'รมว.คลัง' เล็งคุย ธปท. ลดแบล็กลิสต์ พร้อมสั่งออมสินหาเงินแสนล้าน ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ

10 มิ.ย.2567 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยภายหลังครม.เศรษฐกิจ ว่า กระทรวงการคลังเตรียมหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางช่วยเหลือผู้ที่ติดแบล็กลิสต์เครดิตบูโร โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้รหัส 21 ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ประมาณ 4 ล้านคน ให้สามารถออกจากเครดิตบูโรได้เร็วขึ้น โดยจะหาโอกาสไปคุย ธปท.ว่า จะมีมาตรการอะไรที่ยืดหยุ่นได้บ้าง โดยเรื่องเครดิตบูโร เราเดินตามมาตรฐานต่างประเทศคือ 5 บวก 3 โดยตัดหนี้เสียของสถาบันการเงินจะต้องใช้เวลา 5 ปี และถูกเก็บประวัติไว้ที่เครดิตบูโรอีก 3 ปี ซึ่งการหารืออยากจะช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มรหัส 21 ก่อน เพราะวันนี้ลูกหนี้กลุ่มนี้เริ่มฟื้นแล้วแต่ยังติดเครดิตบูโร ถ้าเปลี่ยนเฉพาะกลุ่มนี้เป็นเหลือ 3 บวก 3 จะช่วยได้อีก 4 ล้านคน แต่ต้องหารือธปท.ก่อนว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง

นายพิชัย กล่าวว่า ขณะเดียวกันในการช่วยเหลือทางด้านการเงินกับกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับความเดือดร้อนด้านแหล่งเงินทุนนั้น ในการประชุมครม.เศรษฐกิจ ยังได้รับทราบแนวทางการแก้ปัญหา โดยในการประชุมครม.วันที่ 11 มิถุนายน 2567 นี้ กระทรวงการคลัง จะเสนอโครงการ PGS 11 โดยให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จะค้ำประกันเงินกู้ สูงสุด10 ปี รายละไม่เกิน 40 ล้านบาท วงเงิน 50,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเอสเอ็มอีก นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง ยังมอบหมายให้ธนาคารออมสิน จัดหาสินเชื่อวงเงิน 1 แสนล้านบาท ดอกเบี้ยต่ำ 0.1% เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์กู้ไปปล่อยสินเชื่อต่อ ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 3.5% ในช่วง 3 ปีแรก โดยตั้งเป้าหมายดึงลูกค้ารายใหม่ให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ซึ่งคาดว่าเร็ว ๆ นี้จะเสนอให้ครม.พิจารณา

นายพิชัย กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ ยังได้ได้รับทราบสถานการร์ด้านแรงงาน โดยนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน มานำเสนอข้อมูลการทำงาน หลังจากมีข่าวว่าโรงงานผลิตรถยนต์ปิดกิจการในไทย โดย รมว.แรงงาน แจ้งว่า กระทรวงแรงงานจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยที่ผ่านมาประเทศไทยมีคนว่างงานอยู่ประมาณ 5 แสนคน บางส่วนได้กลับเข้าระบบการจ้างงานแล้วกว่า 3 แสนคน เหลือประมาณ 1.7-1.8 แสนคน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อรวมกับผู้จบการศึกษาใหม่อีกที่จะเข้าสู่ตลาดงานอีกประมาณ 5 แสนคน จะทำให้มีจำนวนผู้ต้องการทำงานสูงถึง 6-7 แสนคน โดยตอนนี้มีข้อมูลจากเว็บไซต์จัดหางานว่า ตลาดแรงงานมีความต้องการประมาณ 500,000 คน ที่สามารถดูดซับแรงงานได้ ทำให้เหลือแรงงานที่ตกงานจริง ๆ เพียง 1 แสนคนเท่านั้น

ส่วนการพัฒนาทักษะแรงงานนั้น ในเร็ว ๆ นี้รัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการเซมิคอนดักเตอร์แห่งชาติ ขึ้นมาครั้งแรก เพื่อดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยในการพัฒนาคนด้านอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยและภาคเอกชนของไต้หวันในการไปเรียนและฝึกงาน และพร้อมเพิ่มทักษะให้แรงงานไทยด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลจัดเต็มลุย 'พักดอกเบี้ย' นาน 3 ปี ช่วยลูกหนี้ 3 กลุ่มใหญ่

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน

พิลึก! 'รมว.คลัง' อ้างยังไม่ได้รายชื่อ 'ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ' คนใหม่

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปฎิเสธให้สัมภาษณ์ กรณีจะนำรายชื่อ นายกิตติรัต

'อดีตรมว.คลัง' ร่อนจม.ถึง 'รมว.คลัง' จี้ตรวจคุณสมบัติ 'โต้งไวท์ไล'

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ส่ง จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีคลังเรื่องแต่งตั้งประธานบอร์ดแบงค์ชาติ

ยากจะขวาง‘โต้ง’นั่งปธ.บอร์ดธปท. แนวต้านขอสกัดจนนาทีสุดท้าย!

แม้จะมีข่าวว่า กรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเลือก เสี่ยโต้ง-นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่

'พิชัย' รับเตรียมเสนอหลักการแจกเงินหมื่น คนอายุ 60 ปีขึ้น หลังทักษิณปราศรัยที่อุดรฯ

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีขึ้นปราศรัย เวทีหาเสียง นายก อบจ. อุดรธานี ที่เปรยว่า ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะได้รับเงินหมื่นเร็วๆนี้

นักกฎหมาย ชี้ไม่ง่าย 'โต้ง' ว่าที่ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ จะแทรกแซงผู้ว่าแบงก์ชาติ

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีหลายฝ่ายคัดค้าน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่ เป็นตัวแทนฝ่