เตือน 'สายซอยจุ๊' เสี่ยงพยาธิชอนไชจนกลายเป็นอัมพฤกษ์

14 มี.ค.2567 - ที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.ขอนแก่น พญ.จิรา ศักดิ์ศศิธร รองผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 เปิดเผยว่า แม้ขณะนี้จะมีโรคระบาดในเนื้อวัวหรือโรคแอนแทรกซ์ ซึ่งประเทศไทยได้รับการยืนยันว่าปลอดเชื้อแอนแทรกซ์ และปัจจุบันไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อหรือมีผู้ติดเชื้อแอนแทรกซ์แต่อย่างใด ซึ่งโรคแอนแทรกซ์เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน เกิดจากเชื้อแบคที่เรีย บาซิลลัส แอนทราชิส (Bacillus anthracis) สามารถเกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด โดยเฉพาะในสัตว์เคี้ยวเอื้องที่กินหญ้าเป็นอาหาร การติดต่อในสัตว์สามารถติดต่อจากการกิน และเข้าทางบาดแผลการติดต่อในคนสามารถติดต่อจากการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้อทางผิวหนัง จากการรับประทานผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ติดเชื้อ และทางการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อเข้าไป

"เชื้อแอนแทรกซ์ในประเทศไทยนั้นปัจจุบันยังไม่มีการแพร่ระบาดหรือมีการติดเชื้อในประเทศไทยแต่อย่างใด แต่จะมีในประเทศเพื่อนบ้าน คือที่ แขวงจำปาสัก สปป.ลาว โดยเชื้อแอนแทรกซ์นั้นจะสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ 3 ช่องทาง ทั้งทางการสัมผัส จากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยการติดเชื้อทางการสัมผัสนั้น จะมีตุ่มแดงที่ผิวหนัง กลายเป็นถุงน้ำ ก่อนจะบวมน้ำแตกออกเป็นแผลเนื้อตาย เหมือนรอยบุหรี่จี้ หากไม่รักษาเชื้อก็จะเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้ถึงตายได้ ซึ่งเป็นช่องทางการติดต่อของโรคที่พบว่าเกิดขึ้นมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เกิดจากการที่เรากินเนื้อวัวดิบที่มีเชื้อ ก็จะมีแผลที่ลำคอกระเพาะอาหารลำไส้ และจะมีอาการปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด และการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากแต่ก็มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงที่สุดหากติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อติดเชื้อจะมีอาการหายใจติดขัด แน่นหน้าอก ตัวเขียว หน้าเขียว และ เสียชีวิตไม่เกิน 5 วัน

พญ.จิรา กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการป้องกัน การติดเชื้อแอนแทรกซ์ที่ดีที่สุด คือไม่ทานเนื้อสัตว์ดิบทุกชนิด เนื่องจากไม่ใช่เฉพาะเชื้อแอนแทรกซ์ที่มากับเนื้อวัว แต่ยังมีโรคหูดับที่มากับหมู พยาธิชนิดต่างๆ ที่จะมากับเนื้อสัตว์ดิบเรานี้และเข้ามาฝังไข่ชอนไชตามร่างกาย เมื่อพยาธิขึ้นสมองก็จะชอนไชเนื้อหายไปจนกลายเป็น อัมพฤกษ์อัมพาต ซึ่งก็มีปรากฏให้เห็นในข่าว และโรคอื่นๆจากสัตว์ ทั้ง เนื้อวัว หมู ไก่ และสัตว์ทุกชนิดที่สามารถกินได้ ซึ่งในเรื่องนี้ก็อยากให้ทุกๆคนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการชอบรับประทานเมนูอาหารดิบ หรือเมนูครึ่งสุกครึ่งดิบ ให้รับประทานอาหารที่สุกร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อไม่ให้ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆที่อยู่ในเนื้อสัตว์ดิบ

"และจากข้อมูลพบว่า เคยมีคนไทยเคยติดเชื้อแอนแทรกซ์ครั้งแรกในรอบ 17 ปี เมื่อช่วงเดือน พ.ย.60 และหลังจากนั้นผ่านมา 7 ปี ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อแอนแทรกซ์ในประเทศไทยอีกเลย โดยในครั้งนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบทราบว่า เชื้อเกิดขึ้นหลังจากที่ชาวบ้านในพื้นที่ ต.มหาวัน อ.แม่สอด จ.ตาก ลักลอบชำแหละแพะที่นำข้ามฝั่งมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ก่อนเริ่มมีอาการป่วยและตรวจสอบพบติดเชื้อแอนแทรกซ์จริง 2 ราย โดยเป็นการนำสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านมาชำแหละ และแบ่งกันรับประทาน โดยเชื้อแอนแทรกซ์ส่วนใหญ่มักพบในแพะ แกะ วัว และควาย ซึ่งหากพบสัตว์เหล่านี้ตายผิดธรรมชาติให้รีบแจ้งปศุสัตว์ ส่วนวิธีทำลายที่ดีที่สุด คือการเผา ไม่ควรฝังลงพื้นดิน เพราะเชื้อสามารถอยู่ได้เป็นสิบๆ ปี และไม่ควรนำเนื้อสัตว์เหล่านี้มารับประทานเด็ดขาด แม้จะทำให้สุกก็ตาม"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอสมอง' เตือน! 'บิด เอียง สะบัดหมุน ดัดคอ' เสี่ยงอัมพฤกษ์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า บิด เอียง สะบัดหมุน ดัดคอ…แล้วก็เสี่ยงอัมพฤกษ์

'หมอธีระวัฒน์' แนะ 'เวียนหัว บ้านหมุน' ทำท่าอินเดีย อาจช่วยได้

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เวียนหัว บ้านหมุน ทำท่าอินเดีย อาจช่วยได้

‘หมอธีระวัฒน์’ แจง 5 เหตุผลสำคัญ ลาออกจาก หน.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่

วันที่ 30 เมษายน 2567 เป็นวันสุดท้ายในฐานะหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย

‘หมอเชิด’ สะกิดเตือน ‘เศรษฐา’ หมอคุมยาก เปลี่ยนตัว ‘รมว.สธ.’ เกิดปัญหาแน่

‘หมอเชิด’ แนะ’เศรษฐา’ฟังเสียงสมาชิกพรรคเพื่อไทย ในฐานะคนที่ยกมือให้ด้วย พร้อมระบุหมอควบคุมยาก เปลี่ยนตัวรมว.สธ.เกิดปัญหาแน่