'รัดเกล้า' ชี้ราคายางสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการปราบปรามลักลอบนำเข้ายางเถื่อน

"รัดเกล้า" โต้โซเชียลกังขาราคายาง ชี้ราคาในประเทศสูงขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการปราบปรามการลักลอบนำยางเถื่อนข้ามพรมแดนของรัฐบาล วอนอย่าบั่นทอนกำลังใจคนทำงาน ดิสเครดิตรัฐบาลไปเรื่อย​

18 เม.ย.2567 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวตอบโต้กรณีที่มีกลุ่มคนบนช่องทาง X สร้างกระแสตั้งข้อกังขาถึงการทำงานของรัฐบาลว่าเคลมผลงานราคายาง​ ทั้งที่ราคายางขึ้นเป็นผลพวงจากราคายางในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ว่า ไม่ปฏิเสธที่ราคายางในตลาดโลกเพิ่มขึ้นจริง​ ในสภาวะขณะนี้ที่ยางขาดตลาด เป็นปกติที่ผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกจะมีบทบาทในการชี้นำราคาในตลาดโลกให้เพิ่มสูงขึ้น สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้ และไม่จีรัง มีขึ้นมีลงเป็นปกติของการตลาด

นางรัดเกล้า กล่าวว่า ฉะนั้น มองได้ว่าราคาตลาดโลกเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคายางเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ แต่วอนประชาชนทำความเข้าใจด้วยว่าในบริบทของประเทศไทยนั้น แท้จริงมีอีก​หนึ่งปัจจัยที่กดทับไม่ให้ราคายางขึ้นตามตลาดโลกอยู่นั่นคือ การลักลอบนำเข้ายางเถื่อนจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งตามบริเวณที่มีชายแดนติดกัน มักจะมีการลักลอบส่งเข้ามาในประเทศไทย​ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้เป็นปริมาณสำรองกันชน​ หรือ Buffer Stock เพื่อกดราคาการรับซื้อยางในประเทศ ให้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เช่น​ การมี​ Buffer Stock ปริมาณ 450,000 ตัน สามารถคิดได้เป็นราว 9% ของปริมาณผลผลิตต่อปีในไทย สามารถใช้เป็นกันชน​ กล่าวคือใช้เป็นอำนาจต่อรองกับการรับซื้อยางในประเทศของพ่อค้าคนกลางในประเทศได้​ กดราคายางในประเทศให้ต่ำได้นานมากกว่า 45 วัน

“ขอชวนประชาชนให้กำลังใจคนทำงาน และรู้สึกภาคภูมิใจในการทำงานของรัฐบาลตนเอง ที่สามารถออกมาตรการป้องกันการทะลักเข้ามาของยางเถื่อนเหล่านี้ได้ มากกว่าการตั้งข้อการขาและดิสเครดิตการทำงานของรัฐบาลบนโลกโซเชียลมีเดีย” นางรัดเกล้ากล่าว

รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ ยังกล่าวว่า นอกจากการปิดกั้นการนำเข้ายางจากพม่าแล้ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังประสบความสำเร็จในการทำแอพพลิเคชั่นที่สามารถทำให้ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิตและมาตรฐานของสินค้ายางพาราจากไทยว่าไม่ได้มาจากการทำลายป่าไม้ ตามกฏหมายว่าด้วย EUDR (EU Deforestation Regulations) ที่กลุ่มประเทศนำเข้าในอียูได้ประกาศออกมาตั้งแต่ปี 2566 และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนธันวาคม 2567 นี้ มีผลทำให้ผลผลิตยางพาราจากไทยได้รับความเชื่อมั่นสูงขึ้นจากประเทศคู่ค้า และมีความสามารถในการแข่งขันเป็นที่ยอมรับของตลาดมากขึ้น เมื่อจีนและญี่ปุ่นรู้ว่าต่อไปมีแนวโน้มว่ายางคุณภาพดีจากไทยจะเป็นที่ต้องการจากประเทศทางตะวันตกมากขึ้น จึงเร่งไล่ซื้อเก็บของดีเข้าสต๊อกเอาไว้ก่อนที่คู่แข่งจะเข้ามาแย่งซื้อของในตลาด เมื่อเร็วๆนี้ก็เพิ่งจะมีข่าวออกมาว่าจีนตกลงซื้อยางล็อตใหญ่จากไทย 200,000 ตัน มูลค่าเป็นหมื่นล้านบาททีเดียว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตา...ราคายางครึ่งปีหลังสดใส ประเทศไทยประกาศพร้อมรับมือกฎเหล็ก EUDR

ภายหลังจากรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศ โดยมีร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

“ธรรมนัส"ฟันธงราคายางครึ่งปีหลังสดใส กยท.เดินหน้ากำหนดราคาอ้างอิงของไทย

“ธรรมนัส" ฟันธงราคายางในช่วงครึ่งปีหลัง 2567 พุ่ง พร้อมเผย นโยบายด้านยางของรัฐบาลเริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรม ผนวกความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น และกฎเหล็ก EUDR

โฆษกรัฐบาล เผยไทยประกาศความพร้อมทำสวนยางแบบไม่ทำลายป่า

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้เข้าร่วมการประชุมโครงการห่วงโซ่คุณค่าที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า (Deforest-free Value Chains Roundtable

กยท.หนุนนโยบายรัฐบาลเร่งออกโฉนดต้นยาง ชี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการยางทั้งระบบ

กยท.เดินหน้าออกโฉนดต้นยางพาราตามนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ มั่นใจจะช่วยแก้ปัญหายางทั้งระบบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับยางอย่างยั่งยืน

เศรษฐา โชว์ราคายางพาราใกล้แตะ 100 บาท ย้ำเกิดจากทำงานหนัก ไม่ใช่โชคช่วย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านแอปพลิเคชัน X ว่าข่าวดีสำหรับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง เราจะได้เห็นภาพราคายางแตะกิโลละ 100บาท ในเร็วๆนี้แล้ว