จับมือเอเปกท่องเที่ยวไทยไม่เหมือนเดิม! ร่วมเดินหน้ารับมือกับความท้าทาย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอย่างยั่งยืน
06 มิ.ย.2567 - นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 5-9 มิถุนายน 2567 สาธารณรัฐเปรู ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปก ครั้งที่ 12 ขึ้น เพื่อให้ประเทศสมาชิกรับทราบและรับรองผลการดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเอเปก ปี พ.ศ. 2563-2567 รวมทั้งมอบนโยบาย และกำหนดทิศทางการดำเนินงานในสาขาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยในการประชุมจะได้ร่วมกันรับรองร่างเอกสาร 3 ฉบับ ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (4 มิ.ย. 2567) ได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติแล้ว ได้แก่ 1.ร่างถ้อยแถลงการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปก ครั้งที่ 12 2.ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายหลักการในการป้องกันและลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก และ 3.ร่างแนวคิดโครงการแพลตฟอร์มเอเปกเพื่อเผยแพร่โอกาสความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก
รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ร่างถ้อยแถลงฯ มีสาระสำคัญเป็นการเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้นวัตกรรมใหม่ เพื่อรับมือกับความท้าทายในภาคการท่องเที่ยวในปัจจุบัน รวมถึงการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นทางการและการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในขณะที่ ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายฯ เป็นโครงการวิจัยที่จัดทำขึ้นโดยสาธารณรัฐเปรู ซึ่งได้ระบุเกี่ยวกับปัญหาของการทำอาหารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างขยะอาหารในภาคการท่องเที่ยว และได้มีข้อเสนอแนะ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนหลักการของเอเปคให้เป็นรูปธรรม และร่างแนวคิดโครงการฯ ที่มีเป้าหมายในการสร้างแพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในภาคการท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกัน การถ่ายทอดความรู้ การแลกเปลี่ยนโอกาสด้านความร่วมมือที่มีอยู่ และการจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก
ทั้งนี้ ร่างเอกสารฯ จำนวน 3 ฉบับ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของเขตเศรษฐกิจเอเปก เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก และเป็นการแสดงถึงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในการฟื้นฟูการท่องเที่ยว และกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก อย่างครอบคลุมและยั่งยืน รวมถึงยังเป็นการสนับสนุนบทบาทเด่นของประเทศไทยในเวทีนานาชาติด้วย
“โควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงการท่องเที่ยวในหลายทิศทาง ทั้งแนวความคิดที่มีต่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และใส่ใจรับผิดชอบ และรูปแบบที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้น ซึ่งถือเป็นแนวทางหลักของการประชุมนี้ที่เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้นวัตกรรมใหม่ เพื่อรับมือกับความท้าทายในปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลโดยยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมร่วมเดินหน้ากับเอเปกส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม วิถีชีวิต และประเพณี สร้างงาน กระจายรายได้ให้แก่ท้องถิ่น” นางรัดเกล้ากล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลยันผู้ปลูกมันสำปะหลังไม่ถูกกดราคาแน่
รัฐบาลให้ความเชื่อมั่นผู้ปลูกมันสำปะหลัง เตือนพ่อค้ากดราคา โทษจำคุกสูงสุด 7 ปี จัดสายตรวจเฉพาะกิจ ลงพื้นที่ตรวจสอบการซื้อขายมันฯ ในแหล่งเพาะปลูกทั่วประเทศ รับฤดูเก็บเกี่ยวที่จะเริ่ม ธ.ค.นี้
รัฐบาลโอ่ผลงานยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออกเชื่อมโยงอีอีซี
รัฐบาลยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออก เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร เชื่อมโยงอีอีซี ล่าสุดกรมทางหลวงขยาย 4 ช่องจราจร ทล.3481 ตอน บ้านหัวไผ่ - การเคหะฯ จังหวัดปราจีนบุรี แล้วเสร็จ
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย
รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย
ข่าวดี! สปสช.เห็นชอบเพิ่มสัดส่วนล้างไตผ่านช่องท้องรายใหม่ 50%
'คารม' เผย บอร์ด สปสช. เห็นชอบข้อเสนอพัฒนาระบบมาตรฐานและคุณภาพของนโยบายล้างไต เพิ่มสัดส่วนผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้องรายใหม่ 50% ดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมีความยั่งยืน
ก.อุตฯ ลุยเสริมทักษะเอสเอ็มอีกว่า 200 ราย
'ศศิกานต์' เผย ก.อุตฯ เดินหน้าส่งเสริมเอสเอ็มอีกว่า 200 ราย เสริมทักษะ เพิ่มขีดการแข่งขัน เน้นดิจิทัลและความยั่งยืน คาดดันเศรษฐกิจโตกว่า 62 ล้านบาท
อึ้ง! ร้องเรียนโจรชวนลงทุนออนไลน์วันละกว่า 3.2 พันสาย
รองโฆษกรัฐบาล เตือนภัย 'มิจฉาชีพชวนลงทุนออนไลน์' พบผู้เสียหายโทรแจ้งอาชญากรรม ผ่านศูนย์ AOC เฉลี่ยวันละ 3,206 สาย ดำเนินการระงับบัญชีวันละ 1,130 บัญชีต่อวัน