รัฐบาลลุยแก้หนี้เช่าซื้อรถ-จยย. จ่อตั้งหน่วยงานดูแล ผุดศูนย์รับร้องเรียน

3 ม.ค. 2565 – นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี โดยปัจจุบันพบว่ายังไม่มีกฎหมายเฉพาะในการกำกับดูแลธุรกิจเช่าซื้อ และไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกรรมเช่าซื้อเป็นการเฉพาะ ทำให้เกิดการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรมว่า รัฐบาลโดยคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ ได้เข้าไปแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในเบื้องต้นได้มีการออกประกาศกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้ เพื่อคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้ถูกเก็บเงินในการทวงถามหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เกินความจำเป็น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา

สาระสำคัญ คือ 1.อัตราค่าทวงถามหนี้กรณีทั่วไปรวมจำนำทะเบียนให้คิดไม่เกิน 50 บาทต่อรอบการทวงถามกรณีค้างชำระ 1 งวดและคิดไม่เกิน 100 บาทต่อรอบการทวงถามกรณีค้างชำระมากกว่า 1 งวด 2.อัตราค่าทวงถามหนี้สำหรับปฏิบัติการลงพื้นที่ติดตามถามหนี้ฯ คิดไม่เกิน 400 บาทต่อรอบการทวงถาม และเก็บต่อเมื่อลูกหนี้ค้างชำระมากกว่า 1 งวด และ 3.กำหนดให้ไม่มีการเก็บค่าทวงถามหนี้ กรณีค่างวดที่ถึงกำหนดชำระต่ำกว่า 1,000 บาท เพื่อคุ้มครองประชาชนรายย่อยที่จ่ายค่างวดจำนวนน้อยๆ

ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) อยู่ระหว่างการทบทวนและปรับปรุงประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเพื่อแก้ไขหนี้เช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ เพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไม่ให้สูงกว่าความเสี่ยงที่แท้จริง พร้อมทั้งปรับปรุงเงื่อนไขการยึดและคืนรถให้เป็นธรรมมากขึ้น รวมทั้งกำหนดแนวทางการคิดยอดหนี้เช่าซื้อคงเหลือกรณีที่มีการคืนรถและกรณีที่เจ้าหนี้ยึดคืนให้ชัดเจนและเป็นธรรม คาดว่าจะสามารถประการใช้ในอีกไม่นานนี้ และทุกขั้นตอนต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ส่วนเรื่องที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมจากนี้ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือนนั้น รองโฆษกสำนักนายกฯ กล่าวว่า จะประกอบด้วย สามเรื่องด้วยกันคือ 1.การกำหนดหน่วยงานเพื่อเข้ามากำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อหรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายสินเชื่อเพื่อให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีหน่วยงานกำกับดูแลเป็นการเฉพาะ 2.พิจารณามาตรการดูแลประชาชนที่เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ปัจจุบันไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของ สคบ. เช่น คนขับรถแท็กซี่ คนขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างที่เช่าซื้อรถมอเตอร์ไซต์ เกษตรกรที่เช่าซื้อรถไถมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากิน ซึ่งปัจจุบันคนกลุ่มนี้กำลังประสบปัญหาและไม่ได้รับความเป็นธรรม และ 3.จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาจากกรณีเช่าซื้อรถและการทวงถามหนี้ที่ไม่เป็นธรรมเพื่อให้มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘รทสช.’ ดาหน้าป้อง ‘ขิง-เอกนัฏ’ ว่าที่รมว.อุตสาหกรรม หลังโดนถล่มยับ

คงเป็นเรื่องน่าเสียดายไม่น้อย ถ้าประเทศนี้ไม่ได้ใช้งานรัฐมนตรีรุ่นใหม่ มากความรู้ความสามารถดีกรี ม.อ๊อกซ์ฟอร์ด ที่ชื่อ'เอกนัฏ'

รัฐบาลมอบถุงยังชีพ เร่งช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ

รัฐบาล มอบถุงยังชีพเบื้องต้น 11,932 ชุด บรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบอุทกภัย จ.เชียงราย - น่าน เตือน ปชช. ยังติดตามการแจ้งเตือนอย่างใกล้ชิด

ภาคเอกชนพบ 'นายกฯ อิ๊งค์' ชงแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ถาม 'ดิจิทัลวอลเล็ต'

หอการค้าไทยรุดพบ 'นายกฯอิ๊งค์' เสนอแผน-มาตรการกระตุ้น ศก. 3 ระยะ ชี้สิ่งสำคัญความชัดเจนแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต เชื่อมั่นเสถียรภาพรัฐบาล แนะกระทรวงเศรษฐกิจฟังเสียงภาคเอกชน

'ทักษิณ' มั่นใจ 100% 'นายกฯอิ๊งค์' ไม่โดนรัฐประหาร ตั้งตัวเป็น 'สทร.' ลั่นสบายมากสู้คดี 112

'ทักษิณ' มั่นใจไม่เกิดรัฐประหาร 'นายกฯ อิ๊งค์' 100% พร้อมตั้งตำแหน่ง 'สทร.' ช่วยลูก เชื่อเลือกตั้งครั้งหน้า 'เพื่อไทย' กลับมาชนะ ให้สิทธิ์พรรคมิตรเก่าร่วมรัฐบาลก่อน ลั่นสบายมากสู้คดี 112