รัฐบาลเพิ่มแต้มต่อสินค้าไทยในตลาดโลกด้วย FTA ดันไทยครองตำแหน่งส่งออกสินค้าเกษตรอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 7 ของโลก พร้อมสนับสนุนทุกภาคส่วนเพิ่มรายได้เกษตรกรไทยด้วยการตลาดและนวัตกรรม
19 ก.พ.2567-นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.การคลัง ตั้งใจขับเคลื่อนนโยบายเพื่อยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศผ่านการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อดึงดูดการค้า การลงทุนจากต่างชาติ เดินหน้าทำการค้าเชิงรุก และผลักดันให้เกิดการขยายตลาดสินค้าเกษตรไทยในต่างประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีเชื่อว่าหากเดินหน้าผลักดันความร่วมมือ FTA ให้เต็มศักยภาพจะเพิ่มตัวเลขการค้าการลงทุนได้มหาศาล เป็นโอกาสสร้างแต้มต่อทางการแข่งขันให้ไทยในตลาดโลก
จากตัวเลขทางสถิติ ไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรของไทยอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นอันดับ 7 ของโลก และส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน และเป็นอันดับที่ 11 ของโลก ในปี 2566
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์สถานการณ์การส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยไปยังกลุ่มประเทศคู่ค้า FTA ที่เป็นตลาดส่งออกของไทยที่มีศักยภาพว่าขยายตัวได้ดีในปี 2566 โดยการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศกลุ่มคู่ค้า FTA ขยายตัว 4% ที่มูลค่า 19,563 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 73% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด ในส่วนของการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปไปยังประเทศกลุ่มคู่ค้า FTA มีมูลค่า 15,074 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 2% ครองสัดส่วน 67.3% ของการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปทั้งหมด ซึ่งตลาดคู่ค้า FTA ที่การส่งออกขยายตัวทางการค้าสูง ได้แก่ จีน ซึ่งขยายตัว 11% คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 42% ของการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทย ตามมาด้วยตลาดอาเซียนที่ขยายตัว 5%
สินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปที่เป็นสินค้าศักยภาพที่ขยายตัวได้ดีในการส่งออกของไทยไปยังตลาดคู่ค้า FTA อันดับ 1 ได้แก่ ข้าว ซึ่งพบว่า ขยายตัวมากถึง 92% ในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย อันดับถัดไป คือ กาแฟ ซึ่งพบว่าขยายตัวที่ 43% ในตลาดกัมพูชา ญี่ปุ่นและจีน ตามมาด้วยผลไม้สด แช่เย็นแช่แข็ง และแห้ง ที่ขยายตัว 23% ในตลาดจีน มาเลเซีย และเวียดนาม
ทั้งนี้ รัฐบาลอยู่ระหว่างการกำหนดแผนการทำงานช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและรายได้ให้เกษตรกรไทยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยและจากต่างประเทศ ภายใต้นโยบาย “การตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้เกษตรกร 3 เท่า” ของรัฐบาล โดยเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้แทนการค้าไทย คณะผู้บริหารกระทรวงเกษตร และคณะผู้บริหารบริษัท หัวเว่ย (ประเทศไทย) ได้กำหนดแผนการใช้นวัตกรรมเพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้าสำหรับภาคเกษตรกร ซึ่งรวมถึงการใช้พลังงานสะอาดให้โครงการเกษตรขนาดใหญ่ การพัฒนาฐานข้อมูลด้านการเกษตรและการค้าเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการตลาดและการวางแผนการผลิตตามความต้องการของตลาด และการสร้างแอปพลิเคชั่น “เกษตรพิรุณราช” ให้เป็นช่องทางการค้าขายของเกษตรกรในลักษณะ “From Farm to Table” แก่ผู้บริโภค
“นายกรัฐมนตรีสนับสนุนการดำเนินการเพื่อเร่งต่อยอดการใช้ประโยชน์จาก FTA ให้เต็มศักยภาพ เชื่อมั่นในการเดินหน้าขยายการค้า ดึงดูดการลงทุน สนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยที่โดดเด่น มีศักยภาพ มีความหลากหลาย และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ออกไปยังตลาดโลก พร้อมทั้งนำนวัตกรรมและการวางแผนการตลาด ทั้งทางออนไลน์ ออนกราวน์ มาอำนวยความสะดวก เพิ่มคุณค่า เพิ่มโอกาส เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกษตรกรและผู้ประกอบการไทย”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงเกษตรฯ เคาะช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่! วงเงิน 3.8 หมื่นล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากกรณีมติของที่ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิตครั้งที่
กษ.คิกออฟโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ
นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน Kick Off “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้
‘ภูมิธรรม’ มั่นใจนายกฯกลับมาประชุมตั้ง ‘เจทีซี’ เสร็จ ชงเข้าครม.19 พ.ย.ทันที
‘ภูมิธรรม’ ระบุ หากนายกฯกลับมา เรียกถก ตั้ง เจทีซี วันนี้ก็ เข้าครม.ทันพรุ่งนี้ โยน กต.เคาะรายชื่อ ลั่น เกาะกูดไม่จบซํ้ารอยเขาพระวิหารแน่ ยัน ไม่มีเหตุผลต้องยกเลิกเอ็มโอยู 44
ชาวนาต้นทุนกระฉูด! ปุ๋ยคนละครึ่งไม่ตอบโจทย์
บุรีรัมย์ ชาวนา เรียกร้องให้รัฐบาล ช่วยค่าเก็บเกี่ยวไร่ละพัน แบ่งเบาภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขายได้ราคาต่ำ
'นิพิฏฐ์' ท้าเดิมพัน! 'ทักษิณ' ไม่ผิด112-ชั้น14 ยอมเอาตะกร้อครอบปาก
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ขอให้มนุษย์เข้าใจหมาด้วย" โดยระบุว่า