สภาฯเอกฉันท์ รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ประมง

22 ก.พ.2567 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่สอง ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)เป็นผู้เสนอ และมีร่างในทำนองเดียวกันอีก 7 ฉบับ

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปราย ว่า ร่าง พ.ร.บ. ประมงนี้ นำเข้าสภา ตั้งแต่ 21 เม.ย. 2558 จนถึงวันนี้ แสดงให้เห็นถึงแรงเฉื่อยของสภาฯ ในการแก้ปัญหา ปี 2558 ที่เราผ่านกฎหมายประมงผิดกฎหมายและไร้การควบคุม หรือ IUU ที่ระบุชัดว่าเราจะต้องปฏิบัติตามหลักการใช้เขตอำนาจรัฐนอกดินแดน และหากประเทศไทยไม่ปฏิบัติตามก็จะไม่สามารถส่งสินค้าประมงไปขายสหภาพยุโรปได้ จึงขอเตือนสติอีกครั้งว่า ประเทศไทยส่งออกประมง 2 แสนล้านบาท ส่งออกไปยุโรปเพียงแค่ 6.7% เท่านั้น แต่คนที่ต้องรับกรรมคือพี่น้องประชาชนที่ไม่ได้ส่งออกไปยุโรป คนส่งออกไม่ได้รับโทษ คนที่รับโทษไม่ได้ส่งออก นี่คือความอยุติธรรมตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา ที่ประชาชนน้ำตาไหลแล้ว น้ำตาไหลเล่า วันนี้เป็นวันที่เราจะร่วมนิมิตหมายทุกคน ทุกพรรค ผ่านกฎหมายนี้ แล้วตั้งคณะกรรมาธิการ และผ่านกฎหมายโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

“ผลกระทบของอุตสาหกรรมประมง ตั้งแต่ปี 2560-2566 การส่งออกลดลง 11% อย่าลืมว่าการส่งออกไม่ใช่อยู่แค่การจับปลา แต่ยังมีเรื่องท่าเรือ สะพานปลา และการขนส่ง ที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปพบประชาชนเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2566 และไปสัญญากับนายกสมาคมประมงเอาไว้ว่าจะแก้ไขให้ชาวประมงได้เร็วที่สุด อย่างน้อยกฎหมายลูกต้องแก้ให้ได้ภายใน 90 วัน แต่ตัวเลขอุตสาหกรรมท่าเรือ สะพานปลา และการขนส่งหายไป 25 % นี่คือความใหญ่ ความหนัก และความยาวานกว่า 10 ปีที่ชาวประมงโดนกฎหมายอำนาจนิยมกดขี่พวกเขาไว้ โดนบีบจนไม่มีทางเลือก ชาวประมงที่กลายเป็นผู้ต้องหาคดี 4,632 คน โทษปรับและจำคุกหนัก เล่นกันจนบีบให้ต้องขายเรือมากมาย ซึ่งชาวบ้านบอกว่าการที่ต้องปรับตัวไปตาม IUU ไม่ได้ว่าอะไร แต่ต้องให้โอกาสเขาปรับตัว ไม่ใช่ปรับจนเขาล้มละลาย ถ้ามีระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน มีกองทุนประมง เรื่องกฎหมายต้องทำให้ถูกต้องและศักดิ์สิทธิ์”นายพิธา กล่าว

ขณะที่ รอ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้่แจงว่า พยายามหลับตาและนึกถึงพี่น้องชาวประมงทั้ง 22 จังหวัด ว่า 10 ปีที่ผ่านมา นึกสภาพสมัยก่อนที่ไม่มีกฎหมายมาบังคับ ประมงไทยถือเป็นเจ้าสมุทร ทำรายได้มหาศาล แต่ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา อุปสรรคกฎหมายมาบังคับไม่ให้ชาวประมงอยู่รอดได้ มีหนี้สินและคดีความติดตัว ยืนยันว่ากฎหมายที่รัฐบาลร่างมาในวันนี้ เป็นตัวแทนของพี่น้องชาวประมง ตนในฐานะคณะรัฐมนตรี(ครม.) ขอให้เพื่อนสมาชิกมาร่วมทำบุญกัน ทำบุญให้กับพี่น้องคนไทย โดยเฉพาะครอบครัวชาวประมงทั้ง 22 จังหวัด

จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ฯทั้ง 8 ฉบับ จากจำนวนผู้ลงมติ 416 คน ด้วยมติเห็นด้วย 416 คน ไม่เห็นด้วยไม่มี ตั้งคณะกรรมาธิการ 37 คน โดยใช้ร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นร่างหลัก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดมติลับ สว.สีน้ำเงิน ‘มงคล’ นั่งประธานวุฒิฯ ‘บิ๊กเกรียง’ รองฯหนึ่ง ‘บุญส่ง’ รองฯสอง

เปิดมติลับ สว.สีน้ำเงิน 150 คนกลางวงโรงแรมพลูแมน “มงคล-สายตรงเนวิน ”ผงาดนั่งปธ.วุฒิฯ -“บิ๊กเกรียง”นั่งรองฯหนึ่ง “บุญส่ง”รองปธ.คนที่สอง

'บิ๊กป้อม' ประกาศจุดยืน พปชร. สั่ง สส. คว่ำร่างนิรโทษคดี 112 ทุกฉบับ

'บิ๊กป้อม' ส่ง 'ไพบูลย์' ย้ำจุดยืน 'พปชร.' ค้านรวมคดี ม.112 ทุกรูปแบบ ใน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เหตุฝ่าฝืนคำวินิฉัยศาลรธน. ขืนดึงดันโหวตคว่ำตั้งแต่วาระแรก

ถกเดือด! กมธ. ไล่บี้กรมประมงให้คำตอบต้นตอแพร่ระบาด 'ปลาหมอคางดำ'

ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไท

'ปลาหมอคางดำ' บุกอ่าวไทย ผ่าท้องพบลูกกุ้ง สมุทรปราการระบาดขั้นวิกฤติ

ชาวประมงพื้นบ้านจับปลาหมอคางดำได้นอกเขต 3 ไมล์ทะเล จับผ่าพบมีเคยอยู่ในท้องจำนวนมาก แจ้งนายกสมาคมประมง จ.สมุทรปราการ นำเรื่องเข้าที่ประชุมหารือแนวทางแก้ไขด่วน

สภาฯ ตั้งกมธ.วิสามัญงบเพิ่มเติมปี 67 ใช้ทำดิจิทัลวอลเล็ต ให้เวลาศึกษา 5 วัน

หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎร โหวตรับการร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 พ.ศ.... วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอเพื่อใช้ในโครงการเติมเงินหมื่นบา