ประสานกองทัพพม่า-กะเหรี่ยงเจรจาหยุดรบ KNU ตั้งเงื่อนไขถอนทหารหม่องออกก่อน

29 ธ.ค.2564 - แหล่งข่าวด้านความมั่นคงชายแดนไทยในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เปิดเผยถึงสถานการณ์การสู้รบระหว่างกองทัพพม่ากับกองกำลังของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union- KNU)บริเวณตอนใต้ของเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่าซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับอำเภอแม่สอด ทำให้มีผู้อพยพหลายพันคนข้ามแม่น้ำเมยมาหลบภัยในฝั่งไทย ว่าล่าสุดได้มีการประสานงานจากฝ่ายความมั่นคงของไทยเป็นตัวกลางติดต่อไปยังพลเอกมูตู เส่โพ ประธาน KNU เพื่อขอให้มีการเจรจากับกองทัพพม่า เนื่องจากขณะนี้กองทัพพม่าได้รับความเสียหายอย่างหนัก ขณะที่ไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากการสู้รบรุนแรงขึ้นตามลำดับ

แหล่งข่าวกล่าวว่า ท่าทีของพลเอกมูตู เส่โพ นั้นเห็นด้วยการตั้งโต๊ะเจรจามาตั้งแต่เริ่มต้นที่ทหารพม่าเปิดการรบกับทหารกะเหรี่ยง KNU กองพล 6 แต่เนื่องจาก พลเอกมูตู ไม่สามารถสั่งการไปยังหน่วยปฎิบัติได้ ดังนั้นการสู้รบจึงยืดเยื้อมาตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคมจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีชาวกะเหรี่ยงและชาวพม่านับหมื่นคนต้องหนีออกจากบ้านมาหลบซ่อนและข้ามมาประเทศไทย

“ยังไม่แน่ว่าทหารกะเหรี่ยงกองพล 6 จะยอมเจรจาด้วยหรือไม่ เพราะกองทัพพม่าเป็นผู้ที่บุกโจมตีเขาก่อน แต่ตอนนี้ทหารพม่าเองก็เสียหายหนักและมีทหารเสียชีวิตนับร้อยคน ทำให้เขาเริ่มเห็นด้วยกับการเจรจา ซึ่งคงไปคุยกันที่กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า” แหล่งข่าว กล่าว และว่าความต้องการของกองทัพพม่าคืออยากให้ KNU กองพล 6 กลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาสันติภาพ (Nationwide Ceasefire Agreement-NCA) เนื่องจากก่อนหน้าเกิดรัฐประหาร กองพล 6 และกองพล 7 ของ KNU อยู่ในกระบวนการ NCA แต่เมื่อเกิดรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ทั้ง 2 กองพลได้ออกจากกระบวนการเจรจาดังกล่าว

ด้านพะโด่ซอตอนี (Padoh Saw Taw Nee) ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ KNU กล่าวว่าขณะนี้ผลกระทบจากการสู้รบเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ แต่ตนยังไม่ได้ยินว่าทางการไทยจะขอให้มีการเจรจา แต่การอพยพของประชาชนที่หนีภัยการสู้รบนั้น มีความเป็นห่วงจากหลายฝ่าย และที่ผ่านมาหลายกลุ่มขอให้มีการเจรจาเพื่อยุติการสู้รบ แต่จากประสบการณ์ของ KNU ในการเจรจากับทหารพม่านั้น พบว่ากองทัพพม่า ไม่สามารถเชื่อถือได้ หากจะมีการเจรจาจริงต้องมีหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อให้มีการเจรจาเป็นไปอย่างยุติธรรม

“ที่ผ่านมาเจรจากันไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ แต่ก็ไม่เกิดผลใดๆ สุดท้ายทหารพม่าก็ก่อรัฐประหารในประเทศของตัวเอง สิ่งที่เราต้องการคือสันติภาพ สิ่งแรกคือทหารพม่าต้องถอนกองกำลังออกจากพื้นที่สู้รบทั้งหมดในทันที และต้องยุติการเข่นฆ่าทำร้ายประชาชน การกระทำที่ใช้อาวุธ ทิ้งระเบิดโดยเครื่องบิน ต้องยุติทั้งหมด หากยุติสิ่งเหล่านี้ได้ การเจรจาอาจเป็นขั้นต่อไปได้” พะโด่ซอตอนี กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บุกจับ 3 นายหน้าจัดหาซิมผีบัญชีม้า ขายแก๊งคอลเซ็นเตอร์

พ.ต.อ.อนุชา ศรีสำโรง ผู้กำกับกองกำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 4 (ผกก.2 บก.สอท.4) นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.สอท.4 จับกุมนายธนกร

ศาลอาญาทุจริตภาค 6 พิพากษาจำคุกอดีตนายอำเภทท่าสองยางกว่า 1.2 พันปี!

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 6 มีคำพิพากษาลงโทษ จำคุก1,269 ปี 1,692 เดือน อดีต นอภ.ท่าสองยาง-พวก ทุจริตโครงการช่วยเหลือน้ำท่วม พายุโซนร้อนนกเตน

'รองอธิบดีอุทยานฯ' นำทีมจับ 'ลัทธิประหลาด' ตั้ง 3 ข้อหา

'รองอธิบดีกรมอุทยานฯ' นำทีมจับ 'ลัทธิประหลาด' กะเหรี่ยงผมยาว บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ พบต่างด้าว 29 ราย คนไทย 1 คน

ตัดวงจรแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยึดสายอินเตอร์เน็ตข้ามแม่น้ำไปฝั่งเมียนมา

พล.ต.ต.จิตติพนธ์ ผลพฤกษา ผบก.สอท.4 พ.ต.ท.วีระพล กันธวงศ์ รอง ผกก.2 บก.สอท.4,เจ้าพนักงานตำรวจ กก.2 บก.สอท.4 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหาร ฉก.ราชมนู, เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.แม่สอด, ฝ่ายปกครองอำเภอแม่สอด

สปส.​ ขับเคลื่อนงานสร้างหลักประกันคุ้มครองอาชีพอิสระสู่เครือข่าย​ 'บวร' ​ จ.ตาก

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประกันสังคมสู่เครือข่าย “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียน/โรงงาน) จังหวัดตาก ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดตาก พร้อมด้วย นายบุญช่วย หอมยามเย็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และเจ้าหน้าที่ โดยมี เครือข่ายประกันสังคม และผู้ประกันตนในพื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้