'รังสิมันต์'แนะ 3แนวทางแก้ปัญหาเมียนมา!

กมธ.ความมั่นคงเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องถกสถานการณ์เมียนมา 'โรม' ชี้ปัญหาในเมียนมาก็เป็นปัญหาของไทย เหตุคนหนีอพยพข้ามแดน ลั่นไทยอยู่ในฐานะที่น่าไว้วางใจที่สุด ควรเป็นตัวกลางในการเจรจา

25 เม.ย.2567 - ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ , เลขา สมช. , ผบ.ทสส , ผบ.ทบ.และตัวแทนภาคประชาสังคม เข้าร่วมประชุมในประเด็นปัญหาผลกระทบจากการสู้รบในเมียนมา (เมียวดี) ว่า จะมีการสอบถามความคืบหน้าของการแก้ปัญหา เนื่องจากหน่วยงานทั้งหมดที่เชิญมาเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการหามาตรการรองรับ ในกรณีที่มีผู้หนีภัยสู้รบข้ามมาฝั่งไทย การเตรียมรับมือปัญหาความขัดแย้งที่อาจจะลุกลามบานปลาย และสอบถามว่าประเทศไทยมีบทบาทอย่างไรที่จะเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเมียนมาหรือไม่ รวมไปถึงการพูดคุยกันว่าในอนาคตจะมีหนทางไหนที่ประเทศไทยอาจจะเป็นตัวกลางที่สำคัญในการนำมาซึ่งสันติภาพในเมียนมาได้ นี่จะต้องเป็นสิ่งที่ต้องคิดอีกยาวไกล

“กมธ.ทำเรื่องเมียนมามานานพอสมควร เราไม่ได้พึ่งมาประชุมในวันนี้ เรามีการพูดคุยกันมาตั้งแต่การเชิญกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในเมียนมามาร่วมสัมมนาพูดคุยกันด้วยซ้ำ เพื่อให้เกิดมุมมองที่มากไปกว่าที่กระทรวงการต่างประเทศพูดคุยกับทางการทูตและรัฐบาลทหารของเมียนมาเท่านั้น ซึ่งนี่เป็นประโยชน์ที่เราสามารถต่อยอดมาเรื่อยๆ จนถึงวันนี้”นายรังสิมันต์ กล่าว

นายรังสิมันต์กล่าวต่อว่า เราก็คงจะรับฟังอย่างรอบด้านและมีความเห็นต่อไปว่าหากเราต้องการจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ประเทศไทยต้องวางตัวอย่างไร เบื้องต้นเราใช้นโยบายทางการทูตมาโดยตลอด แต่วันนี้ไม่ว่าจะเป็นกรณีของแรงงาน หรือผู้หนีภัยการสู้รบบ รวมถึงผู้หนีภัยทางเศรษฐกิจที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย จะมีหนทางแก้ไขอย่างไร ซึ่งหากมองตัวเลขที่หนีเข้าประเทศไทยอาจจะถึงหลักล้านคน ประเทศไทยจะมีการรองรับอย่างไร ปัญหาที่เกิดขึ้นแม้จะเกิดขึ้นในเมียนมา แต่ก็เป็นปัญหาของประเทศไทยด้วย ยิ่งมีการผสมรวมของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ทุนจีนสีเทา หรือสแกมเมอร์ทั้งหลาย ยิ่งเป็นปัญหาของประเทศไทยที่ประเทศไทยต้องเร่งจัดการ

นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ไทยควรจะต้องแบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1.สิ่งที่ประเทศไทยสามารถทำได้ทันที คือเรื่องของการสนับสนุน ด้านสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่หนีภัยการสู้รบข้ามมาที่เราต้องช่วย ขณะเดียวกันระหว่างการช่วยเราก็คงจำเป็นที่จะต้องมีการ เก็บข้อมูลกลุ่มบุคคลต่างๆที่เข้ามา เพื่อให้มั่นใจว่าเราสามารถจำแนกได้ว่า ใครคือจีนเทา ใครคือเหยื่อจากการสู้รบจริงๆ รวมไปถึงการทำให้ชายแดนมีความมั่นคงปลอดภัย เพราะสิ่งที่อาจจะตามมาคืออาจจะมีการแอบแฝงในด้านอื่น ถ้าเราไม่มีการจัดการเรื่องความมั่นคงปลอดภัย ระยะที่ 2.ไทยต้องพูดคุยกับทุกฝ่าย เพื่อปูทางไปสู่ระยะที่ 3.ที่เราเรียกว่าประชาธิปไตยในเมียนมา ว่าจะเอาอย่างไร และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำได้ในระยะ2 คือการปราบปรามยาเสพติดชายแดน และในระยะที่ 3.เป็นระยะที่ต้องพูดคุยกัน อาจจะใช้ระยะเวลานานพอสมควรเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยในเมียนมา เพื่อให้เกิดความมั่นคง และเป็นประชาธิปไตยสูงสุดในประเทศเมียนมา
เมื่อถามว่า ทางการไทยจะพูดคุยอย่างไรเพื่อไม่ให้ดูเป็นการแทรกแซง ประเทศเมียนมา นายรังสิมันต์กล่าวว่า จากที่ได้กล่าวไปบทบาทต่างๆก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรอยู่แล้ว และคงจะอยู่ในกรอบ ที่อาเซียนเคยมีมติ ฉะนั้นการเดินแบบนี้สามารถทำได้และเป็นบทบาทที่ประเทศไทยต้องทำ ถ้าเราต้องการให้วิกฤตในประเทศเมียนมายุติลง และต้องบอกว่าบทบาทของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นการใช้พรมแดนร่วมกันระหว่างไทยกับเมียนมา บทบาทในการสนับสนุนด้านเศรษฐกิจก็เชื่อว่าประเทศไทยยังคงอยู่ในฐานะที่น่าไว้วางใจมากกว่าคนอื่นในการที่จะเป็นตัวกลางในการเจรจาจนเชื่อว่าประเทศไทยสามารถทำได้โดยที่ไม่ได้ละเมิดกฎเกณฑ์กติกาสากลทั้งสิ้นเราไม่ได้ส่งกองกำลังไปเราเองใช้วิธีการพูดคุยและวิธีการในการป้องกัน ที่เรียกว่าเคารพหลักสิทธิมนุษยชนด้วย นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญกับธุรกิจของประเทศไทยที่เกี่ยวพันกับทางเมียนมา ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่นอาจจะเอารายได้ดังกล่าวไปซื้ออาวุธ รวมถึงการเกี่ยวข้องกับสแกมเมอร์ คอลเซ็นเตอร์ ซึ่งมีธุรกิจที่น่าสงสัยอย่างธุรกิจไฟฟ้า ธุรกิจน้ำมัน ที่อาจเข้าไปเกี่ยวข้อง

“ผมได้พูดเรื่องนี้ตั้งแต่ มีการอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 152 แล้ว และบอกรัฐบาลว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และควรเป็นวาระแห่งชาติ ไม่ใช่เกี่ยวข้องกับสแกมเมอร์หรือคอลเซนเตอร์เท่านั้น แต่ยังมีความเกี่ยวพันกันหลากหลาย ซึ่งเรื่องนี้จะต้องพูดคุยกับหลายฝ่ายทั้งประเทศไทยประเทศลาวและประเทศจีน ในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลและทำลายโครงสร้างเครือข่ายเหล่านี้”นายรังสิมันต์ กล่าว

นายรังสิมันต์ กล่าวด้วยว่า สนับสนุนบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศและประเทศไทยในการที่จะดำเนินการ หาวิธีการที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเมียนมา แต่นอกจากการมองไปถึงกลไกที่เกี่ยวกับการพูดคุยเจรจา เราต้องทำอย่างไรที่จะทำให้ประเทศไทย ไม่ไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเพื่อนมนุษย์ ที่อยู่ในฝั่งตรงข้ามแม่สอดด้วย นี่คือสิ่งที่เป็นห่วง รวมไปถึงบทบาทของประเทศไทยที่อาจจะเกี่ยวข้องในลักษณะของการสนับสนุนสิ่งผิดกฎหมายตามแนวชายแดน ซึ่งเรื่องนี้ไม่จำเป็นจะต้องพูดถึงกลไกระหว่างประเทศ แต่อยู่ที่ตัวเราที่เราสามารถดำเนินการได้ จึงอยากให้รัฐบาลใช้กลไกต่างๆระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และสื่อสารออกมาเป็นระยะๆว่าประเทศไทยได้ดำเนินการอย่างไรไปแล้วบ้าง เพื่อให้สังคมได้เห็นว่าประเทศไทยมีวิธีการดำเนินการกับสถานการณ์ปัจจุบัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'โรม' จองกฐิน 'อนุทิน' ปมกลุ่มว้าแดงผลิตยาเสพติดใช้ไฟฟ้าจากไหน

'โรม' ฉะ 'กลุ่มว้า' ต้นตอแหล่งผลิตยาเสพติดในไทย ปูดมีบริษัทส่งไฟฟ้าไปขาย ลั่นยาพันล้านเม็ด เอาไฟไหนมาใช้ เตรียมตั้งกระทู้ 'อนุทิน' ทันที เปิดสมัย 12 ธ.ค.นี้

'ชาวประมง' บุกสภาฯ ร้องกมธ.มั่นคง เรือรบเมียนมายิง 'โรม' จ่อเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจง

'ชาวประมง' เข้าสภาฯ ร้อง กมธ.มั่นคง ปม เรือรบเมียนมายิง เรือประมงไทย ด้าน 'โรม' รับลูก จ่อเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง 13 ธ.ค. นี้ ชี้เป็นกระทำที่เกินกว่าเหตุ มอง ท่าทีรัฐบาลเบาไปเมื่อเทียบกับความร้ายแรงที่เกิดขึ้น

'รังสิมันต์' สบช่องโหนแดนกิมจิบอกไทยถ้าประกาศกฎอัยการศึกควรขอสภาก่อน!

'โรม' บอกเรื่องเกาหลีใต้ประกาศกฎอัยการศึก เป็นเรื่องภายในประเทศ มองเทียบไทยถ้าประกาศควรขอความเห็นสภา ชี้หลักการสำคัญทั่วโลก ทหารต้องอยู่ใต้พลเรือน

'โรม' สุดต้าน 'พท.' แก้เกมดึงเช็งถกลับปมชั้น​ 14 ไร้เงา 'ทักษิณ' ลงรับหนังสือ​แต่ไม่ตอบกลับ​

'โรม' สุดต้าน 'เพื่อไทย' แก้เกม​ ดึงเช็งถกลับปมชั้น​ 14 บอกให้หารือ​ขอบเขตอำนาจหน้าที่​ กมธ.ก่อน​ หลัง 'กรมราชทัณฑ์' ติงไร้อำนาจสอบ​ หวั่น​ ผิดจริยธรรมยกคณะ​ ทำ 'ทวี' ต้องนั่งรอไปก่อน ขณะที่ไร้เงา 'ทักษิณ' ลงรับหนังสือ​แต่ไม่ตอบกลับ​