ศาลปกครองเชียงใหม่ ยกคำขอทุเลาเกี่ยวกับวิธีการเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี มช.

7 ม.ค.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2565 ศาลปกครองเชียงใหม่มีคำสั่งยกคำขอทุเลาการบังคับตามกฎ ในคดีหมายเลขดำที่ 469/2564 ระหว่าง นายสมชาย ปรีชาศิลปกุล กับพวกรวม 13 คน ผู้ฟ้องคดี กับสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี

คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบสามเป็นผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ฟ้องว่า การที่สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) ออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการสรรหาธิการบดี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ข้อ 5 วรรคสาม มีสาระสำคัญว่า “ในการเสนอรายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีทุกขั้นตอนให้ใช้วิธีปรึกษาหารือ และ มิให้ดำเนินการโดยวิธีเลือกตั้งหรือหยั่งเสียง หากปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครหรือผู้ถูกเสนอชื่อรายใดยอมรับวิธีการดังกล่าวให้คณะกรรมการตัดชื่อออกจากกระบวนการสรรหา และถ้ามีผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยสนับสนุนก็ให้ถือว่ามีความผิดทางวินัย” เป็นการตราข้อบังคับที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตทำให้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนข้อบังคับดังกล่าว และขอให้ทุเลาการบังคับตามข้อบังคับนี้ มิให้นำมาใช้บังคับกับการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ซึ่งศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสองชี้แจงข้อเท็จจริง ในกรณีดังกล่าว

ศาลปกครองเชียงใหม่วินิจฉัยว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 อาศัยอำนาจตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง (3) และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2551 ออกข้อบังคับดังกล่าวในชั้นนี้ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่ากระบวนการในการออกข้อบังคับไม่เป็นไปตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนด ส่วนปัญหาว่าข้อบังคับดังกล่าวมีเนื้อหาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นประเด็นในเนื้อหาแห่งคดีที่ศาลต้องแสวงหาข้อเท็จจริงต่อไป จึงเห็นว่าข้อบังคับดังกล่าวไม่น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการให้ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับในระหว่างการพิจารณาคดี ไม่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงที่ยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลัง เพราะหากต่อมาศาลวินิจฉัยว่าเป็นกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลย่อมจะพิพากษาให้เพิกถอนกฎดังกล่าวได้ ประกอบกับการที่ศาลจะมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามข้อบังคับดังกล่าวย่อมจะส่งผลทำให้กระบวนการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ที่ดำเนินการอยู่ขณะนี้ ต้องล่าช้าออกไปและจะเป็นอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐ ตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ. 2542 และข้อ 72 วรรคสาม แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ฯ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 กรณียังไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามข้อ 5 วรรคสาม ของข้อบังคับดังกล่าว ศาลปกครองเชียงใหม่จึงมีคำสั่งยกคำขอทุเลาการบังคับตามกฎของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบสาม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

4 นักวิจัย มช. รับพระราชทานเกียรติบัตร จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานThailand Research Expo 2024

นักวิจัย มช. เข้ารับพระราชทานเกียรติบัตร จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567

มช. เปิด 6 หลักสูตร “การเงินและการลงทุน” ออนไลน์ เจาะลึกเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เรียนฟรี พร้อมใบเซอร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต CMU School of Lifelong Education เปิด 6 หลักสูตรออนไลน์ เจาะลึกเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องรู้

มช. ชวนวิ่งไปพร้อมเจ้าสี่ขา กับ “หมอหมาพาวิ่ง ครั้งที่ 7” สมทบทุนเข้ากองทุนสงเคราะห์สัตว์ฯ ช่วยสัตว์ด้อยโอกาสให้มีชีวิตที่ดีขึ้น

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโครงการ “หมอหมาพาวิ่ง ครั้งที่ 7” (VET CMU RUN 2024) ร่วมระดมทุนเพื่อสมทบทุนเข้ากองทุนสงเคราะห์สัตว์ฯ

มช. ร่วมลงนามเดินหน้า “การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี” กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย 17 หน่วยงาน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายอีก 17 หน่วยงาน