สัญญาณชัด! พายุฤดูร้อน 19-21 มี.ค. เตรียมรับมือฝนชุดใหญ่ครั้งแรกของปี

14 มี.ค.2567 - เพจเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 14-23 มี.ค. 67 init. 2024031312 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : ช่วง 14-18 มี.ค.67 ทิศทางลมยังแปรปรวน โดยมีลมตะวันตก ตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมด้านตะวันวันของภาคเหนือ ภาคกลาง มีเมฆเป็นส่วนมาก ฝนน้อยลง แต่ยังมีฝน/ฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยเกิดขึ้นได้บางแห่ง บริเวณภาคอีสานตอนล่าง และภาคตะวันออก กลางวันอากาศยังร้อนและร้อนจัดบางพื้นที่(หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุม) ส่วนภาคใต้มีฝนเล็กน้อย คลื่นลมยังมีกำลังอ่อนถึงปานกลาง

ช่วง 19-21 มี.ค.67 มีสัญญาณฝนเพิ่มขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากมีมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงแผ่ลงมาปกคลุมภาคอีสาน ทำให้มีลมใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับจะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกของลมในระดับบนจากเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรกๆ โดยเริ่มทางภาคอีสาน ภาคตะวันออกก่อน(ในช่วงบ่ายวันที่ 19 มี.ค.) ยังต้องติดตามและเฝ้าระวัง และ ช่วง 22-23 มี.ค.67 ฝนน้อยลงยังมีเกิดขึ้นได้บริเวณภาคเหนือ ต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาเป็นระยะๆ อย่างใกล้ชิด (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้สถานการณ์ปรากฎการณ์เอลนีโญกำลังปานกลาง ซึ่งทำให้สภาวะทางอุตุนิยมวิทยาเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุตุฯ พยากรณ์มรสุมกำลังอ่อนลง ทั่วไทยฝนลด ยังตก 35 จังหวัด

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง

กรมอุตุฯ เตือน 43 จว. ยังมีฝนฟ้าคะนอง ‘กทม.’ ชุ่มฉ่ำร้อยละ 60 ของพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย

อุตุฯเตือน ภาคอีสาน-ใต้ รับมือฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น