถนำไปใช้ในหลายภารกิจ เช่นการส่งกำลังบำรุง การตัดสินใจในปฏิบัติการต่างๆ และสามารถคาดการณ์ในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยังสามารถใช้ในการประมวลผล การโจมตีเป้าหมายต่างๆได้ หลายชาติก็มีความเห็นว่า จะต้องมีเรื่องของจรรยาบรรณ AI ด้วย โดยกำหนดว่ากระบวนการตัดสินใจ หรือการบังคับบัญชาจำเป็นต้องมีมนุษย์อยู่ในกระบวนการ

พล.อ.ทรงวิทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าในเรื่องงบประมาณหลังจากที่สภาฯ ได้ผ่านวาระแรกไปแล้วว่า วันนี้ที่ประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ไม่ได้พูดถึงในเรื่องงบประมาณ แต่พูดถึงเรื่องการพัฒนากองทัพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติเป็นหลัก และยังได้ข้อคิดจาก รมว.กลาโหม มาก่อนนี้ ที่จะต้องมีหน่วยงานมาดูแลเรื่องห้วงอวกาศ ซึ่งทางกองทัพอากาศ มีความพร้อมที่สุด ในการดูแลมิติทางอวกาศ หลังจากนี้ก็จะต้องมีการมาพูดคุยกันเพิ่มเติม ให้ควบคุมการปฏิบัติทางกายภาพทั้งสามมิติ คือ บก เรือ อากาศ รวมถึงเรื่องอวกาศ ซึ่งกองทัพอากาศ มีความเชี่ยวชาญที่สุด เพราะใช้ทั้งเรื่องการสื่อสารและเรื่องการวิเคราะห์ รวมไปถึงมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย

“แต่ก็ยอมรับว่าทุกหน่วยก็มีการเตรียมการเรื่องของงบประมาณ ทั้งสิ่งที่กองทัพเสนอ และสิ่งที่มีการทวงถาม ซึ่งต้องทำข้อมูลทั้งสองฝ่าย ให้พร้อม เพื่อจะนำไปตอบในวาระที่2 ในชั้นกรรมาธิการ” พล.อ.ทรงวิทย์ ระบุ

สำหรับการจัดหาอาวุธ ที่อาจจะนำหลักการจัดสรรโควตาของแต่ละเหล่าทัพตามความเหมาะสมเป็นเรื่องที่จะต้องหารือกันต่อไป ซึ่งกระทรวงกลาโหม จะเป็นผู้ดูแล แต่ก็มีการพูดคุยกันในกลุ่มเล็กๆ เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดซื้ออาวุธ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ เพื่อให้การจัดซื้ออาวุธของแต่ละเหล่าทัพ ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งยังไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพไทยโดยตรง แต่ผู้ที่กำหนดนโยบายคือกระทรวงกลาโหม ต้องแยกระหว่างนโยบายกับผู้ปฏิบัติ ส่วนเรามีหน้าที่ ให้ข้อคิดเห็นกับทางกระทรวงกลาโหม และช่วยในการตัดสินใจ

“ส่วนแนวคิดที่จะจัดซื้ออาวุธแบบแพ็กเกจ เป็นสิ่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้พูดไว้ แม้ว่าไม่มีในส่วนร่วมในการคิด แต่กองทัพก็ต้องเตรียมรับนโยบานไปปฎิบัติไว้ เพราะว่ามาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐบาล ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ศึกษาถึงความแตกต่าง ในการจัดซื้ออาวุธแบบแพ็คเกจ และการจัดสรรโควตาให้แต่ละเหล่าทัพ” ผบ.ทสส. ระบุ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอาแล้ว! ทูตสหรัฐส่งหนังสือจี้ 'เศรษฐา' เร่งซื้อเอฟ-16

เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ส่งหนังสือถึงนายกฯ เร่งเครื่องโค้งสุดท้ายดัน เอฟ-16 เสนอเงินกู้ยืม 9 ปีแต่เสียดอกเบี้ย -การค้าต่างตอบแทนกับไทย ก่อน ทอ. ฟันธงเลือกแบบในเร็วๆ นี้

'เรือดำน้ำ' ส่อแววจบไม่ทันยุค 'บิ๊กดุง' หลังหลายฝ่ายกังวลข้อกฎหมาย

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเรือดำน้ำ ที่ยังอยู่ระหว่างการดูข้อกฎหมายของนายกรัฐมนนตรี จะเสร็จทันนำเข้า ครม. ก่อนที่ ผบ.ทร. จะเกษียณฯ 30ก.ย.นี้ หรือไม่ ว่า พยายามจะทำให้เร็วที่สุด ไม่ได้กับยึดโยงกับเรื่องเกษียณฯ

'สุทิน' ผลักดันมวยทหารไทย สู่มวยกองทัพโลก หนุน Soft Power ไทย

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงนโยบายการผลักดัน Soft Power ของกระทรวงกลาโหม เนื่องจากวันนี้จะมีการจัดงาน THACCA SPLASH : Soft Power Forum ที่ศูนย์ประชุมแห่ง

'กลาโหม' เตรียมแก้กฎหมาย กำลังพลล้มละลาย ไม่ปลดออกจากราชการ

นายทิน คลังแสง รมว.กลาโหม แถลงผลการประชุมสภากลาโหมว่า ได้เน้นย้ำ หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและ ผบ.เหล่าทัพ เข้มงวดมาตรการการหักเงินเดือนพลทหารตามที่กำหนด พร้อมส่งจเรทหารลงพื้นที่หากพบว่าฝ่าฝืนจะมีการลงโทษโดยเด็ดขาด