กรมอุตุฯ เผย 2 ปัจจัย ทำไทยมีฝนตกชุกลากยาวต่อเนื่อง 15-20 มิ.ย.

14 มิ.ย.2567 - กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้ารายภาค ช่วงวันที่ 14-20 มิ.ย. 67 โดยเผย 2 ปัจจัยคือ ร่องมรสุม และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ประเทศไทยกลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

แนวร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย

ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออก

สำหรับภาคใต้ คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยและทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 15 - 20 มิ.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในภาคเหนือและภาคตะวันออก รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง

คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 14-20 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 15 – 20 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 15 – 20 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 15 – 20 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 15 – 20 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
โดยในช่วงวันที่ 17 – 20 มิ.ย. มีฝนตกหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 37 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 14 – 15 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 30 ของพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 16 – 20 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 37 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 14 – 15 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 30 ของพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 16 – 20 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 – 35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ตั้งแต่จังหวัดตรัง ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 36 องศาเซลเซียส

กรุงเทพและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 14 – 15 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 16 – 20 มิ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 37 องศาเซลเซียส

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ อัปเดตพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ' เตือน 33 จังหวัด เจอฝนตกหนัก 60-70%

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 6 ระบุว่า เมื่อเวลา 17.00 น. ของวันนี้ (22 ก.ค. 67) พายุโซนร้อน “พระพิรุณ” บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 20.2 องศาเหนือ

ตราดระทม! จมบาดาล 1 เมตร เดือดร้อน 3 พันคน

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนรักษ์คลองบางพระ ชุมชนวัดโบสถ์ ชุมชนกิจสวัสดิ์ ถนนเทศบาล 3, 5 ถนนพัฒนาการปลายคลอง ถนนกิตติพัฒนา ซอยสืบแสวงทรัพย์ ซอยร่มไทร ซอยสุเหล่าแขกปลายคลอง ซอยสมจริง ซอยศาลเจ้าแม่ตาเหล ยังคงทรงตัว

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 5 อัปเดตเส้นทางพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ'

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 5 (145/2567) โดยมีใจความว่า