นายกฯ ประชุมบอร์ด กพช. ย้ำทุกฝ่ายเตรียมความพร้อมด้านพลังงานของประเทศให้เพียงพอ เน้นส่งเสริมใช้พลังงานหมุนเวียน สร้างความรู้ความเข้าใจการขับเคลื่อนพลังงานของประเทศกับปชช. เพื่อร่วมกันพลิกโฉมประเทศไทยทุกมิติ
6 ม.ค.2565 - เวลา 09.30 น. ที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุม
ภายหลังการประชุม นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีกล่าวในที่ประชุมเน้นให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันหาแนวทางเตรียมความพร้อมด้านพลังงานของประเทศไทยให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ประเทศไทยขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า ซึ่งส่งผลให้ราคาไฟฟ้าแพง และทำให้เกิดไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับในบางพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะการสนับสนุนส่งเสริมนำพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ มาใช้ ทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม น้ำ และพลังงานชีวมวลหรือพลังงานสะอาด เป็นต้น โดยคำนึงถึงประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย จะนำไปสู่การป้องกันไม่ให้ประเทศเกิดวิกฤตด้านพลังงาน โดยในปี 2565 ต้องดำเนินการให้มีความก้าวหน้าชัดเจน เกิดผลเป็นรูปธรรมให้มากขึ้น และขยายการดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไป เพื่อร่วมกันพลิกโฉมประเทศไทยทุกมิติ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยเฉพาะการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ พร้อมแนะให้พิจารณาแยกกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าให้ชัดเจน ทั้งกลุ่มโรงงาน เครื่องจักร เกษตรกร สาธารณูปโภคพื้นฐาน กลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีที่ใช้พลังงานมาก ฯลฯ เพื่อกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าให้เป็นไปอย่างเหมาะสม เป็นธรรมกับทุกกลุ่ม และประชาชนแต่ละกลุ่มได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวมทั้งสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือจากภาครัฐตามมาตรการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
นายธนกร กล่าวว่า พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้มีการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการขับเคลื่อนพลังงานของประเทศให้ประชาชนรับทราบ เพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่กำหนดและเตรียมความพร้อมในทุกมิติ พร้อมย้ำให้ดำเนินการแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ. 2565 – 2574 รวมถึงโครงการอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูปประเทศและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลเรื่องการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก อันจะส่งผลให้เกิดไฟฟ้าดับหรือไฟฟ้าตกได้ จึงต้องดูแลไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ไฟฟ้าในภาพรวมของประชาชนและประเทศ รวมไปถึงการแสวงหาความร่วมมือด้านพลังงานกับต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้การกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน และถูกต้องตามกฎหมายที่มีอยู่ เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
นายธนกร กล่าวว่า สำหรับมติที่ประชุม กพช. ในประเด็นสำคัญ อาทิ 1. เห็นชอบการจัดสรรผลประโยชน์บัญชี Take or Pay แหล่งก๊าซธรรมชาติเมียนมา โดยให้นําเงินผลประโยชน์ของบัญชี Take or Pay ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 จํานวน 13,594 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการคืนภาครัฐทั้งหมดไปช่วยอุดหนุนค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยนําส่งเงินและลดราคาค่าก๊าซธรรมชาติให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อลดค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการดังกล่าว
2. เห็นชอบหลักเกณฑ์ราคานำเข้า LNG (LNG Benchmark) สำหรับกลุ่มที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (Regulated Market) สำหรับสัญญาระยะยาวและ/หรือสัญญาระยะกลาง ได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1) สมการในรูปแบบเส้นตรงที่อ้างอิงราคาน้ำมัน (Oil linked linear formula) 2) สมการในรูปแบบเส้นตรงที่อ้างอิงราคาก๊าซธรรมชาติ (Gas linked linear formula) และ 3) สมการในรูปแบบ Hybrid ซึ่งอ้างอิงทั้งราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และมีจุดหักมุม (Hybrid oil gas linked formula with a kink point) โดยจะนำเสนอ กพช. เพื่อพิจารณาต่อไป และมอบหมายให้ กกพ. เป็นผู้กำกับดูแลและพิจารณาในรายละเอียดของหลักเกณฑ์ราคา LNG Benchmark สำหรับกลุ่ม Regulated Market ต่อไป
3. เห็นชอบโครงการนำร่องการตอบสนองด้านโหลดปี 2565-2566 50 เมกะวัตต์ ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กกพ. กฟผ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนำร่องการตอบสนองด้านโหลดให้เป็นไปตามเป้าหมายเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมขยายผลตามแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ. 2565 - 2574 ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการใช้งานการตอบสนองด้านโหลดในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า และสามารถนำการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response: DR) มาทดแทนโรงไฟฟ้าในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ตามแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดในประเทศไทย ในระยะปานกลาง ปี 2565 – 2574 รวมถึงรองรับพลังงงานหมุนเวียนตามเป้าหมายแผนพลังงานชาติ
นายธนกร กล่าวว่า ที่ประชุมยังรับทราบแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ. 2565 - 2574 โดยกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ของแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และการจัดการทรัพยากรในระบบจำหน่าย ไฟฟ้าที่จำเป็น รองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้ายุคใหม่ อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม โดยให้มีความสอดคล้องกับแผนแม่บทฯ และสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทยเป็นรูปธรรม มีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน และเกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ และจะได้ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้า อัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทุ่ม2.5พันล้าน ฟื้นฟูเกษตรกร แอ่วเหนือไม่ปัง
ครม.อนุมัติ 2.5 พันล้าน ฟื้นฟูเกษตรกรหลังน้ำลด ขณะที่ ศปช.แจ้งเขื่อนเจ้าพระยาน้ำลดต่อเนื่อง คาดสู่ภาวะปกติสัปดาห์หน้า
‘เวชระเบียน’หลอนทักษิณ โยนรพ.ตำรวจมอบให้ปปช.
นายกฯ พยักหน้ารับปม "ป.ป.ช." ทวงถามเวชระเบียนรักษาตัว
'หมอวรงค์' จับโป๊ะ! ยิ่งฟังรัฐบาลแจง ยิ่งต้องรีบยกเลิก 'MOU 44'
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ยิ่งฟังคำชี้แจงต้องยิ่งยกเลิก MOU 44
'อิ๊งค์' แค่พยักหน้า ปม รพ.ตร. ไม่ยอมส่งเวชระเบียน 'พ่อนายกฯ' ให้ ป.ป.ช.
'นายกฯอิ๊งค์' ปฏิเสธตอบคำถาม ปม รพ.ตำรวจ ไม่ส่งเวชระเบียนรักษาตัว 'ทักษิณ' หลัง ‘ป.ป.ช.’ ทวงแล้ว 3 ครั้ง ทำแค่พยักหน้ารับทราบ
'นายกฯอิ๊งค์' ถกหัวหน้าส่วนราชการ ลุยลงทุน 9.6 แสนล้าน กระตุ้นจีดีพีประเทศ
นายกฯ ถกหัวหน้าส่วนราชการฯ กำชับผลักดันเม็ดเงินลงทุน 9.6 แสนล้าน สู่ระบบเศรษฐกิจ กระตุ้น ‘จีดีพี’ ประเทศ
เอ็มโอยู44-เอื้อนายทุน จุดจบรัฐบาลไม่ครบเทอม
หากอ้างอิงข้อมูลจากนิด้าโพลเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา หัวข้อ รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ อยู่ครบเทอมหรือไม่ โดยประชาชนมากกว่า 57.71% มองว่าอยู่ไม่ครบเทอม ประกอบด้วยสัดส่วนร้อยละ