นายกฯ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Aviation Hub ขอบคุณการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เชื่อมั่นหลังขยายสิทธิการบินไทย-อินเดีย เพิ่มที่นั่งบนเครื่องบินระหว่างกัน 7,000 ที่นั่ง/สัปดาห์ จะส่งเสริมการเดินทางและการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ
17 มิ.ย.2567-นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ขับเคลื่อนการดำเนินนโยบาย Aviation Hub ส่งเสริมการเดินทางระหว่างประเทศ ทำให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญ อำนวยความสะดวก พัฒนาอุตสาหกรรมการบินของไทยสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค พร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการเจรจาสิทธิการบินระหว่าง ไทย-อินเดีย เป็นผลสำเร็จ สู่การทำข้อตกลงร่วมกันในการเพิ่มที่นั่งในเที่ยวบินระหว่างไทย-อินเดีย ในเที่ยวบินที่เดินทางไปยัง 6 เมืองสำคัญของอินเดีย โดยจะสามารถดำเนินการได้ในเดือนพฤศจิกายน 2567
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินนโยบายตามแนวทางที่นายกรัฐมนตรีกำหนดวิสัยทัศน์ โดยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้หารือร่วมกับ คณะผู้แทนจากกระทรวงการบินพลเรือนอินเดีย และสายการบินของอินเดีย ประเด็นการขยายสิทธิการบินไทย-อินเดีย โดยจากผลการเจรจาส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายจะได้รับสิทธิทำการบินโดยมีจำนวนที่นั่งเพิ่มขึ้น และจะขยายสิทธิความจุและความถี่เพิ่มขึ้นอีก ตามเงื่อนไขว่า สายการบินฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องทำการบินถึง 80% ของสิทธิที่ได้รับ พร้อมขยายการทำการบินไปยังเมืองสำคัญเพิ่มขึ้นอีกฝั่งละ 7,000 ที่นั่งต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 2,000 คนต่อวัน ไปยัง 6 เมือง ได้แก่ มุมไบ เดลี เจนไน กัลกัตตา บังคาลอร์ และไฮเดอราบาด
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานได้ประสานงาน สายการบินของไทยเพื่อจัดสรรจำนวนที่นั่งให้เหมาะสมตามที่ได้รับมา ให้สามารถทำการบินได้ในเดือนพฤศจิกายน 2567 และให้สายการบินของไทยดำเนินการด้านการขออนุญาตทำการบินเข้า และการขอเวลาการทำการบินตามเส้นทางที่ได้รับการจัดสรรจากหน่วยงานฝั่งอินเดีย ซึ่งผลการเจรจาครั้งนี้จะทำให้สายการบินของไทยและอินเดียสามารถทำการบินระหว่างกันได้มากขึ้น อีกทั้งจะช่วยส่งเสริมการเดินทางไปยังเมืองหลักและเมืองรอง เพิ่มปริมาณการเดินทาง ให้สอดรับกับการขยายมาตรการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง ส่งเสริมการเดินทางและการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ
รวมทั้ง ผลจากการดำเนินมาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา (Visa Free) ให้กับนักท่องเที่ยวชาวอินเดียของไทย ระหว่างช่วงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 – 10 พฤษภาคม 2567 และได้มีการขยายเวลามาตรการดังกล่าวออกไปจนถึง 11 พฤศจิกายน 2567 ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวอินเดียจำนวนมากเดินทางมายังประเทศไทย โดยตลอดทั้งปี 2566 พบว่ามีนักท่องเที่ยวชาวอินเดียมาเยือนประเทศไทยเป็นจำนวนมากกว่า 1.62 ล้านคน นอกจากนี้ ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มกราคม – 9 มิถุนายน 2567 พบว่าประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวอินเดียมาเยือนเป็นจำนวน 903,248 คน โดยมีความเชื่อมั่นว่าข้อตกลงในการจัดสรรสิทธิการบินดังกล่าว จะสามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวอินเดียได้อย่างมีนัยสำคัญ
“นายกรัฐมนตรีสนับสนุนให้ไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยว และที่ผ่านมานักท่องเที่ยวอินเดียเป็นอีกกลุ่มที่นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย จึงเชื่อมั่นว่าการเพิ่มจำนวนที่นั่งเที่ยวบินในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างไทยและอินเดียซึ่งเป็นประเทศที่มีความสำคัญในภูมิภาคเอเชียใต้ และเป็นโอกาสขยายความร่วมมือไปยังมิติอื่นที่ยังมีโอกาสของการเจริญเติบโต อาทิ ความร่วมมือภาคประชาชน อุตสาหกรรมภาพยนตร์ เทคโนโลยี ขับเคลื่อนกลไกความร่วมมือเพื่อต่อยอดสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์จริงต่อไป”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดร.ก้อง'เผยโครงการ'สปอร์ต คอมเพล็กซ์' ขานรับแนวคิด'นายกฯ' เพิ่มสนามมาตรฐานรับศึกใหญ่
ดร.ก้อง” เผยโครงการ “สปอร์ต คอมเพล็กซ์” ขานรับแนวคิด “นายกรัฐมนตรี” ให้สร้างสนามกีฬาระดับมาตรฐานเพิ่ม เพื่อรองรับรายการระดับนานาชาติที่ใหญ่ขึ้น
นายกฯอิ๊งค์ เซ็นคำสั่งแต่งตั้ง 'ข้าราชการการเมือง' จำนวน 16 ราย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๔๖๓/๒๕๖๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
'สว.อังคณา' ตบปาก 'พ่อนายกฯ' พล่อยเหยียดผิว บี้ขอโทษก่อนบานปลาย
'อังคณา' จี้ 'ทักษิณ' ขอโทษ หลังปราศรัยเหยียดผิว ช่วยหาเสียงเป็นสิทธิ แต่ไม่ควรพูดด้อยค่า-ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
เริ่มวันแรก! เปิดลงทะเบียน 'คุณสู้ เราช่วย' ปลดหนี้ 3 แสนล้าน
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กระทรวงการคลัง ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
นายกฯอิ๊งค์ เปิดทำเนียบฯ จัดงาน ‘วันเด็กแห่งชาติ’ ให้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี
ในปีนี้น.ส.แพทองธาร มอบคำขวัญวันเด็กประจำปี 2568 ให้กับเด็ก ๆ เยาวชนไทย เพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจว่า 'ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง'
จับตา! สรรพากร-สตง. สอบที่มาทรัพย์สิน 'นายกฯอิ๊งค์' รวยหมื่นล้าน
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า นายกฯอุ๊งอิ๊ง ผวาที่มาทรัพย์สิน 1.3 หมื่นล้าน อาจถูกตรวจสอบที่มาของรายได้ และภาระภาษี 30%