23 พ.ค.2567 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2 เดือนก่อน เด็กชายชาวออสเตรเลียเดินทางกลับมาจากประเทศอินเดีย แล้วมีอาการป่วยหนัก รักษาตัวจนหาย หลังจากนั้นทางทีมแพทย์พบว่า สาเหตุจากการป่วยของเด็กชายรายนี้คือ น้องติดไข้หวัดนก H5N1 มาจากอินเดีย ซึ่งยังไม่มีข้อมูลว่าน้องไปติดเชื้อมาได้อย่างไร ยังไม่มีข้อมูลการสัมผัสสัตว์ปีก หรือ สัตว์ชนิดอื่น หรือ ไปสัมผัสผู้ป่วยรายอื่นมา สายพันธุ์ไวรัส H5N1 ในเด็กชายรายนี้ยังเป็นสายพันธุ์ท้องถิ่นที่พบในทวีปเอเชีย ซึ่งแตกต่างจากสายพันธุ์ที่ระบาดในฟาร์มวัวของสหรัฐอเมริกาตอนนี้
อินเดียมีข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของ H5N1 ออกมาน้อย ทำให้มองไม่ชัดว่าการติดเชื้อของเด็กชายรายนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก หรือ การสอบสวนอาการป่วยในอินเดียทำได้ไม่ไวหรือดีเท่าออสเตรเลีย ประสบการณ์จากโควิดในอินเดีย ทำให้หลายคนเริ่มกังวลกับการเฝ้าระวังของโรคที่ไม่ดีพอในประชากรขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
...โชคดีที่ไวรัสตอนนี้ยังติดจากคนสู่คนไม่ดี เหมือนโควิด การแพร่กระจายจึงไม่เป็นวงกว้าง ความกังวลทั่วโลกตอนนี้คือ ไวรัสมาเยอะในหลายประเทศและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจได้สายพันธุ์ที่แพร่ได้ดีมาในที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวร้าย! ดร.อนันต์เผยโมเดอร์นาต้องระงับการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อ RSV ในเด็กเล็ก
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ข่าวดี! ดร.อนันต์เผยงานวิจัยฝรั่งค้นพบกลไกสำคัญของโยโย่เอฟเฟกต์
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
คู่มือฉบับเร่งด่วนที่เจ้าของควรรู้ 'ไข้หวัดนก' ในแมว-สุนัข
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "31 รัฐในสหรัฐ เผชิญไข้หวัดนกในแมวและสุนัข
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า