ประกาศฉบับ 2 พายุโซนร้อน 'มาลิกซี' ไม่เข้าไทยโดยตรง แต่ทำให้ทั่วไทยมีฝนเพิ่มขึ้น

31 พ.ค.2567 - เมื่อเวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุ "มาลิกซี" ฉบับที่ 2 ระบุว่าเมื่อเวลา 13.00 น. ของวันนี้ (31 พ.ค. 67) พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “มาลิกซี” แล้ว และเมื่อเวลา 16.00 น. มีศูนย์กลางอยู่ห่างจากเมืองหยางเจียง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ประมาณ 120 กิโลเมตร หรือที่ละติจูด 20.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนืออย่างช้า ๆ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนในคืนวันนี้ (31 พ.ค. 67) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับในระยะต่อไป ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย

เพจเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่า พายุโซนร้อน "มาลิกซี(MALIKSI)" (หมายถึง “เร็ว” ตั้งชื่อโดยประเทศฟิลิปปินส์ เป็นพายุลูกที่ 2 ของการนับจำนวนพายุ RSMC Tokyo Japan) พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศจีนตอนใต้ในเช้าตรู่วันพรุ่งนี้ (1/6/67) พายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทย แต่จะทำให้มรสุมที่พัดปกคลุมมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ทั่วไทยมีฝนเพิ่มขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ อัปเดตพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ' เตือน 33 จังหวัด เจอฝนตกหนัก 60-70%

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 6 ระบุว่า เมื่อเวลา 17.00 น. ของวันนี้ (22 ก.ค. 67) พายุโซนร้อน “พระพิรุณ” บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 20.2 องศาเหนือ

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 5 อัปเดตเส้นทางพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ'

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 5 (145/2567) โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 36 จังหวัด รับมือท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ประกอบกับพายุโซนร้อน

กรมอุตุฯ ประกาศฉ.4 พายุพระพิรุณขึ้นฝั่งจีนตอนใต้ 21-23 ก.ค. ไม่ส่งผลกระทบไทย

พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ