6 พ.ค.2567-ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า น้ำทะเลไทยร้อนที่สุดตั้งแต่เคยตรวจวัดมา และหายนะปะการังฟอกขาวเพิ่งเริ่มต้น เราอาจเจอระดับรุนแรงสุดๆ
เป็นข้อมูลของ NOAA สถาบันหลักของโลกในด้านนี้ ผมขออธิบายเพิ่มเติมครับ ภาพบนคือกราฟอุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเล เราตรวจวัดโดยใช้ดาวเทียม ย้อนไปได้ตั้งแต่ปี 1985 อันเป็นจุดเริ่มที่เราใช้ดาวเทียมวัดอุณหภูมิน้ำเป็นครั้งแรก เส้นสีดำคือกราฟของปีนี้ 2024 จะเห็นว่าอุณหภูมิน้ำในช่วงนี้อยู่เหนือทุกเส้น ทำลายสถิติในรอบ 40 ปี (และอาจเป็นตลอดกาลแต่ก่อนหน้านั้นเราวัดไม่ได้) สอดคล้องกับข้อมูลน้ำจากสถานีโทรมาตรของคณะประมงที่เพิ่งนำมาให้เพื่อนธรณ์ดู ยังสอดคล้องกับข้อมูลจากหลายหน่วยที่รายงานกันเข้ามา
น้ำทะเลช่วงนี้ร้อนสุดๆ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยน้ำทะเล 40 ปี (ดูดีๆ จะเห็น + สีม่วง) จะเห็นว่าน้ำร้อนจัดต่อเนื่อง 2 เดือน คือเมษายนและพฤษภาคม ก่อนจะเย็นลงนิดเมื่อถึงเดือนมิถุนายน เพราะเข้าหน้าฝนแล้ว หมายความว่าน้ำทะเลที่ร้อนจัดจนทำลายสถิติ อาจอยู่กับเราไปอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ แน่นอนว่าส่งผลกับปะการัง
คราวนี้มาดูภาพล่าง เป็นแผนที่มีสีต่างๆ นั่นคือระดับการฟอกขาวของปะการัง เริ่มจากมุมซ้ายบน เป็นสถานการณ์ปัจจุบัน สีส้มคือ warning (เฝ้าระวัง) สีแดงคือ Alert L1 (ฟอกขาว) ข้อมูลค่อนข้างตรงกับรายงานจากฝ่ายต่างๆ ปะการังตามชายฝั่งเริ่มฟอกแล้ว ปะการังเกาะห่างฝั่งยังอยู่ระดับสีซีด สังเกตภาพเกจวัด หากดูสถานการณ์รวม ตอนนี้เราอยู่ในระดับ Alert 1 หรือฟอกขาว เขยิบไปภาพมุมขวาบน (week 1-4 ต่อจากนี้) สีส้มหายไปเกือบหมด กลายเป็นสีแดง (ฟอกขาว) และสีแดงเข้ม (ฟอกขาวรุนแรง) หมายความว่าเราจะเจอปะการังฟอกขาวหนักขึ้นตลอดเดือนพฤษภาคม ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ฝนอาจบรรเทาได้บ้าง แต่ก็ต้องลุ้นว่าได้แค่ไหน เพราะหากน้ำยังร้อนต่อเนื่อง ฝนก็แค่ช่วยนิดหน่อย เกจวัดเด้งไปอยู่ Alert 2 แล้วครับ
คราวนี้มาดูภาพมุมซ้ายล่าง 4-8 อาทิตย์ต่อจากนี้ คิดง่ายๆ ประมาณเดือนมิถุนายน แม้อุณหภูมิน้ำเริ่มลดลงนิดหน่อย แต่ปะการังที่แช่น้ำร้อนมาตลอดเมษา-พฤษภา อ่อนแอมากจนยังเกิดการฟอกขาวต่อเนื่อง เดือนมิถุนายนอาจเป็นเดือนที่เราเห็นปะการังขาวโพลนทั่วทะเลไทย แม้เข้าหน้าฝน แต่ก็อาจสายไปแล้ว เกจวัดยังคงอยู่สเกลสูงสุด Alert 2
ภาพสุดท้าย มุมขวาล่าง 9-12 อาทิตย์ต่อจากนี้ ประมาณกรกฎาคม การฟอกขาวเริ่มสิ้นสุด เราจะรู้ได้ว่าปะการังตายหรือรอดแค่ไหน ถ้าดูจากสถานการณ์ทั้งหมด หนนี้คงเป็นการฟอกขาวครั้งใหญ่ และอาจคล้ายกับปี 2553 ซึ่งเป็นการฟอกขาวครั้งใหญ่สุดของไทย (ฟอกทั้งอ่าวไทยและอันดามัน) จึงอยากบอกเพื่อนธรณ์ว่า ที่ผ่านมาเป็นแค่เผาหลอก ทะเลเดือดระดับเผาจริงจะเริ่มนับจากนี้เป็นต้นไป ปะการังจะฟอกขาวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงปลายมิถุนายน เป็นเรื่องที่น่าหดหู่อย่างยิ่ง แต่ก็ต้องพยายามต่อไป ช่วงนี้ผมออกทะเลทุกอาทิตย์ครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.ธรณ์ ชี้โลกร้อนฆ่าพะยูน ตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว แนะไทยควรพูดใน COP29
ในอดีตพะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 1 ตัว ปัจจุบัน (2566-67) พะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว
โลกร้อนส่งผล ยอดฟูจิ ไม่มีหิมะ ดร.ธรณ์ ชี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล โพสต์ว่า มาถึงวันนี้ ฟูจิซังก็ยังไม่มีหิมะ ไม่ใช่แค่ครั้งแรกในรอบ 130 ปี ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำ
ดร.ธรณ์ แจ้งพายุ ‘จ่ามี’ อีสานล่างโดนแล้ว ‘อุบลฯ’ มาแต่เช้า เคลื่อนเข้า ‘โคราช-ขอนแก่น’
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม
'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์
เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม
'ดร.ธรณ์' ดึงสติ ไม่ต้องตื่นตระหนกพายุลูกใหญ่ถล่ม หากมาจริงจะแจ้งล่วงหน้า
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
อากาศแปรปรวน! ดร.เสรี เตือน 23-24 ก.ย. ‘เหนือ-อีสานบน’ ฝนหนัก 26 ก.ย. เริ่มร้อน
สภาพอากาศแปรปรวนโดยจะมีมวลอากาศเย็นจากแผ่นดินใหญ่มาปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 23-24 กันยายนนี้