'วุฒิสภา' ชงสอบแต่งตั้ง 'เลขาฯ กสทช.' ล่าช้าเกือบ 4 ปี ชี้ผลประโยชน์ชาติเสียหาย

“กมธ.ไอซีที วุฒิสภา” ชง สำนักนายกฯ -ป.ป.ช.-ผู้ตรวจการแผ่นดิน ดำเนินการ หลังพบความผิดปกติ กระบวนการตั้งเลขา กสทช. เกือบ 4 ปียังไม่ได้ตัว จนรักษาการจะครบวาระ ยันไม่ได้ก้าวก่าย แต่ส่งกระทบผลประโยชน์ชาติเสียหาย

2 เม.ย.2567 -ที่รัฐสภา พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ สว. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่ได้ศึกษาเรื่อง หลักเกณฑ์ ระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการแต่งตั้งเลขาธิการ กสทช. ตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2533 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และนำเสนอรายงานการเลือกเลขาธิการ กสทช. เพื่อให้วุฒิสภา ดำเนินการพิจารณาเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ยืนยัน ว่า การตั้งอนุกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาศึกษาไม่ได้เป็นการตรวจสอบ และยืนยันไม่ได้ก้าวก่าย กสทช.โดยได้ปรึกษาฝ่ายกฎหมายแล้ว พบว่า ตามมาตรา129 และ 185 ของรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ กมธ.ฯศึกษาเรื่องนี้

ด้านพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สว. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบการปฏิบัติงานของ กสทช. เกี่ยวกับการตีความบทบัญญัติของกฎหมายที่ไม่ตรงกัน กล่าวว่าผลการศึกษา พบว่ามี 2 ความเห็นเกี่ยวกับการตั้งเลขา กสทช. คือ ประธาน กสทช. เห็นว่าเป็นอำนาจในการแต่งตั้งโดยประธาน และมีผู้เห็นด้วย 3 เสียง ส่วนความเห็นว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรกลุ่ม มี 4 เสียงเห็นด้วย ซึ่งสอดคล้องกับการเลือกในอดีต ส่วนกระบวนการตั้ง เลขา กสทช. ที่ล่าช้ามากว่า 3 ปี นั้น เห็นว่า ตำแหน่งดังกล่าวมีความสำคัญ การที่ไม่เร่งพิจารณา ถือเป็นการทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.เสียหาย เพราะเป็นองค์กรดูแลคลื่นความถี่ได้ผลประโยชน์จากคลื่นความถี่จึงกระทบต่อการทำงาน

ส่วนจะถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ พล.อ.สมเจตน์ กล่าวว่า เป็นสิ่งที่น่าคิดว่าการตั้งเลขา กสทช. ล่าช้าจะเป็นการปฏิบัติโดยมิชอบหรือไม่หลังอนุกรรมาธิการศึกษาแล้วยังตรวจพบความล้าช้านอกจากความขัดแย้ง ความเห็นไม่ตรงกัน ยังมีเหตุการณ์แทรกซ่อน กรณีถ่ายทอดฟุตบอลโลกที่มีการกล่าวหา นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขา และรักษาการแทนเลขากสทช. ทำการมิชอบด้วยกฎหมาย และมีมติเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เลขา กสทช.คนใหม่มาทำหน้าที่สอบสวน แต่ประธาน กสทช. ไม่ลงนามจึงเป็นเหตุการณ์บานปลายสร้างความเสียหายให้ กสทช. จึงจะเสนอรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ขณะที่นายประพันธุ์ คูณมี สว. ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ กล่าวว่า นับแต่ 1 ก.ค.2563 ที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ลาออกจากเลขา กสทช.และตั้งรักษาการมาจนปัจจุบัน เกือบ4 ปี ดังนั้นนายไตรรัตน์ ทำหน้าที่รักษาการเกือบครบวาระแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติ วุฒิสภาเห็นว่า จะเกิดความเสียหายต่อประเทศและประชาชน หลายโครงการเดินหน้าไม่ได้ ซึ่งจากการศึกษาพบสาเหตุความล่าช้า เพราะมีการตีความตามกฎหมายต่างกัน จึงตั้งข้อสังเกตว่าประธานออกประกาศ ของประธานเพื่อคัดเลือกเลขา กสทช.เอง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนตามกฎหมาย เพราะไม่ใช่เลขานุการของประธาน แต่เป็นเลขาองค์กร ต้องทำงานรับใช้องค์กร เมื่อประธานประกาศและคัดเลือกเองเฉพาะตัวประธานก็ใช้เวลา 1 ปี 9 เดือนกว่าจะมาเสนอกรรมาการในที่ประชุม แต่ไม่ได้ให้ความเห็นชอบเพราะกรรมการไม่กล้ารับรอง จึงเกิดความล่าช้า

ส่วนพฤติกรรมแบบนี้ส่อไปในการปฏิบัติหน้าที่มิชอบหรือไม่นั้น นายประพันธ์ กล่าวว่าใน พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ กำหนดกรอบเวลาในการสรรหาเลขา กสทช.ต้องทำให้ได้ในกรอบ 90 วัน แต่ผ่านมา 3 ปีกว่าไม่สามารถตั้งได้ สะท้อนถึงการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำและคณะกรรมการองค์กรนั้น ดังนั้นในทางกฎหมายถือว่า เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ให้เสียหาย ล่าช้าเกินสมควร

ส่วนจะเป็นการตอกย้ำว่า กสทช. เป็นเหมือนแดนสนธยาหรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า เรื่องตั้งเลขา กสทช.เป็นคนละกรณีและไม่เกี่ยวข้องกับกรณีฟ้องร้องคดีฟุตบอลโลก อย่างไรก็ตามข้อสรุปที่ได้ศึกษามา พบว่าอะไรส่อไปในทางมิชอบด้วยกฎหมายจะเสนอรายงานไปถึงหน่วนงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ทั้งสำนักนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ดำเนินการร้องศาลตามขั้นตอนต่อไป รวมไปถึง กสทช.ด้วย หากพบว่าใครทำผิดก็ขอให้ดำเนินการ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นิกร' แนะให้โอกาส สว. ชุดใหม่ อย่าด้อยค่า

นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา และคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2560 โพสต์เฟซบุ๊กระบุความเห็นถึงรายชื่อสว.ชุดใหม่ ว่า เขาคือใครและเราคือใครในประเด็นวุฒิสมาชิกชุดใหม่

เหลียวหลังแลหน้า 92 ปี ปชต. กรีดดีลลับอันตราย! รัฐบาล มีโอกาสอยู่ครบเทอม

ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป การเมืองในรัฐสภาทั้งสภาล่างคือสภาผู้แทนราษฎร และสภาสูงคือวุฒิสภา ที่ตอนนี้ผ่านกระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

จ่อสอบผู้สมัครสว.กว่า4หมื่นคน

เลขาฯ กกต.ยกคำพิพากษาศาลวินิจฉัยสมัคร สว.ไม่ตรงกลุ่มอาชีพไม่ผิด สิทธิการรับสมัครเป็นคนละส่วนกับเอกสารรับสมัครเป็นเท็จ

เลขาฯกกต. อ้างคำพิพากษาศาล สมัคร สว.ไม่ตรงกลุ่มอาชีพไม่ผิด

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกสมัครเป็นเท็จ รับจ้างสมัคร