นายกฯ หารือรองเลขาธิการสหประชาชาติ และเลขาธิการบริหาร ESCAP ย้ำศักยภาพไทย ในการขับเคลื่อน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เสริมสร้างความร่วมมือและการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่ประชาชนในภูมิภาค
28 มี.ค.2567 - ที่ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นางอาร์มิดา ซัลเซียะฮ์ อาลิสจะฮ์บานา (Mrs. Armida Salsiah Alisjahbana) รองเลขาธิการสหประชาชาติ และเลขาธิการบริหารคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) เข้าเยี่ยมคารวะ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
โดยภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกฯ กล่าวขอบคุณ ESCAP สำหรับความร่วมมือเพื่อพัฒนาประเทศไทยที่มีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพ (Host Country) ของ ESCAP ยินดีสนับสนุนการทำงานของ ESCAP อย่างเต็มที่ พร้อมเน้นย้ำว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสร้างความสามารถในการแข่งขันผ่านวิสัยทัศน์ IGNITE THAILAND เพื่อขับเคลื่อนประเทศใน 8 เสาหลัก เชื่อมั่นว่าไทยจะเป็นบทบาทสำคัญให้กับภูมิภาคอาเชียน ขณะที่ด้านการเมือง ไทยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะรักษาความเป็นกลาง เป็นตัวแทนในการรักษาเสถียรภาพ ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตให้กับภูมิภาคนี้ได้
นายชัยกล่าวว่า ด้านรองเลขาธิการสหประชาชาติฯ ชื่นชมบทบาทที่มีศักยภาพของประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันได้เติบโตเป็นศูนย์กลางส่วนภูมิภาคขององค์กรสหประชาชาติ และถือเป็นศูนย์กลางขององค์กรสหประชาชาติในเอเชียแปซิฟิกด้วย (The United Nations Hub for Asia and the Pacific) โดยมีสำนักงานต่าง ๆ ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก สะท้อนความร่วมมืออันดีระหว่างกันยาวนานกว่า 70 ปี พร้อมเชื่อมั่นว่าไทยจะสามารถเป็นศูนย์กลางของการจัดการประชุมในวาระสำคัญต่าง ๆ ของสหประชาชาติได้อย่างต่อเนื่อง โดย ESCAP พร้อมให้การสนับสนุนต่อไป โดยเฉพาะความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)
นายชัย กล่าวว่า โอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นที่เห็นพ้องร่วมกัน ดังนี้ ด้านการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ไทยพร้อมร่วมมือกับ ESCAP เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมาย SDGs โดยเน้นย้ำถึงแผนการลดคาร์บอนของไทยเพื่อไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutral ในปี ค.ศ. 2050 รวมไปถึงการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับภูมิภาค ซึ่ง ESCAP พร้อมส่งเสริมการเติบโตอย่างสมดุลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านแนวทางการขับเคลื่อน SDGs ซึ่งจะควบคู่กับการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ
โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ด้านการดำเนินการทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ESCAP อยู่ระหว่างการจัดทำแผนภูมิทัศน์ทางธุรกิจ (Landscape mapping of businesses) เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ และแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับพลเมืองได้ ซึ่งปัจจุบันมีความร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ ของไทย โดยไทยพร้อมให้ความร่วมมือ รวมถึงส่งเสริมภาคเอกชนที่สามารถมีส่วนร่วมผ่านการลงทุนและการจัดหาเงินทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ด้านการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ESCAP ให้ความสำคัญกับการจัดการมลพิษทางอากาศ โดยนายกรัฐมนตรียืนยันว่า ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว โดยรัฐบาลได้ผลักดันร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดและพร้อมประสานความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่ง ESCAP ยินดีให้การสนับสนุน โดยเฉพาะการลดมลพิษทางอากาศด้วยการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานสะอาด โอกาสนี้ รองเลขาธิการสหประชาชาติฯ ยังได้เชิญเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมประจำปีของ ESCAP สมัยที่ 80 ในเดือนเมษายน 2567 นี้ ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ โดยจะมีผู้แทนระดับสูงของไทยเข้าร่วมในการประชุมดังกล่าว เพื่อแสดงถึงบทบาทความร่วมมือและวิสัยทัศน์ของรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรียินดีรับไปพิจารณาต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นิพิฏฐ์' บอกภาษีดูเหมือนเป็นของแสลงผู้นำพรรคเพื่อไทยตั้งแต่ยุคพ่อถึงลูก
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โกงภาษี หรือ บริหารภาษี?”
'ประเสริฐ' ยันสิ้นเดือนนี้กฎหมายไซเบอร์ประกาศใช้แน่!
'ประเสริฐ' ยันกฎหมายไซเบอร์สิ้นเดือนนี้จบแน่ รับเร่งอยู่แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร
'ธรรมนัส-ชาดา' ระทึกลุ้นศาล รธน.รับคำร้องจำกัดความ 'ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์'
'ธรรมนัส-ชาดา' ลุ้นศาล รธน.รับเรื่อง-คำร้อง รัฐบาลขอคำจำกัดความ คุณสมบัติ รมต. อาจเป็นใบเบิกทางกลับเข้าเป็นเสนาบดีอีกรอบ หากไม่ซ้ำรอยคดี 'ไผ่ ลิกค์'
นายกฯ ยินดีคู่รัก LGBTQIA+ สมรสถูกต้องตามกฎหมาย
นายกฯ แสดงความยินดีคู่รัก LGBTQIA+ สมรสถูกต้องตามกฎหมาย จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ สร้างความเท่าเทียมให้ทุกเพศ เคารพในความแตกต่างทั้งเพศสภาพ เพศวิถี เชื้อชาติ ศาสนา
เปิดภารกิจ 'กิตติรัตน์' ในตำแหน่งที่ปรึกษาของนายกฯ ทำหลุดเก้าอี้ 'ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ'
กรณีที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีการ่วม 3 คณะ มีมติด้วยเสียงข้างมากเห็นว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ