โฆษกเกษตรฯ เผยโค้งสุดท้ายฤดูแล้ง กรมชลฯ จัดสรรน้ำเตรียมพร้อมรับมือฝน ช่วยเหลือประชาชน
01 พ.ค.2567 – น.ส.อัยรินทร์ พันธุ์ฤทธิ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยถึงการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง ก่อนจะก้าวเข้าสู่การเตรียมพร้อมรับมือฤดูฝน ซึ่งเหลือเวลาอีกประมาณ 1 สัปดาห์ ว่าสภาวะเอลนีโญในประเทศไทยเริ่มอ่อนกำลังลง และมีโอกาสจะเปลี่ยนไปสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือน มิ.ย.-ส.ค.นี้ ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 กรมชลประทานได้ดำเนินการตาม 9 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 อย่างเคร่งครัด พร้อมติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
โฆษกกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า สถานการณ์น้ำปัจจุบัน อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 42,824 ล้าน ลบ.ม. (56% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 18,884 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 33,513 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 11,602 ล้าน ลบ.ม. (47% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 4,906 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.66 จนถึงขณะนี้ มีการจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 ทั้งประเทศไปแล้วกว่า 23,023 ล้าน ลบ.ม. (92% ของแผน) เฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 8,288 ล้าน ลบ.ม. (95% ของแผน)
“ในส่วนของสถานการณ์การเพาะปลูกพืชฤดูแล้งทั้งประเทศมีการทำนาปรัง 9.19 ล้านไร่ มีการเก็บเกี่ยวแล้ว 5.99 ล้านไร่ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการเพาะปลูกข้าวนาปรัง 5.68 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 4.78 ล้านไร่ ทั้งนี้ กรมชลประทาน พร้อมปฏิบัติตามแผนมาตรการดังกล่าว ตามนโยบายรัฐบาล และ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่กำกับดูแลอย่างเคร่งครัด เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของประชาชนอีกด้วย”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เดินตามแนวพระราชดำริ...ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมชุมพร
ในช่วงวันที่ 13-15 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงได้พัดปก คลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคใต้ตอนล่างเคลื่อนลงสู่ทะเลอัน
จับตาการพัฒนาลุ่มน้ำสงคราม “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของภาคอีสานตอนบน
ลุ่มน้ำสงคราม สาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี มีพื้นที่ประมาณ 12,700 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.94 ล้านไร่
รมว.เกษตรฯ สั่งรวบรวมข้อมูลเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย 67 เตรียมพัฒนาส่งเสริมอาชีพ-ลดภาระหนี้สิน
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) กล่าวถึงความคืบหน้าภารกิจโครงการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2567 โดยเร่งสำรวจความเสียหายและรวบรวมข้อมูลเกษตรกร ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงวันที่ 14 ก.ค. 67 – 31 ต.ค. 67 รวม 59 จังหวัด
ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย
ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน
เอาแล้ว! เขื่อนเจ้าพระยากลับมาเพิ่มการระบายน้ำอีกระลอก
เขื่อนเจ้าพระยากลับมาเพิ่มระบายน้ำขึ้นอีกรอบ หลังฝนตกทำให้แม่น้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำสะแกกรัง เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ตอนบนของประเทศ ฝนลดลง ชป.เดินหน้าเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน สำรองไว้ใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด
เมื่อวันนี้ 15 ต.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน ถนนสามเสน ผศ.ดร.สิตางศ์ พิสัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา