30 พ.ค.2567 - กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป ว่ามรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะนี้
สำหรับบริเวณทะเลอันดามันบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง “เอวิเนียร์” ด้านตะวันออกของเกาะไต้หวัน ประเทศจีน มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 30–31 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ชัยภูมิ นครราชสีมา อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี นครปฐม และสมุทรสงคราม อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15–30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10–30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15–35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดตรังลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15–30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุตุฯ เตือนไทยตอนบนรับมือพายุฤดูร้อน ภาคใต้ฝนตกหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้
กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 8 รับมือพายุฤดูร้อน มีผลกระทบแล้ว เช็กจังหวัดเสี่ยงอันตราย
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2568) ฉบับที่ 8
ผวาอีก! กรมอุตุฯ แจ้งแผ่นดินไหวที่อ.ปาย กลางดึกเมื่อคืนที่ผ่านมา
แผ่นดินไหวขนาด 2.0 เกิดขึ้นที่อำเภอปาย แม่ฮ่องสอน เมื่อกลางดึก ทำให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน แต่ยังไม่มีรายงานความเสียหาย กรมอุตุฯ ยืนยันเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาดเล็กแต่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ต่อไป
พายุฤดูร้อนถล่มไทย! เตือนภัยฝนฟ้าคะนอง-ลูกเห็บตกหลายพื้นที่
กรมอุตุฯ เตือนทั่วไทยเผชิญพายุฤดูร้อนจากอากาศร้อนจัด และมวลอากาศเย็นจากจีน พยากรณ์ 24 ชั่วโมงข้างหน้า เสี่ยงพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกหลายจังหวัดเกษตรกร-ประชาชนโปรดระวังความเสียหาย พร้อมติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด
กรมอุตุฯ เตือนอากาศร้อนจัดทั่วไทย ภาคอีสาน-ตะวันออก เสี่ยงพายุฝนฟ้าคะนอง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า เผยทั่วประเทศเผชิญสภาพอากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดแตะ 40 องศาฯ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่
แผ่นดินไหวรุนแรงเขย่าเมียนมา เกิดอาฟเตอร์ช็อกแล้ว 9 ครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยารายงานเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.1 เมื่อเวลา 13.32 น. วันที่ 28 มีนาคม 2568 จุดศูนย์กลางอยู่ในประเทศเมียนมา แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ในหลายจังหวัดของไทย