อดีตนักเรียนเกาหลี เปิดมุมมองพัฒนาคลองช่องนนทรี เทียบคลองชองกเยชอน

28 ธ.ค.2564 - นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา นักธุรกิจ ฟาร์มปลาสวยงาม โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Nitipat Bhandhumachinda กล่าวแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนาคลองช่องนนทรี ในฐานะมุมมองหนึ่งของอดีตนักเรียนเกาหลีใต้ ว่านับจากมีประเด็นคลองช่องนนทรี ก็มีคนชอบถามผมที่เคยเรียนเกาหลีว่า โครงการนี้ เมื่อเทียบกับ คลอง ชองกเยชอน (청계천) แล้วคิดว่าอย่างไร

ผมก็ตอบไปตามความจริงว่า แม้สมัยที่เรียนอยู่เกาหลี ผมจะชอบขี่เสือหมอบ ร่อนถ่ายรูปไปตามที่ต่างๆ แถวๆ นั้น แต่ไม่เคยสังเกตสนใจไอ้คลองโบราณอายุหลายร้อยปีนี้เลย เพราะคลองที่โดนตึกรามบ้านช่องและถนนหนทาง สร้างขึ้นมากดทับ มากมาย จนน้ำเน่าเสียไปทั้งคลองนั้น มันเป็นผลจากการขยายเมืองอย่างรวดเร็ว ของยุคเกาหลีก้าวกระโดด จนเป็นรอยด่างกลางเมืองที่ซ่อนตัวเงียบๆ ไม่มีใครอยากเห็นหรือให้ความสนใจ

ช่วงที่กรุงโซลต้องการจะพัฒนาคลองชองกเยชอน ที่มีความยาวเกือบๆ 6 กิโลเมตร ให้สะอาด ซึ่งใช้งบประมาณมหาศาล (ประมาณหมื่นล้านบาท) และต้องเวนคืนบ้านเรือนหลายแห่ง ก็โดนกระหน่ำต่อต้านมากมาย แต่พอสร้างเสร็จก็กลายเป็นแหล่งรวมความสนใจ กลายเป็นหน้าเป็นตา และจุดท่องเที่ยวที่น่าตื่นตาตื่นใจของกรุงโซล

ถามผมว่าผมชอบหน้าตาของคลองชองกเยชอนในสมัยนี้ไหม ก็ตอบได้ว่าไม่ค่อยชอบหรอก เพราะผมไม่ใช่คนที่ชอบสิ่งปลูกสร้างที่อลังการไม่เป็นธรรมชาติ แต่ถ้าถามว่าดีมีประโยชน์ไหมนั้น ก็ต้องบอกว่าเมื่อเทียบกับคลองน้ำดำๆ รายล้อมไปด้วยแหล่งเสื่อมโทรมอย่างสมัยก่อนแล้ว ก็ถือว่าเป็นการพัฒนาปรับปรุงได้คุ้มค่าแม้จะใช้เงินลงทุนมากมายก็ตาม

หันมาพูดถึงคลองช่องนนทรีบ้าง!!

ประเด็นแรกที่คนชอบพูดกันอย่างเข้าใจผิดคือ…ต่างคิดว่า ไอ้ส่วนที่สร้างเสร็จและเปิดให้บริการแล้วนี่ ใช้งบประมาณไป 980 ล้านบาท ซึ่งตัวเลข 980 ล้านบาทนั้น จริงๆ แล้วคืองบประมาณในการก่อสร้างคลองเส้นทางคลองช่องนนทรี ทั้งหมด 5 เฟส ความยาวรวม 4.5 กิโลเมตร ไม่ใช่เฉพาะส่วนเฟสแรกที่เปิดแล้วตอนนี้ ที่มีระยะยาวทั้งหมด 200 เมตร โดยมีระบบบำบัดน้ำ และจุดเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งใช้งบประมาณจริงไปทั้งหมด 80 ล้านบาท

ถ้าถามว่า ชอบคลองช่องนนทรีเฟสแรกนี้ไหม ก็คงต้องตอบเหมือนเดิมว่า ไม่ชอบอะไรที่ยึกยือ ดูไม่เป็นธรรมชาติในลักษณะนี้ และอยากจะแนะ กทม. ว่าจุดประชาสัมพันธ์หลัก ควรอยู่ที่การบริหารจัดการน้ำเสีย ซึ่งทรงคุณค่ากว่า ภาพความสวยงามหน้าฉาก

แต่ถ้าถามว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่? จากคนที่เคยเดินเท้าจากที่ทำงานบนตึกเอ็มไพร์ผ่านนราธิวาสไปถนนสีลมบ่อยๆ แล้ว หากใครจะฟื้นฟูความน่าเศร้าของคลองที่น้ำเสียตลอดสาย ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สะอาด ฟื้นฟูจิตใจให้กับคนกรุงเทพได้บ้างแล้ว

อยากจะทำก็ทำไป โดยผมคงไม่มีอะไรจะโต้แย้งหรอกครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'CBD We Run 2025' วิ่งสุขสันต์เมืองยั่งยืน วิ่งการกุศลใหญ่ใจกลางสาทร

“CBD We Run 2025” วิ่งสุขสันต์เมืองยั่งยืน งานวิ่งการกุศลครั้งยิ่งใหญ่ใจกลางสาทร ชวนนักวิ่งรวมพลังก้าวออกมามอบสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อกรุงเทพฯ ที่ยั่งยืน และแบ่งปันสิ่งดีๆ กลับสู่สังคม ภายใต้แนวคิด “ของขวัญเพื่อวันที่ยั่งยืน”

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด