ฝนตกหนักทุกภาค! กรมอุตุฯ เตือนพายุฤดูร้อนชุดใหญ่ 19 มี.ค. ตามด้วยอากาศเย็น

15 มี.ค.2567 - กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 15 - 18 มี.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 มี.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น

โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 15-18 มี.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดไว้ด้วย

ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 มี.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

คาดหมายอากาศรายภาค

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 15 - 18 มี.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 21 มี.ค. 67 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิต่ำสุด 17 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 15 – 18 มี.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 21 มี.ค. 67 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 15 - 18 มี.ค. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 – 42 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 21 มี.ค. 67 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 15 – 18 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 21 มี.ค. 67 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร และห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 15 - 18 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 21 มี.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค
ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 39 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 38 องศาเซลเซียส

กรุงเทพและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 15 - 18 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 21 มี.ค. 67 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ อัปเดตพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ' เตือน 33 จังหวัด เจอฝนตกหนัก 60-70%

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 6 ระบุว่า เมื่อเวลา 17.00 น. ของวันนี้ (22 ก.ค. 67) พายุโซนร้อน “พระพิรุณ” บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 20.2 องศาเหนือ

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 5 อัปเดตเส้นทางพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ'

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 5 (145/2567) โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 36 จังหวัด รับมือท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ประกอบกับพายุโซนร้อน

กรมอุตุฯ ประกาศฉ.4 พายุพระพิรุณขึ้นฝั่งจีนตอนใต้ 21-23 ก.ค. ไม่ส่งผลกระทบไทย

พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ