รัฐบาลหนุนสร้าง 'นักออกแบบรุ่นใหม่-แบรนด์ไทย'

นายกฯ สนับสนุนเสริมสร้างทักษะนักออกแบบรุ่นใหม่ในอุตสาหกรรมแฟชั่น ส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนานักออกแบบดีพร้อมในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สร้างแบรนด์ไทยและนักออกแบบรุ่นใหม่ไประดับโลก

20 มิ.ย.2567 - นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สนับสนุนการเสริมสร้างทักษะให้กับนักออกแบบยุคใหม่ในอุตสาหกรรมแฟชั่น เพื่อ up-skill ให้ปรับตัว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ต่อยอดส่งเสริมการสร้างแบรนด์แฟชั่นไทย ผ่านการส่งเสริมการพัฒนาทักษะ และจัดกิจกรรมการพัฒนานักออกแบบดีพร้อมในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (DIPROM Thai Designer Lab) เพื่อสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในอนาคต

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า นายกฯ คำนึงถึงการยกระดับ พัฒนานักออกแบบ Young Designer โดยถือเป็นประเด็นที่นำมาหยิบยกในความร่วมมือระหว่างประเทศบ่อยครั้ง โดยนายกรัฐมนตรีต้องการให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่างไทยกับประเทศแฟชั่นชั้นนำ เพื่อยกระดับแนวทาง การทำงานของนักออกรุ่นใหม่แบบไทย ทำให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) รับลูกดำเนินการจัดกิจกรรมการพัฒนานักออกแบบดีพร้อมในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ DIPROM Thai Designer Lab โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ สร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์ของตนเอง และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน พร้อมก้าวสู่การเป็นแบรนด์สินค้าที่เป็นที่รู้จักในระดับโลก และได้มีการนำกลยุทธ์ในการปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ (Reshape The Industry) มาใช้ เน้นการพัฒนาศักยภาพของนักออกแบบให้มีการต่อยอดความรู้ใหม่ ๆ พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงในบริบทต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

สำหรับกิจกรรมของ DIPROM มีผู้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 24 คน ได้เรียนหลักสูตรที่เหมาะสำหรับการสร้างสรรค์และต่อยอดเพื่อสร้างแบรนด์ เช่น 1.การฝึกอบรมความรู้ด้านการทำธุรกิจแฟชั่น การออกแบบ สร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้า 2.การศึกษาดูงาน ในสถานที่ต่างๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบ 3.การจัดกิจกรรมค่ายปฏิบัติการออกแบบ (Design Lab) ที่มีการให้คำปรึกษาโดยนักออกแบบมืออาชีพ เสริมสร้างพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการสู่ระดับโลก 4.การให้คำปรึกษาแนะนำด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ และตรงกับความต้องการของตลาด และ5.การจัดประกวดผลิตภัณฑ์ต้นแบบตามแนวคิด Fashioniverse พร้อมนำเสนอผลงานเพื่อประกวด และคัดเลือกผู้ชนะรับเงินรางวัล และโอกาสในการไปทำตลาดที่ต่างประเทศ

ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวในปีนี้ ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ได้เสร็จสิ้นและประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนได้สัมผัสกับประสบการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบ การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับนักออกแบบมืออาชีพ ได้เรียนรู้จากสถานที่จริงและลงมือปฏิบัติ สร้างเสริมทักษะและประสบการณ์ให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่

“นายกฯ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยปรับตัว พัฒนาทักษะความรู้ใหม่ ทักษะที่เท่าทันกระแสสังคมโลกอยู่ตลอดเวลา รวมทั้ง ทักษะในด้านเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งอุตสาหกรรมแฟชั่น ถือเป็นหนึ่งในนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาต่อยอด โดยนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่าแบรนด์แฟชั่นของไทยล้วนมีศักยภาพ สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก หากได้รับการพัฒนาทักษะและประสบการณ์จะช่วยต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย เพื่อก้าวสู่การเป็น Soft Power ที่ได้รับความนิยมระดับโลกได้”นายชัย กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ปลื้มยอดผู้โดยสารใช้บริการสนามบินเกือบ 120 ล้านคน

นายกฯ ปลื้มยอดผู้โดยสารใช้บริการท่าอากาศยาน 6 แห่ง เกือบ 120 ล้านคนในปีงบประมาณ 2567 พร้อมเปิดใช้งานเช็กอินระบบ Biometric นำร่องผู้โดยสารในประเทศก่อนเริ่ม 1 พ.ย.นี้

โฆษกรบ. โชว์สินค้าเกษตรของไทยขึ้นแท่นเบอร์ 1 อาเซียน

โฆษกรบ. เผย สินค้าเกษตรขึ้นแท่นที่ 1 อาเซียน ติดอันดับ 8 ของโลก หลัง 8 เดือน ส่งออกพุ่ง4.3แสนล้านบาท นายกฯสั่ง เร่งลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรค ดันติด Top5 โลกให้ได้ต้นปีหน้า

นายกฯ อิ๊งค์สั่งแรงงงานเยียวยา 'ผู้ประกอบการ-ผู้ประกันตน' ที่เจอน้ำท่วมใน 41 จังหวัด

นายกฯ กำชับแรงงานดูแลผู้ประกอบการ-ผู้ประกันตน ม. 33 ,39,40 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมใน 41 จังหวัด มั่นใจเป็นส่วนหนึ่งเยียวยาผู้ประสบภัยได้อย่างตรงจุด

ผู้แทนการค้าไทยหารือแก้ปัญหาส่งออกเนื้อ

'ชัย วัชรงค์' หารือนายกสมาคมผู้ส่งออกและนำเข้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ไทย ร่วมหาแนวทางส่งออกโคเนื้อสู่ตลาดเพื่อนบ้าน ช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย แก้ปัญหาราคาตกต่ำและสารเร่งเนื้อแดง