กรมอุตุฯ ประกาศฉบับสุดท้าย เตรียมรับมือ 'พายุฤดูร้อน' อีกรอบ 1-3 มี.ค.

26 ก.พ.2567 - เมื่อเวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 9 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567) ซึ่งเป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้ ระบุว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

โดยจะมีผลกระทบดังนี้

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567

ภาคเหนือ: จังหวัดตาก ลำปาง อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก และชลบุรี

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้าระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม พ.ศ. 2567
ในช่วงวันที่ 27 - 29 ก.พ. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหล้วในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 3 มี.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. 67 ลมตะวันออกกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนทะเลอันดามันมีทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.พ. – 3 มี.ค. 67 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้น ตลอดช่วง

โดยในช่วงวันที่ 1- 3 มี.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในระยะแรก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. – 1 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 14 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 39 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 3 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่งบริเวณตอนล่าง
อุณหภูมิต่ำสุด 16 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 27 - 29 ก.พ. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 3 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่
กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. – 1 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 39 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 3 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. – 1 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 38 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 3 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎ์ธานี ขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.พ. – 3 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 37 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง
ในช่วงวันที่ 26 – 28 ก.พ. 67 ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.พ. – 3 มี.ค. 67 ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 38 องศาเซลเซียส

กรุงเทพและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. – 1 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 38 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 3 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง
อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯพยากรณ์อากาศ 24 ชม. ทั่วประเทศอากาศเย็นลง ‘กทม.’ ต่ำสุด 18 องศาฯ  

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน

เหนือ อีสาน กลาง อุณหภูมิลดลง ภาคใต้ตอนล่างรับมือฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้

กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศ ลมหนาวกำลังแรงแผ่ลงมาแล้ว เช็กเลยภาคไหนอุณหภูมิลดลง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน

ต้นปี 68 ยังหนาวเย็นต่อเนื่อง ไทยตอนบนอุณหภูมิลดลง 1-2 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมถึงประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว

ลมหนาวยาวไป! กรมอุตุฯ เผยอุณหภูมิจะลดลงอีก 2-4 องศา ช่วง 4-7 ม.ค.นี้

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 1 – 3 ม.ค. 68 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน