16 มิ.ย.2567-กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 16-25 มิ.ย.67 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) (วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ) ระบุว่า 16-19 มิ.ย.67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมจะมีกำลังแรงขึ้น และอาจมีแนวร่องมรสุม พาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ทำให้ทั่วไทยฝนมีฝนบางแห่ง การกระจายของฝนยังอาจไม่ทั่วถึง ส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีตกหนักบางแห่ง ด้านรับมรสุม บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคตะวันออก (จันทบุรี ตราด) ฝนยังตกไม่สม่ำเสมอ บางพื้นที่อากาศร้อน ฝนน้อย ส่วนคลื่นลมในทะเลทั้ง 2 ฝั่ง แรงขึ้นบ้าง ความสูง 1-2 ม. บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ช่วง 20 -25 มิ.ย.67 แนวโน้มการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้นในทุกภาค และมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะด้านรับมรสุม ต้องติดตามและเฝ้าระวัง โดยเฉพาะบริเวณภาคอีสานด้านตะวันออก ภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี ตราด) และภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา) เนื่องจากมรสุมมีกำลังปานกลางถึงค่อข้างแรงประกอบมีร่องมรสุมพาดผ่านทางตอนบนของภาคเหนือ ภาคอีสาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
'เหนือ-อีสาน' ยังเย็นต่อเนื่องส่วน 'ภาคใต้' ฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
ลมหนาวมาต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อุณหภูมิลดฮวบ 2-4 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้
กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉ.1 พายุไต้ฝุ่น ‘หม่านหยี่’ บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน
พายุไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 17.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 118.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อากาศเปลี่ยนแปลง ‘กทม.’ อุณหภูมิลดลง ‘เหนือ-อีสาน’ หนาวเย็น ‘ภาคใต้’ ฝนตก
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว