ผ่านแล้ว พรบ.สมรสเท่าเทียม ให้สิทธิเบื้องต้น LGBTQ อายุ 18 ปี หมั้น-สมรสได้

ชาวสีรุ้งเฮ! สส.ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ ผ่าน“กฎหมายสมรสเท่าเทียม”คืนสิทธิ์เบื้องต้นให้ LGBTQ กำหนดอายุ 18ปี หมั้น-สมรสได้

27 มี.ค.2567 - เวลา 10.40 น. ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เข้าสู่วาระพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่.)พ.ศ…. หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาเสร็จแล้ว เป็นการพิจารณาในวาระ 2 และวาระ 3

นายดนุพร ปุณณกันต์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมธิการ(กมธ.)วิสามัญฯ ชี้แจงว่า ตามรัฐธรรมนูญ ปี 60 ในมาตรา 4 กล่าวถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้เราทำเพื่อคนไทยทุกคน มีจำนวนทั้งหมด 68 มาตรา โดยสรุป 3 ข้อ คือ 1.กมธ.ฯเห็นว่าบทบัญญัติของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีการใช้ถ้อยคำไม่สอดดคล้องกับบริบทขอองสังคมในปัจจุบัน จึงมีการปรับถ้อยคำให้มีความเหมาะสมเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ 2.กมธ.ฯเห็นว่าเกณฑ์อายุขั้นต่ำในการหมั้นและการสมรสของบุคคล ควรกำหนดไว้ที่อายุ 18 ปีบริบูรณ์​ เพื่อให้ผู้ที่จะทำการหมั้นหรือสมรส มีอายุพ้นจากความเป็นเด็ก และเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายภายในประเทศที่มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับเด็ก รวมทั้งหลักการคุ้มมครงสิทธิเด็กในการป้องกันปัญหาการแต่งงานในวัยเด็ก จากการบังคังให้เด็กแต่งงาน โดยจะไปเชื่อมกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ฉบับอื่นที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่

นานดนุพร กล่าวด้วยว่า 3.กมธ.ฯได้เพิ่มบทบัญญัติขึ้นใหม่จำนวน 1 มาตรา เพื่อกำหนดให้คู่สมรสที่ก่อตั้งครอบครัวตามประมวลกฎหมายฉบับนี้ มีสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางกฎหมายตามกฎหมายอื่น ที่ได้กำหนดไว้ให้แก่ “สามี ภรรยา” หรือ”สามี ภรรยาในทันที “ ซึ่งจะเป็นการลดภาระให้แแก่หน่วยงานต่างๆ ในการทบทวนและแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ในความรับผิดชอบ อย่างไรก็ตามในกรณีที่กฎหมายฉบับใดกำหนดสิทธิหน้าที่ สถานะทางกฎหมาย หรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับสามี ภรรยา หรือสามี ภรรยาไว้แตกต่างกัน หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องยังคงต้องดำเนินการทบทวนกฎหมายดังกล่าวให้แล้วเสร็จทันในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ นอกจากนี้กมธ.ฯมีการตั้งข้อสังเกตุเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงกฎหมายในความรับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์​ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ฉบับนี้

นายดนุพร กล่าวต่อว่า กฎหมายฉบับนี้แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อทุกคนในประเทศไทย เพราะหลังจากที่ได้มีการผ่านวาระ1 ไปแล้ว เราได้ฟังเสียงรอบด้าน และมีกรพูดคุยว่ากฎหมายฉบับนี้ทำเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่ กมธ.พิจารณาด้วยความรอบครอบ และขอยืนยันว่ากฎหมายฉบับนี้ ชายหญิงทั่วไป ท่านเคยได้รับสิทธิ์อย่างไร ท่านจะไม่เสียสิทธิ์แม้แต่น้อย สิทธิของท่านในทางกฎหมายยังเท่าเดิมทุกประการ และกฎหมายฉบับนี้จะคุ้มครองคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งแล้วแต่จะเรียกว่าเป็น LGBTQ ผู้ชายข้ามเพศ หญิงข้ามเพศ หรืออะไรก็ตาม วันนี้ทุกสังคมไม่ว่าประเทศไทยหรือต่างประเทศ เชื่อว่าทุกคนทราบดี เราไม่ได้มีเพียงแค่เพศชาย เพศหญิง อีกต่อไปแล้ว มีคนกลุ่มหนึ่งที่อาจจะเกิดมาเป็นเพศชาย หรือเพศหญิง เขาเลือกเกิดไม่ได้ แต่คนเหล่านี้เขาเลือกที่จะเป็นตามสิ่งที่เขาต้องการ เพราะฉะนั้นกฎหมายฉบับนี้ ต้องการที่จะคืนสิทธิ์ให้คนกลุ่มนี้ เราไม่ได้ให้สิทธิ์เขา แต่เป็นสิทธิ์เบื้องต้นที่คนกลุ่มนี้เสียสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์ การรักษาพยาบาล การเสียภาษี การลดหย่อนภาษีต่างๆ รวมถึงการเซ็นยินยอมให้เข้าสู่กระบวนการรักษาพยาบาล คนเหล่านี้เขาไม่เคยได้สิทธิ์แบบนี้ ดังนั้นการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้เป็นการคืนสิทธิ์ และตอนหาเสียงเลือกตั้งทุกพรรคการเมือง บอกว่าอยากจะทำให้สังคมนี้เป็นสังคมที่เท่าเทียมกัน ลดความเหลื่อมล้ำ

“ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเท่าเทียม กฎหมายฉบับไม่ใช่ยาที่จะรักษาได้ทุกโรค แต่อย่างน้อยเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆในการที่จะสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมไทย ขอเชิญชวนสส.ทุกคนมาร่วมกันสร้างประวัติประเทศไทย เราจะเป็นประเทศที่สาม ในภูมิภาคเอเชีย ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม เราจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเซาท์ อีสท์ เอเชีย และเราจะภาคภูมิใจในเวทีโลกว่าประเทศไทยวันนี้เเห็นความสำคัญของความเหลื่อมล้ำในสังคม ความเหลื่อมล้ำทางเพศ หวังว่าวันนี้พวกเราในฐานะตัวแทนฯประชาชนทั้งประเทศ จะร่วมสร้างประวัติศาสตร์ให้กับประเทศไทย”นายดนุพร กล่าว

จากนั้นเปิดให้สมาชิกแสดงความคิดเห็น พิจารณาเรียงรายมาตรา โดยกมธ.ฯ เสียงข้างน้อย ที่มาจากภาคประชาชน ได้เสนอขอให้บัญญัติเพิ่มคำว่า “บุพการีลำดับแรก” (ที่ทำหน้าที่เสมือนมารดา-บิดา) เพื่อให้เกิดคำกลาง ๆ ลงในร่างกฎหมายแทนบิดา-มารดา รองรับความสมบูรณ์ของครอบครัวให้คู่สมรสเพศเดียวกัน แต่กรรมาธิการฯ เสียงข้างมาก ชี้แจงว่า การกำหนดบุพการีลำดับแรก เป็นคำใหม่ที่ไม่เคยบัญญัติในกฎหมาย และไม่มีการให้คำนิยาม จึงอาจเกิดผลกระทบในการบังคับใช้ได้ จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่จะกระทบต่อกฎหมายทั้งหมดของประเทศ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จึงมีมติเสียงข้างมาก เห็นชอบตามการปรับแก้ของกรรมาธิการฯ เสียงข้างมาก

ทั้งนี้ เมื่อบุคคล 2 คน ไม่ว่าจะเพศเดียวกัน หรือต่างเพศกัน จดทะเบียนสมรสร่วมกันแล้ว ก็จะมีสภานะ “คู่สมรส” ดังนั้น ก็จะไปเข้าเงื่อนไขในกฎหมายอื่น ๆ ที่รองรับสิทธิประโยชน์ของ “คู่สมรส” อาทิ สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส, สิทธิเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญา เช่นเดียวกับสามี-ภรรยา, สิทธิรับมรดกหากอีกฝ่ายเสียชีวิต, สิทธิรับบุตรบุญธรรม, สิทธิการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย, สิทธิจัดการศพ, สิทธิได้รับประโยชน์ และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น สิทธิประกันสังคม, สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล รวมถึงคู่สมรส ยังสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ พร้อมรับรองถึงกฎหมาย หรือระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีใด อ้างถึงสามี ภริยา หรือสามีภริยา ให้ถือว่าอ้างตามคู่สมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้ด้วย

จากนั้นที่ประชุมลงมติในวาระ 3 มีมติเห็นชอบด้วยคะแนน 400 เสียง ไม่เห็นชอบ10 เสียง งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนน 3 ให้ความเห็นชอบร่างพ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ กฎหมายสมรสเท่าเทียม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดีเจ.อ๋อง' ตัวแทนชาว LGBTQ รักหวานเตรียมจดทะเบียนสมรส

ดีเจอารมณ์ดี อ๋อง-เขมรัชต์ หนึ่งในตัวแทนLGBTQ ที่แฮปปี้ที่สุด หลังกฎหมายเตรียมรองรับการจดทะเบียนสมรสแต่งงานของเพศเดียวกัน งานนี้ความรักที่ซุ่มเงียบปิดตัวมานาน 18 ปี ได้เวลาเบ่งบานพร้อมออกสื่อเรียบร้อยแล้ว ล่าสุด ดีเจอ๋อง ขอเปิดใจความรักหวานๆ กลางรายการ โต๊ะหนูแหม่ม เผยหมดเปลือกพร้อมจัดงานแต่งอย่างเป็นทางการแล้ว

กลุ่ม LGBTQ ยังไม่เข้าใจกม.สมรสเท่าเทียม

นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง เสียงของ LGBTQiA+ กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่ม LGBTQiA+ ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

'STAR HUNTER' จับมือ 'พอร์ช-อาม' เปิดตัวโปรเจกต์พิเศษเรื่องแรกของเอเชีย!

ข่าวดีส่งท้าย Pride Month เดือนแห่งการเฉลิมฉลองและความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ค่าย STAR HUNTER ENTERTAINMENT บริษัทผู้ผลิตซีรีส์วาย

โอบรับความหลากหลาย! ค้นพบความสุขทั้งกายและใจด้วยหัวใจที่เท่าเทียม ในงาน SX TALK SERIES #4 HEALTHY PRIDE “หลากหลายอย่างมีสุข”

งานเสวนาที่ชวนคุณมาร่วมเปิดมุมมองกับหลากทัศนะ พร้อมคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจความหลากหลายอย่างมีสุข

'อ้อย จิระวดี' ควงลูกชาย 'พอชตี้ค์' เคลียร์ปมในใจโดนล้อมีแม่เป็นทอม

"อ้อย จิระวดี" นักแสดงรุ่นเก๋าที่วันนี้ขอเปิดเรื่องราวในอดีตหลังประกาศตนว่าเป็นทอม แม้ตอนนั้นกำลังเป็นนางเอกชื่อดัง ลั่นขอเป็นตัวของตัวเองดีที่สุด พร้อมควงลูกชายสุดหล่อ พอชตี้ค์ ณัฏฐพล เคลียร์ปมในใจวัยเด็กหลังโดนเพื่อนล้อมีแม่เป็นทอม