‘ดร.ธรณ์’ ชี้ธรรมชาติรับไม่ไหวแล้ว แจ้งเตือนรับมือฝนโลกร้อน

21 เม.ย. 2567 – ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ระบุข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก “Thon Thamrongnawasawat”  โดยระบุว่า 

ขอต้อนรับเพื่อนธรณ์สู่ประสบการณ์โลกเดือด 

แม้เอลนีโญใกล้จบ แต่ความร้อนยังไม่จบ บวกกับโลกร้อนที่มนุษย์สร้างขึ้น นี่คือโลกเดือด !

ภาพที่เพื่อนธรณ์เห็นคือปริมาณฝนสะสมในอีก 3 วันข้างหน้า ดำสนิทเกือบทั้งประเทศ หมายถึงแทบไม่มีฝนจริงจังเลย ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง 

ฝนที่มาในช่วงนี้ก็ต้องระวัง ลมแรง ตกหนัก ฟ้าผ่า ไฟดับ น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่เล็กๆ 

เป็นฝนโลกร้อน ทะเลร้อน น้ำระเหยเยอะ อากาศร้อน เมฆจุไอน้ำได้เยอะขึ้น

สำหรับพื้นที่อื่น โลกจะเดือดต่อไป ร้อน แล้ง แห้ง แถมบางพื้นที่อาจมีฝุ่นซ้ำเติม

คนที่ทำมาหากินแบบพึ่งพาธรรมชาติ ทำสวน ทำประมง เลี้ยงสัตว์บก/สัตว์น้ำ ต้องระวังให้หนัก เพราะฝนยังไม่มา อุณหภูมิยังไม่ลด

ทางแก้หรือครับ ? ยากมากๆ 

เพราะเราทำร้ายโลกมาถึงตอนนี้ นับร้อยปีที่ก๊าซเรือนกระจกสะสมบนฟ้า ทะเลช่วยดูดซับความร้อนไว้ 

แต่ตอนนี้ทะเลบอกไม่ไหวแล้ว 

มันจึงมาถึงจุดที่ต้องบอกว่า ต้องหาทางรอด ปรับตัวเท่าที่ทำได้

โลกเดือดยังส่งผลต่อเศรษฐกิจรุนแรง มั้งความแปรปรวนของลมฟ้าท้องน้ำ เรื่อยไปจนถึงภัยพิบัติ

ทั้งพูดทั้งเขียนเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้ว หวังว่าเพื่อนธรณ์คงเข้าใจ

แต่ถ้ายังอยากรู้เพิ่ม ฟัง FM99 เที่ยงครึ่ง-บ่ายสอง

จะพูดเรื่องนี้ให้เยอะเลยครับ

เพราะโลกเดือดแล้ว เราแย่แล้วครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.ธรณ์' ชี้มหาพายุเฮอริเคน 'มินตัน' สภาพอากาศสุดขั้ว คนอเมริกานับล้านต้องอพยพหนี

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์

เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม

ดร.ธรณ์ เผยเหตุพายุธรรมดา กลายเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่น 'ยางิ' ในเวลาไม่ถึง 2 วัน

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ระบุข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

เมืองรับมือโลกเดือดไหวหรือไม่ เช็กความพร้อมชุมชน

งานวิจัยชี้ชัดประเทศไทยเป็นประเทศที่เสี่ยงลำดับต้นๆ ของโลกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฤดูร้อนที่ผ่านมาหลายภาคของไทยเผชิญสภาพอากาศที่ร้อนจัดจนแทบอยู่ไม่ไหว หลายพื้นทื่เจอกับภาวะร้อนและแล้งยาวมาแล้ว เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน เจอฝนถล่มหนักระยะสั้นๆ ทำให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม