'หมอยง' ชี้สายพันธุ์โควิดในไทยตั้งแต่ต้นปีเปลี่ยนแปลงชัดเจน!

05 มิ.ย.2567 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด19 สายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย” ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ไวรัสโควิด เกิดขึ้นมาโดยตลอดทำให้การพัฒนาวัคซีนให้ตรงกับสายพันธุ์เป็นไปได้ยากมาก วัคซีนในปัจจุบันพัฒนามาถึงสายพันธุ์ XBB1.15 แต่ขณะเดียวกันไวรัสก็พัฒนาหนีออกไปเป็นสายพันธุ์ JN.1 ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนทดลอง

องค์การอนามัยโลกและนำสายพันธุ์ใหม่ที่จะนำมาทำวัคซีน เป็นสายพันธุ์ JN.1 แต่ขณะนี้สายพันธุ์นี้ก็แตกลูกหลานออกมาเป็นสายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นอีกเช่น JN1.18 KP.2 KP.3

สายพันธุ์ KP.2 และ KP.3 เป็นสายพันธุ์ที่กำลังมาแรงจึงมีการตั้งชื่อสายพันธุ์นี้ว่า เฟีลท (F for L at position 456 and R for T at position 346) (FLiRT) ซึ่งคนรุ่นก่อนสมัยรุ่น 70- 80 (1970 -1980) จะเข้าใจศัพท์นี้ดี คำว่า เฟีลท หมายถึงสุภาพสตรีที่แสดงตัวยั่วยวน ด้วยการใส่เสื้อผ้ารัดรูป โชว์สวนสัด และกระโปรงสั้น ต่อมาศัพท์คำนี้ก็หายไป

สายพันธุ์ เฟีลท เป็นการตั้งชื่อเล่นของ KP.2 และKP.3 โดยเอามาจากการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งกรดอะมิโนบนหนามแหลม (F for L at position 456 and R for T at position 346) แล้วเติม i เข้าไปตรงกลางจึงได้ชื่อเล่นของสายพันธุ์ใหม่

สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่ต้นปีมามีการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์อย่างชัดเจน ที่ศูนย์เราติดตาม จะเห็นว่า JN.1 เริ่มลดลงและมีสายพันธุ์ลูกของ JN.1 เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ สายพันธุ์ เฟีลท ดังแสดงในรูป เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของสายพันธุ์ดังกล่าวมากขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันยิ่งลดประสิทธิภาพลง แต่อย่างไรก็ตามสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นความรุนแรงไม่ได้เพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่จะลดลง ตามธรรมชาติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!

อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม