4 พ.ค.2567 - รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า #พายุฤดูร้อนภัยอันตรายมากในภาวะโลกเดือด มาไขคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญ IPCC ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประธานกรรมการบริหาร Futuretales LAB, MQDC
รายงานฉบับที่ 6 จากการประเมินโดยคณะทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC-AR6) พบว่าในภาวะโลกเดือด จะก่อให้เกิดพายุฤดูร้อนถี่ขึ้น และความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่แถบโซนร้อน รวมประเทศไทย เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของพลังงานสะสมของการยกตัวของอากาศร้อน (CAPE : Convective Available Potential Energy) ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆรายชั่วโมง จะมีทั้งลม ฝน ลูกเห็บ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง หรือฟ้าผ่าตามมา
โดยจากนี้ต่อไปก่อนเข้าฤดูฝน จะต้องเฝ้าระวังพายุฤดูร้อน เพราะมีอันตรายถึงชีวิต ต้องหาที่หลบกำบังในที่ร่มที่แข็งแรง ผมได้แนบตัวอย่างการคาดการดรรชนี CAPE ของวันอาทิตย์ที่ 5 พค. เวลา 07.00 น. บริเวณพื้นที่สีแดงจะมีการยกตัวของเมฆมาก (CAPE > 2,500 J/Kg) บ่งชี้สภาวะแวดล้อมที่มีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อน
นอกจากนี้ IPCC ยังพบว่า โลกจะยังคงมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างไม่มีขีดจำกัด โดยผมได้ทำการย่อส่วน (Downscaling) มายังประเทศไทยพบว่าหลายพื้นที่ในเฉดสีส้ม จะมีจำนวนวันที่มีอุณหภูมิ > 35oC ประกอบกับดรรชนีความร้อน (Heat index) จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ท่านสามารถดูได้ว่าอนาคตพื้นที่ใดมีโอกาสที่จะเผชิญภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมากที่สุด (คลื่นความร้อน ภัยแล้ง น้ำท่วม) และเราควรจะไปอยู่จังหวัดใด ? ตัวอย่างที่ชัเเจน พื้นที่ กทม. จะมีจำนวนวันที่ร้อนสุดเพิ่มขึ้นจาก 17 วันต่อปี เป็นประมาณ 80 วันต่อปี กล่าวคือตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม จึงไม่แปลกใจว่าคนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นหลบร้อนกันมากขึ้นในช่วงนี้ ดังนั้น ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะรัฐบาล ต้องกำหนด Road map ที่เป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับมาตรการ Adaptation ไม่เช่นนั้น ลูกหลานไทยจะอยู่ประเทศไทยอย่างไม่มีความสุข และที่สำคัญเป็นภัยต่อความมั่นคงทางอาหาร !!!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อย่าประมาท! ดร.ปลอดฯ แนะโลกร้อน อุทกภัยมีแต่รุนแรงขึ้น ไทยต้องคิดแบบมีองค์ความรู้
เราอยู่ในยุคโลกร้อน และก็อาจจะอยู่ไปเป็นเวลาร้อยๆปีก็ได้ สิ่งที่จะ เกิดกับประเทศไทยและคนไทยจะมีแต่มากยิ่งขึ้น รุนแรงขึ้น
'ดร.ธรณ์' ชี้อากาศแปรปรวนหนัก ภาคใต้ไม่มีพายุ แต่ปริมาณน้ำฝนเทียบเท่า 'ไต้ฝุ่น'
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โ
ดร.ธรณ์ ชี้โลกร้อนฆ่าพะยูน ตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว แนะไทยควรพูดใน COP29
ในอดีตพะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 1 ตัว ปัจจุบัน (2566-67) พะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว
'อ.เสรี ศุภราทิตย์' จับตาพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกจะเกิดขึ้นอีก 6 ลูก บางลูกกระทบภาคใต้
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ภาพกราฟิกพร้อมข้อความทางเฟซบุ๊กระบุว่า "พายุจ่ามี" ส่งอิทธิพลไม่มากต่อประเทศไทยแต่ควรไม่ประมาทเพราะความชื้นในทะเลมีสูง
'ดร.ธรณ์' ชี้มหาพายุเฮอริเคน 'มินตัน' สภาพอากาศสุดขั้ว คนอเมริกานับล้านต้องอพยพหนี
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์
เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม