ผู้ประกันตนควรรู้ 'กองทุนเงินทดแทน-กองทุนประกันสังคม' ต่างกันอย่างไร

ประกันสังคม
​22 มี.ค.2567 - สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน อธิบายเกี่ยวกับ "กองทุนเงินทดแทน กับกองทุนประกันสังคม" ต่างกันอย่างไรบ้าง มีสิทธิประโยชน์แบบไหนที่ผู้ประกันตนทุกคนควรรู้

กองทุนเงินทดแทน

คือ กองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย สูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงาน ของร่างกาย ทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหาย อันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยจะได้รับเงินสมทบจากนายจ้าง

มีสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองที่ได้รับ 4 กรณี

ค่ารักษาพยาบาล
* ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง จ่าย 50,000 บาท
* บาดเจ็บรุนแรงหรือเรื้อรังจ่ายไม่เกิน 150,000 บาท
* หากไม่เพียงพอจ่ายเพิ่มได้อีก 300,000 บาท
* หากไม่เพียงพอจ่ายเพิ่มได้อีก 500,000 บาท
* หากไม่เพียงพอจ่ายรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000,000 บาท

เว้นแต่ ลูกจ้างเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรกจนสิ้นสุดการรักษา หรือกรณีมีความจำเป็นหรือมีเหตุสมควรที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรก แต่ภายหลังได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล

ค่าทดแทนรายเดือน

ค่าทดแทน 70% ของค่าจ้างรายเดือน ไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน (ค่าจ้างสูงสุด 20,000 บาท)

* แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว ตั้งแต่วันแรก รวมไม่เกิน 1 ปี
* สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายไม่เกิน 10 ปี
* ทุพพลภาพตลอดชีวิต
* ถึงแก่ความตายหรือสูญหาย 10 ปี และค่าทำศพ

ค่าทำศพ
จ่ายตามที่กระทรวงกำหนด อัตราที่กำหนดในกฏกระทรวง(ค่าทำศพ 50,000บาท)

ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน

สำหรับลูกจ้างที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู ได้รับตามอัตราดังนี้

*ค่าใช้จ่ายในกระบวนการเวชศาสตร์ฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านการแพทย์ โดยเป็นค่าใช้จ่ายทางกายภาพบำบัดไม่เกินวันละ 200 บาท และค่าใช้จ่ายทางกิจกรรมบำบัดไม่เกินวันละ 100 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 24,000 บาท

*ค่าใช้จ่ายในกระบวนการบำบัดรักษาและการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 40,000 บาท หากมีความจำเป็นให้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 140,000 บาท แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 180,000 บาท โดยให้คณะกรรมการการแพทย์เป็นผู้มีอำนาจพิจารณา

*ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู หน่วยละไม่เกินอัตราตามที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 160,000 บาท

*ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านอาชีพ ให้จ่ายได้เฉพาะ ที่เป็นการฝึกตามหลักสูตรที่หน่วยงานของสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ดำเนินการไม่เกิน 24,000 บาท


กองทุนประกันสังคม

คือ กองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ที่ประกันตน โดยได้รับเงินสมทบจาก นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล มีสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองที่ได้รับ มี 7 กรณี (ซึ่งไม่เนื่องจากการทำงาน)
- ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย
- คลอดบุตร
- ทุพพลภาพ
- สงเคราะห์บุตร
- ว่างงาน
- ชราภาพ
- ตาย

ที่นี้ก็รู้กันแล้วว่า ผู้ประกันตนมีสิทธิความคุ้มครองอยู่ 2 กองทุน โดยข้อแตกต่างของแต่ละกองทุน จะอยู่ที่สาเหตุของการเกิดสิทธิ

กองทุนเงินทดแทนจะดูแลเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย สูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย ทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหาย อันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง

กองทุนประกันสังคมให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือที่เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รพ.มงกุฎวัฒนะ ประกาศเตรียมถอนตัวประกันสังคม ตอบโต้การวินิจฉัยไม่เป็นธรรม

โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ได้ออกมาประกาศผ่านเพจเฟซบุ๊กระบุข้อความว่า "ประกาศเรื่อง การเตรียมการถอนตัวออกจากการเป็นโรงพยาบาลคู่สัญญากับสำนักงานประกันสังคม"

'คารม' เผย สปสช.แจง 'กทม.' ยังไม่เริ่ม 30 บาทรักษาทุกที่

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เรื่องจังหวัดที่ดำเนินงานตามนโยบาย

“พิพัฒน์” ช่วยลูกจ้างถูกเลิกจ้าง ขยายเพดานยกเว้นภาษีค่าชดเชย เป็น 6 แสนบาท ใช้บังคับย้อนหลังตั้งแต่ 1 ม.ค. 66

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยผลการดำเนินการตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติสำเร็จ ผลักดันกฎหมายช่วยลูกจ้างเดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้าง

ข่าวดี! รับสมัครด่วน ทำงานเกาหลี เดือนละ 5.79 หมื่นบาท

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขอแจ้งข่าวดี โอกาสมาถึงแล้ว สำหรับแรงงานไทยที่ต้องการทำงานภาคประมงตามฤดูกาล ด้วยวีซ่า E – 8