12 มี.ค.2567 - สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยภาพดาวหาง 12P/Pons-Brooks ที่เป็นฝีมือคนไทยบันทึกได้ช่วงหัวค่ำวันที่ 11 มีนาคม 2567 จากยอดดอยอินทนนท์ อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ ซึ่งในช่วงนี้ดาวหางปรากฏในช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก อยู่บริเวณกลุ่มดาวแอนโดรเมดา (Andromeda) ทางขอบฟ้าทิศตะวันตก ขณะดวงอาทิตย์กำลังตกลับขอบฟ้า ดาวหางมีมุมเงยเพียงประมาณ 12 องศาเท่านั้น จึงปรากฏอยู่บนท้องฟ้าไม่นานก่อนจะตกลับขอบฟ้าตามดวงอาทิตย์ไป ประกอบกับช่วงนี้มีมลภาวะในชั้นบรรยากาศและหลังจากนี้จะมีแสงจันทร์รบกวนยาวไปจนถึงวันที่ 27 มีนาคม 2567 อาจจะสังเกตสังเกตด้วยตาเปล่าได้ค่อนข้างยาก
สดร.ให้ข้อมูลว่า ดาวหาง 12P/Pons-Brooks กำลังโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ปลายเดือนมีนาคมจะค่อย ๆ เปลี่ยนตำแหน่งเคลื่อนไปยังกลุ่มดาวแกะ (Aries) ปลายเดือนเมษายนและจะเคลื่อนไปสู่กลุ่มดาววัว (Taurus) และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดวันที่ 23 เมษายน 2567 นี้อาจมีความสว่างเพิ่มขึ้นจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้าตอนกลางคืน นับเป็นหนึ่งในดาวหางที่น่าติดตามในช่วงต้นปีนี้
สำหรับดาวหาง 12P/Pons-Brooks จัดเป็นดาวหางประเภทเดียวกันกับดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) กล่าวคือมีคาบการโคจรโคจรรอบดวงอาทิตย์ 71 ปี จึงจัดอยู่ในดาวหางประเภท "ดาวหางคาบสั้น" (Periodic comet) ค้นพบครั้งแรกโดย Jean-Louis Pons นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1812 และค้นพบซ้ำอีกครั้งในปี 1883 โดย William Robert Brooks นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน จึงเป็นที่มาของชื่อดาวหาง 12P/Pons-Brooks
สามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับดาวหางเพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้ https://www.facebook.com/share/p/iNDemcXje8gnHDhi/?mibextid=WC7FNe
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดอยอินทนนท์' หนาว! เริ่มเปิดเส้นทางชมธรรมชาติ
นายเกรียงไกร ไชยพิเศษ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า วันนี้อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กำหนดจัดกิจกรรมเปิดการท่องเที่ยว
สัมผัสอากาศหนาว ยอดดอยอินทนนท์เช้านี้ อุณหภูมิต่ำสุด 11 องศาฯ
บรรยากาศเช้าวันที่ 28 ตุลาคม 2567 บนดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ยอดดอยอินทนนท์ อุณหภูมิต่ำสุด 11°C
เปิดภาพดาวหาง 'จื่อจินซาน-แอตลัส' กับทางช้างเผือก และดาวศุกร์ เหนือองค์พระธาตุคู่เชียงใหม่
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยภาพดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส กับทางช้างเผือก และดาวศุกร์
IRPC ผสานสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ต่อยอดขยายผลงานนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) โดย คุณอนุชา สมจิตรชอบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์นวัตกรรมไออาร์พีซี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) นำโดย ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เพื่อร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้ง ต่อยอดในการขยายผลงานนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์
วันนี้ 'วันครีษมายัน' กลางวันยาวสุดของปี พระอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้าเกือบ 13 ชม.
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แจ้งว่า ในวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น “วันครีษมายัน”
'สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ' คาดแสงวาบบนท้องฟ้าเป็นดาวตกระเบิด
สดร.ชี้ลูกไฟขนาดใหญ่เหนือท้องฟ้าหลายจังหวัดของไทย คาดอาจเป็นดาวตกชนิดระเบิด