กรมอุตุฯ เตือน 31 มี.ค.-6 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัด ระวังโรคลมแดด ท้องร่วง

31 มี.ค.2567-เพจกรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 31 มี.ค.-9 เม.ย. 67 init. 2024033012 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :

31 มี.ค.-6 เม.ย.67  จะเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบน เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุม ฝนน้อย มีฝนบ้างเล็กน้อย บริเวณภาคอีสานตอนล่าง ส่วนใหญ่อากาศแห้ง ลมตะวันตก ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุม และเป็นช่วงที่มีโอกาสร้อนระอุ อุณภูมิสูงสุดอาจถึง 41 – 43 ซ.  ต้องระวังโรคที่มากับความร้อน เช่นโรคลมแดด ท้องร่วง

ส่วนภาคใต้ลมตะวันออก มีกำลังอ่อน พัดปกคลุม อากาศร้อน ฝนเกิดขึ้นได้บางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามัน ( พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล) ช่วงนี้คลื่นลมไม่แรง ท่องเที่ยวทะเลได้ไม่มีอุปสรรค ระวังเฉพาะช่วงที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง และ 7-9 เม.ย.67 ลมเปลี่ยนทิศ พอมีสัญญาณฝนเพิ่มขึ้นทางภาคอีสาน พอคลายความร้อนของอากาศได้บ้าง(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้สถานการณ์ปรากฎการณ์เอลนีโญกำลังปานกลาง ซึ่งทำให้สภาวะทางอุตุนิยมวิทยาเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เหนือ-อีสาน อากาศเย็นตอนเช้า ภาคใต้ฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้

กรมอุตุฯเตือน 9 จังหวัดภาคใต้มีฝนตกหนัก หวั่นเกิดน้ำท่วมฉับพลัน

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 4 (304/2567) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567) มีใจความว่า

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)

ลมหนาวมาต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อุณหภูมิลดฮวบ 2-4 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้