1 มี.ค.2567 - กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกแถลงการณ์เรื่อง “การจัดทำแผนที่แสดงแนวเขตอุทยานแห่งชาติ” ระบุว่า การกำหนดพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2562 หรือพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2505 (เดิม) โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและมีแผนที่แสดงแนวเขตแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย ซึ่งอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2505 มีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายฯ มาตราส่วน 1 : 250,000 ที่ได้มีการสำรวจรังวัดแนวเขต มาตั้งแต่ปี 2502 และได้นำผลการสำรวจรังวัดมาประกอบกับสภาพข้อเท็จจริง แล้วจึงขึ้นรูปเป็นแผนที่ในมาตราส่วนที่เหมาะสมจัดทำเป็นแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา
ต่อมากรมอุทยานฯ ได้ถ่ายทอดเส้นแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ลงบนแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1 : 50,000 ของกรมแผนที่ทหาร ในระบบเชิงเลข (Digital Map) และจัดแนวเขตอุทยานแห่งชาติในรูปแบบดิจิตอล (Shape files) เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ปัญหาข้อพิพาทที่ดินและพื้นที่ทับซ้อนต่างๆ โดยการจัดทำแนวเขตดังกล่าว เป็นไปตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยมาตรฐานระวางแผนที่และแผนที่รูปแปลงที่ดินในที่ดินของรัฐ พ.ศ.2550 รวมทั้งได้มีการถ่ายทอดแนวเขตอุทยานแห่งชาติตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาลงในแผนที่มาตราส่วน 1 : 4,000 และแผนที่ระวาง มาตราส่วน 1 : 50,000 ตามที่ระเบียบกำหนดครบทุกแห่งแล้ว
โดยแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ที่ได้จัดทำขึ้นได้ส่งให้คณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ (One Map) เป็นแผนที่รัฐ ในการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4,000 (One Map) ซึ่งในคราวประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 65 ที่ประชุมมติเห็นชอบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4,000 (One Map) กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัด ประกอบด้วย นครราชสีมา บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิสระแก้ว สุรินทร์ อุบลราชธานี เพชรบูรณ์ และเลย ตามที่กรมอุทยานฯ เสนอ
แต่เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (ส.ป.ก.) ได้รับเรื่องร้องเรียนแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ทับซ้อนกับที่เอกชน (เป็นกรณีบริษัท ภูพบฟ้า จำกัดไม่เกี่ยวกับข้องกับกรณีแปลง ส.ป.ก.) ครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 66 เห็นชอบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่ฯ (One Map) กลุ่มที่ 3 ยกเว้นกรณีอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมาและปราจีนบุรี ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
กรณีปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บริเวณที่มีการออกเอกสาร ส.ป.ก. ในท้องที่บ้านเหวปลากั้ง ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ไม่สอดคล้องตรงกันกับแนวเขตของกรมแผนที่ทหาร เห็นควร ให้คณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ (One Map) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พิจารณาตามหลักเกณฑ์การพิจารณา One Map ให้ได้ข้อยุติและถูกต้องตามข้อเท็จจริงต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนร่วมงาน “เขาใหญ่ คาร์ ฟรี เดย์ 2024”
“เขาใหญ่” ผนึกพลังภาคีเครือข่าย ประกาศปิด 22 ก.ย. 67 ชวนร่วมงาน “เขาใหญ่ คาร์ ฟรี เดย์ 2024” วันปลอดรถ ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมแล้วกว่าพันคน ไฮไลต์แฟนซีรักษ์โลก
คนเขาใหญ่ นัดสร้างปรากฏการณ์ ‘เดิน วิ่ง ปั่น' ขึ้นเขาใหญ่ สูดอากาศดินแดนมรดกโลก
กิจกรรม เดิน วิ่ง ปั่น ในเช้าวันอาทิตย์ที่ 22 ก.ย. ซึ่งตรงกับ คาร์ฟรีเดย์ วันปลอดรถโลก วันปลอดมลพิษทางอากาศ (WORLD CAR FREE DAY)
'เทพไท' ชี้ภาพ 'ทักษิณ' ร่วมก๊วนกลุ่มทุน-นักการเมืองที่เขาใหญ่เหยียบหัวใจคนไทย
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก “เทพไท เสนพงศ์-คุย -การเมือง”
ชื่นมื่นสุดสัปดาห์ ‘ทักษิณ-อนุทิน-สารัชถ์’ ออกรอบตีกอล์ฟเขาใหญ่ ‘สุวัจน์-รมต.-สส.พท.’ ร่วมแจม
ความเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาที่เขาใหญ่ จ. นครราชสีมา ซึ่งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ใด้ใช้เวลาในช่วงสุดสัปดาห์
'ลุงโชค วังน้ำเขียว' เปิดใจแทนชาวบ้านโดนหลอกมา 43 ปี กลับถูกตราหน้าเป็นผู้บุกรุก
จากกรณี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับฟังความเห็นในการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานฝั่ง จ.นครราชสีมา และปราจีนบุรี 265,286.58 ไร่ ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.-12 ก.ค. 2567 ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเอื้อประโยชน์ให้นายทุน จนมีการติดแฮชแท็ก #Saveทับลาน ในโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวาง
'ปชป.' ชี้ปัญหา 'ทับลาน' ต้องแยกปลาออกจากน้ำ ดำเนินคดีนายทุนรุกป่า คืนสิทธิชาวบ้าน
นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย นักวิชาการด้านกฎหมาย และอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความเห็นผ่านเฟสบุ๊กว่า