22 พ.ค. 2567 - จากกรณีเหตุการณ์สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ ขอลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากมีผู้โดยสารบาดเจ็บหลายราย และมีเสียชีวิต จากเครื่องบินตกหลุมอากาศ
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า
โลกร้อนขึ้น โอกาสที่เครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น..เพราะอะไ?
1.เครื่องบินที่บินในบริเวณซีกโลกตะวันตกหรือบินจากโลกตะวันตกมายังซึกโลกตะวันออกมีโอกาสที่จะตกหลุมออากาศบ่อยขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้นทำให้ลมกรดหรือJet stream ซึ่งเป็นลมที่ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการบินแปรปรวน
2. Jet Streams หรือลมกรดเป็นกระแสลมที่ไหลเวียนในระดับความสูงประมาณ7.0 ถึง16กม.เหนือจากพื้นโลกมีความเร็วสูงมากถึง 200-400 กม./ชม.เป็นลมที่พัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกของโลก ดังนั้นถ้าเครื่องบินบินจากซึกตะวันตกมาทางซีกตะวันออกก็ควรวางแผนการบินให้บินตามกระแสของ Jet streamจะทำให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นช่วยประ หยัดพลังงานและลดเวลาในการบินสั้นลง แต่หากจะบินจากตะวันออกมาทางตะวันตกก็ควรบินหลบJet streamให้มากที่สุดเพราะจะสวนกระแสลมทำให้ใช้เวลาการบินมากขึ้น
3.อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้นเนื่องจากโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นทำให้ลมกรดหรือ Jet streamลดความ เร็วลงในบางช่วง มีงานวิจัยระบุว่าอุณหภูมิในบรรยากาศที่สูงขึ้นในแถบทวีปอาร์กติกซึ่งร้อนขึ้นเกือบสี่เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลกกำลังส่งผลให้กระแสลมกรด (jet stream) ซึ่งเป็นลมที่มีกำลังแรงพัดอยู่บนชั้นบรรยา กาศในบางช่วงมีความเร็วลดลงทำให้เกิดอากาศแปรปรวน(Clear Air Turbulance) มากขึ้น(ทั้งที่ไม่ได้บินผ่านเมฆหรือพายุ)
เนื่องจากช่วงที่ความเร็วของลมกรดลดลงจะทำให้ความหนาแน่นของมวลอากาศในบริเวณดังกล่าวบางลงซึ่งทำให้เกิด"หลุมอากาศ"ขึ้น ในขณะที่เครื่องบินได้บินผ่านหลุมอากาศ แรงยกจากปีกของเครื่องบินจะลดลงอย่างกระทันหันทำให้ตัวเครื่องตกลงไปในหลุมอากาศ ซึ่งจะตกมากหรือน้อยอยู่ที่ขนาดของความหนาแน่นของมวลอากาศ
4.นักวิจัยชี้ว่าอัตราการเกิดหลุมอากาศจะเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าภายในปี2050และอาจมีเครื่องบินต้องเผชิญกับหลุมอากาศที่รุน แรงมากขึ้นถึง40%
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' ชี้สัญญาณเตือนโลกกำลังจะเปลี่ยนไป จากอุณหภูมิสูงขึ้น หายนะจะตามมา
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
ดร.ธรณ์ ชี้โลกร้อนฆ่าพะยูน ตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว แนะไทยควรพูดใน COP29
ในอดีตพะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 1 ตัว ปัจจุบัน (2566-67) พะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว
นักวิชาการ ชี้ ‘เมฆระเบิด’ ต้นเหตุฝนกระหน่ำหนัก เกิดบ่อยที่ไทยทุกฤดูฝน
นักวิาการ อธิบายเมฆระเบิด(Cloudburst) ทำให้เกิดฝนกระ หน่ำ(RainBomb)หนัก จะเกิดขึ้นบ่อยที่ประเทศไทยในทุกฤดูฝน
'ดร.ธรณ์' ชี้มหาพายุเฮอริเคน 'มินตัน' สภาพอากาศสุดขั้ว คนอเมริกานับล้านต้องอพยพหนี
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์
เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม
‘ดร.สนธิ’ ผู้เชี่ยวชาญสิ่งแวดล้อม เปิด 3 สาเหตุสำคัญน้ำท่วมเชียงใหม่
น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่สาเหตุสำคัญคือฝนตกหนักบนดอยที่ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นเกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว...