พม.ยกระดับปกป้องสิทธิ 'เด็กผู้ลี้ภัย-เด็กผู้แสวงหาที่พักพิง'

'รัดเกล้า' เผย พม. ก้าวไปอีกขั้นกับการปกป้องสิทธิเด็ก เน้นย้ำความมุ่งมั่นของไทยในการส่งเสริมและคุ้มครองงสิทธิบนฐานของการไม่เลือกปฏิบัติและประโยชน์สูงสุดของเด็ก

13 มิ.ย.2567 - นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ภายใต้การนำของ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งที่ประชุม ครม. รับทราบ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ทราบต่อไป

รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ คณะรัฐมนตรีมีมติ (9 มกราคม 2567) และมอบหมายให้ พม. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่อง ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ที่เห็นว่า ไทยควรถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยเร็ว และควรประกันว่า การกำหนดความหมายของเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง ในกรอบกฎหมายและนโยบายของประเทศไทยจะไม่ตัดสิทธิของเด็กกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในการได้รับความคุ้มครองตามข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ตามที่ กสม. เสนอ ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ พม. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวมแล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก สลค. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

พม. ได้เสนอรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะของ กสม. ในเรื่องดังกล่าว โดยได้รวบรวมความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและได้ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมายจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 เป็นกรรมการ และเข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาตามข้อเสนอแนะของ กสม. ในเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งมีผลการพิจารณาในภาพรวมว่า

ประเทศไทยมีมาตรการและกลไกที่เพียงพอที่จะรองรับพันธกรณีภายใต้ ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ เนื่องจากเป็นการเน้นย้ำความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิบนฐานของการไม่เลือกปฏิบัติและประโยชน์สูงสุดของเด็กตามอนุสัญญาฯ และอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้ง คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาความพร้อมของประเทศไทยต่อการถอนข้อสงวนของอนุสัญญาฯ และคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติได้เห็นชอบการถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ด้วยแล้ว

ส่วนการกำหนดความหมายของเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิงในกรอบกฎหมายและนโยบายของประเทศไทยจะไม่จำกัดสิทธิของเด็กกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในการได้รับความคุ้มครองตามข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ โดยได้มีมาตรการที่เหมาะสมในการรองรับเด็กแต่ละกลุ่ม โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี! รัฐบาลเตรียมเพิ่มเงินช่วยเหลือผู้มีภาวะพึ่งพิง

รัฐบาลเตรียมเพิ่มเงินช่วยเหลือผู้มีภาวะพึ่งพิงจาก 6,000 บาท/คน/ปี เพิ่มเป็นจำนวน 10,442 บาท/คน/ปี พร้อมขยายกลุ่มเป้าหมาย คาดครอบคลุมผู้มีภาวะพึ่งพิง 6 แสนคน

ครม.เห็นชอบบันทึกความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม 'ไทย-ญี่ปุ่น' ฉบับใหม่

'เกณิกา' เผย ครม.มีมติอนุมัติบันทึกความร่วมมือว่าด้วยความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เพื่อเสริมสร้าง อำนวยความสะดวก และพัฒนาความร่วมมือในสาขาสิ่งแวดล้อม

วราวุธ รมว.พม. เยี่ยมบ้านมั่นคงเมืองย่าโม ย้ำนอกจากมีบ้านแล้วต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกครัวเรือน

วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการบ้านมั่นคง